..แหล่งเรียนรู้ด้านการสื่อสารอีกแห่งหนึ่งของข้าพเจ้า HS7ZRF

 

พีรวิช วรรณทอง

Title with a link - Example of heading 2 

Donec nulla. Aenean eu augue ac nisl tincidunt rutrum. Proin erat justo, pharetra eget, posuere at, malesuada et, nulla. Donec pretium nibh sed est faucibus suscipit. Nunc nisi. Nullam vehicula. In ipsum lorem, bibendum sed, consectetuer et, gravida id, erat. Ut imperdiet, leo vel condimentum faucibus, risus justo feugiat purus, vitae congue nulla diam non urna.

ผู้เขียน : พีรวิช วรรณทอง   หัวข้อ : การนอนหลับอ่าน 1660 / ความคิดเห็น 0
รูปประจำตัว
พีรวิช วรรณทอง
  • 1 กระทู้ที่เริ่มไว้
  • 5 สิงหาคม 2554
รูปไอคอน
หัวข้อ : การนอนหลับ
10/8/2554 0:41:00

 

วิทยาศาสตร์การนอนหลับ


                  นักวิทยาศาสตร์ยังไม่สามารถให้นิยามของการนอนหลับ ได้อย่างชัดเจนหรือแน่นอน อย่างไรก็ตาม การนอนหลับโดยทั่วไปหมายถึง สภาวะที่ไม่รับรู้ต่อการเปลี่ยนแปลงของสิ่งแวดล้อมและโดยปกติจะไม่เคลื่อนที่ ยกเว้นสัตว์บางชนิด เช่น โลมา และสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมในทะเล (marine mammals) ซึ่งจะนอนหลับไปพร้อมๆ กับการว่ายน้ำ นกบางชนิดก็สามารถนอนหลับในระหว่างการเดินทางอพยพข้ามถิ่นที่ใช้เวลานานๆ 



                  ในปี ค.ศ.1953 Nathaniel Kleitman และลูกศิษย์ของเขาได้ศึกษาเกี่ยวกับการนอนหลับ ผลการวิจัย พบว่า การนอนหลับไม่ได้เป็นไปตามแนวคิดเดิมที่ว่า "การนอนหลับเกิดจากการหยุดการทำงานของสมองเป็นส่วนใหญ่" และคณะที่ทำการศึกษายังค้นพบว่าการนอนหลับนั้นจะถูกกำหนดโดยช่วง Rapid Eye Movement หรือที่เรียกกันว่า REM ซึ่งสามารถพบได้ในสัตว์ทุกชนิด ซึ่ง REM นี้จะสลับกันไปมาเป็นช่วงๆ กับ non-REM ซึ่งเป็นการหลับสนิท (quiet sleep)

                  ต่อมานักวิทยาศาสตร์มีความเจริญก้าวหน้าในการวิจัยการนอนหลับ โดยสามารถทำการศึกษาการทำงานของเซลล์ประสาทในสมองระหว่างการนอนหลับได้ โดยผ่านเส้นใยระดับไมโคร ที่มีขนาดเล็กเพียง 32 ไมครอน ซึ่งเทียบเท่ากับเส้นผมที่เล็กที่สุดของมนุษย์เท่านั้นเท่านั้นเข้าไปในส่วน ต่างๆ ของสมองทั้งในมนุษย์และสัตว์ทดลองในห้องปฏิบัติการ จากการศึกษาพบว่า ในช่วงการนอนหลับนั้น การทำงานของเซลล์ประสาทของสมองจะไม่คงที่ นั่นคือ สมองจะทำงานเป็น 2 ช่วงด้วยกันคือ

                  ในช่วง non-REM sleep ในช่วงนี้ เซลล์ประสาทบริเวณก้านสมองส่วนใหญ่จะทำงานน้อย ลงหรือแทบหยุดการทำงาน ในขณะที่เซลล์สมองส่วนใน cerebral cortex ที่อยู่ในสมองส่วนหน้าจะลดการทำงานลง จากปกติเพียงเล็กน้อยเท่านั้น การหายใจและอัตราการเต้นของหัวใจอยู่ในระดับปกติ และมักจะไม่เกิดการฝันในช่วงนี้

                  แต่ทว่าการทำงานของสมองในช่วงการนอนหลับแบบ REM นั้นจะแตกต่างจากแบบ non-REM อย่างสิ้นเชิง กล่าวคือการทำงานของสมองนั้นเกือบเท่ากับตอนที่เราตื่นอยู่ เซลล์ประสาททั้งในสมองส่วนหน้าและโคนสมองยังคงส่งกระแสประสาทในอัตราสูง เกือบเท่ากับเวลาตื่น ความฝันส่วนใหญ่มักเกิดในช่วงการนอนหลับช่วงนี้

                  การหลับแบบ REM จะมีผลกระทบต่อระบบสมองซึ่งควบคุมอวัยวะภายในของร่างกาย เป็นต้นว่า อัตราการเต้นของหัวใจและการหายใจจะไม่ดำเนินไปอย่างปกติในช่วงนี้ และการควบคุมอุณหภูมิของร่างกายได้น้อยลง นอกจากนี้ยังพบว่า ผู้ชายจะเกิดการแข็งตัวของอวัยวะเพศ ส่วนผู้หญิงจะเกิดการขยายตัวของคลิตอริสในช่วงนี้ด้วย ถึงแม้ว่าความฝันนั้นจะไม่เกี่ยวข้องกับเรื่องเพศก็ตาม

จากการศึกษาพบว่า การนอนหลับสามารถแบ่งเป็นระยะย่อยๆ ลงไปอีกตามการทำงานของคลื่นสมองในช่วงเวลาต่างๆ ดังรูป



                  โดยที่สภาวะที่สมองตื่นตัว สมองจะปล่อยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าเบตาที่มีความถี่สูง ความต่างศักย์ต่ำ ขณะที่สภาวะร่างกายเริ่มเหนื่อยล้า คลื่นอัลฟาที่สมองปลดปล่อยจะชัดเจนมาก สำหรับขั้นที่ 1 ของการนอนหลับช่วงนี้จะกินเวลาประมาณ 1-5 นาที และคิดเป็นเวลา 2-5 เปอร์เซ็นต์ของการนอนหลับ ซึ่งเป็นรอยต่อระหว่างการตื่นและการนอนหลับ ในผู้ป่วยที่เป็นโรคนอนไม่หลับ จะมีช่วงนี้นานขึ้น ในขั้นที่ 2 ของการนอนหลับซึ่งเป็นขอบเขตล่าง (baseline) ของการนอนหลับจะใช้เวลาประมาณ 45-60 เปอร์เซ็นต์ของการนอนหลับทั้งหมด สำหรับขั้นที่ 3-4 ของการนอนหลับ (delta sleep) ถือว่าเป็นช่วงที่ร่างกายหลับลึกมากที่สุด โดยในช่วงนี้สมองจะทำงานด้วยคลื่นเดลตา ซึ่งเป็น slow sleep และจะมีแอมพลิจูดกว้าง

                  ในวัยเด็กการนอนจะกินเวลาถึง 40 เปอร์เซ็นต์ของวงจรสำหรับการนอน ในขณะที่ผู้ใหญ่จะใช้เวลาประมาณ 15-30 นาทีเท่านั้น และในขั้นที่ 5 REM sleep ใช้เวลาประมาร 20 เปอร์เซ็นต์ ของวัฎจักรการนอน ในช่วงนี้ร่างกายจะไวต่อความรู้สึกมากความฝันส่วนใหญ่มักจะปรากฏในช่วงการ นอนในขั้นที่ 5 นี้ จึงเรียกการนอนหลับในช่วงนี้ว่า Rapid Eye Movement; REM ซึ่งเราสังเกตเห็นคนที่กำลังหลับอยู่ในช่วงนี้ได้ โดยจะมองเห็นดวงตาของเขากลอกกลับไปกลับมาอย่างรวดเร็วนั่นเอง

หน้าที่ของการนอนหลับ
                  วิธีหนึ่งที่สามารถตรวจหน้าที่ของการนอนหลับก็คือ สังเกตได้จากการเปลี่ยนแปลงทางร่างกาย และพฤติกรรมที่เกิดขึ้นจากการอดนอน โดยการศึกษาการอดนอนของหนูทดลองในห้องปฏิบัติการ พบว่า เป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ตายได้ ซึ่งการศึกษาในหนูทดลองกลุ่มหนึ่งที่ได้กินอาหารเต็มที่แต่ไม่ให้นอน ส่วนกลุ่มที่สองให้นอนเต็มที่แต่ไม่ให้รับประทานอาหาร พบว่า หนูในกลุ่มที่หนึ่งตายเร็วกว่าหนูในกลุ่มที่สอง ประมาณ 10-20 วัน

                  นักวิจัยทำการศึกษาการนอนหลับในสิ่งมีชีวิตหลายชนิดด้วยกัน พบว่า สัตว์ที่มีขนาดเล็ก เช่น หนู เฟอร์เร็ต (Ferret) จะใช้เวลานอนมากกว่าสัตว์ที่มีขนาดใหญ่ (เช่น แมว 12 ชั่วโมง, สุนัข 10 ชั่วโมง, คน 8 ชั่วโมง) โดยอธิบายว่า สิ่งมีชีวิตขนาดเล็กจะมีกระบวนการเมทาบอลิซึมที่สูงกว่าสัตว์ที่มีขนาด ใหญ่ และกระบวนการเมทาบอลิซึมแต่ละครั้งจะก่อให้เกิดอนุมูลอิสระ ซึ่งอนุมูลอิสระดังกล่าวจะทำลายเซลล์สมองส่วนต่างๆ ของร่างกาย จึงต้องนอนเป็นเวลามากขึ้นเพื่อซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอไปให้กลับมาเป็นปกติ จากการศึกษา พบว่า การนอนหลับในช่วง non-REM จะทำหน้าที่ในการซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอของร่างกาย



                  ส่วนหน้าที่ของ REM นั้นกลับยังคงเป็นปริศนาที่ยังลึกลับซ่อนเงื่อนอยู่อีกมาก สมมติฐานที่ว่า การนอนหลับนั้นเป็นไปเพื่อซ่อมแซมร่างกาย ไม่อาจใช้ได้กับการหลับแบบ REM ขอทบทวนกันก่อนว่า การนอนหลับแบบ REM นี้เป็นการหยุดการส่งกระแสประสาทของสมองบางส่วน ซึ่งทำให้ร่างกายไม่สามารถเคลื่อนไหวได้ และจะลดการตอบสนองต่อสิ่งแวดล้อม เซลล์สมองที่สำคัญของกลุ่มนี้ ได้แก่ norepinephrine, serotonin และ histamine จึงจัดอยู่ในกลุ่ม monomine จากการศึกษาพบว่า การส่งกระแสประสาทออกมาอย่างต่อเนื่องของกลุ่มเซลล์เหล่านี้ จะทำให้การไวต่อสัญญาณของตัวรับสัญญาณเสื่อมถอยลง ดังนั้น การหยุดทำงานชั่วขณะของเซลล์เหล่านี้ จึงเป็นการทำให้ตัวสัญญาณไวต่อสัญญาณเท่าเดิมอีกครั้ง ซึ่งการรับสัญญาณของเซลล์เหล่านี้อาจมีผลสำคัญต่อการควบคุมอารมณ์ในยามตื่นได้ด้วย

                  นอกจากนั้นยังพบว่า การหลับใน REM นี้ยังอาจมีส่วนที่ทำให้มนุษย์และสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมมีปฏิกิริยาตอบสนอง ต่อสภาวะแวดล้อมได้ดียิ่งขึ้น ซึ่งจากการสังเกตคนที่ถูกปลุกให้ตื่นจากช่วง REM จะตื่นตัวมากกว่าคนที่ตื่นในช่วง non-REM ซึ่งเป็นการสนับสนุนแนวคิดนี้

                  การศึกษาในเรื่องของการนอนยังคงต้องศึกษาต่อไป ด้วยพัฒนาความรู้ในเรื่องถึงกลไกการนอนหลับ วิวัฒนาการของการนอนในวันข้างหน้า เราคงจะได้ศึกษาว่า ส่วนใดของร่างกายที่ถูกซ่อมแซมในระหว่างการนอน ส่วนใดที่ได้พักผ่อน และทำไมกระบวนการเหล่านี้จึงเกิดได้ดีในช่วงการนอนหลับ ...


ขอขอบคุณข้อมูลจากMy firstbrain



สร้างเว็บแบบมืออาชีพได้อย่างง่ายๆ กับ เว็บไซต์สำเร็จรูปของ " สยามทูเว็บ " www.siam2web.com


เฉพาะสมาชิกเท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็นได้ กรุณา "เข้าสู่ระบบ" ก่อน เข้าสู่ระบบ

Advertising Zone    Close
 
Online:  1
Visits:  371,653
Today:  4
PageView/Month:  3,136

ยังไม่ได้ลงทะเบียน

เว็บไซต์นี้ยังไม่ได้ลงทะเบียนยืนยันการเป็นเจ้าของเว็บไซต์กับ Siam2Web.com