..แหล่งเรียนรู้ด้านการสื่อสารอีกแห่งหนึ่งของข้าพเจ้า HS7ZRF

 

 

เว็บบอร์ดไฟฟ้าน่ารู้LED แหล่งกำเหนิดแสงสว่างยุคใหม่
ผู้เขียน : พีรวิช วรรณทอง   หัวข้อ : LED แหล่งกำเหนิดแสงสว่างยุคใหม่อ่าน 3465 / ความคิดเห็น 0
รูปประจำตัว
พีรวิช วรรณทอง
  • 1 กระทู้ที่เริ่มไว้
  • 5 สิงหาคม 2554
รูปไอคอน
หัวข้อ : LED แหล่งกำเหนิดแสงสว่างยุคใหม่
18/5/2556 2:02:00

 ชวนท่านผู้อ่านมาทำความรู้จักกับ LED 

 

 

ไดโอดเปล่งแสง

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
 
  

ไดโอดเปล่งแสง (อังกฤษ: light-emitting diode หรือย่อว่า LED) เป็นอุปกรณ์สารกึ่งตัวนำอย่างหนึ่ง จัดอยู่ในจำพวกไดโอด ที่สามารถเปล่งแสงในช่วงสเปกตรัมแคบ เมื่อถูกไบอัสทางไฟฟ้าในทิศทางไปข้างหน้า ปรากฏการณ์นี้อยู่ในรูปของ electroluminescence สีของแสงที่เปล่งออกมานั้นขึ้นอยู่กับองค์ประกอบทางเคมีของวัสดุกึ่งตัวนำที่ใช้ และเปล่งแสงได้ใกล้ช่วงอัลตราไวโอเลต ช่วงแสงที่มองเห็น และช่วงอินฟราเรด ผู้พัฒนาไดโอดเปล่งแสงขึ้นเป็นคนแรก คือ นิก โฮโลยัก (Nick Holonyak Jr.) (เกิด ค.ศ. 1928) แห่งบริษัทเจเนรัล อิเล็กทริก (General Electric Company) โดยได้พัฒนาไดโอดเปล่งแสงในช่วงแสงที่มองเห็น และสามารถใช้งานได้ในเชิงปฏิบัติเป็นครั้งแรก เมื่อ ค.ศ. 1962  

 

 

 

parameter ต่างๆในการเลือกใช้ LED  

 

color (wavelength)


เป็นตัวบอกสี ซึ่งหมายถึงขนาดของความยาวคลื่นที่ LED เปล่งแสงออกมา เช่น
  • สีฟ้า จะมีความยาวคลื่น ประมาณ 468nm
  • สีขาว จะมีความยาวคลื่น ประมาณ 462nm
  • สีเหลือง จะมีความยาวคลื่น ประมาณ 468nm
  • สีเขียว จะมีความยาวคลื่น ประมาณ 565nm
  • สีแดง จะมีความยาวคลื่น ประมาณ 630nm เป็นต้น

lens
เป็นตัวบอกประเภทและวัสดุที่ใช้ทำ เช่น
  1. color diffused lens
  2. water clear lens

millicandela rating
เป็นตัวบอกค่าความสว่างของแสงที่ LED เปล่งออกมา ยิ่งมีค่ามากยิ่งสว่างมาก

voltage rating
อัตตราการทน[ความต่างศักย์ไฟฟ้า] ที่ LED รับได้และไม่พัง

  

 

 เมื่อได้ทราบความเป็นมาของ LED แล้วผมจะนำท่านไปรู้จักกับ LED Super Bright และที่สว่างกว่านั้นอีกคือ LED High Power

  

ตอนเด็กๆผมเคยเห็นที่เขานำมาใช้งานเป็นตัวแสดงกับเครื่องใช้ไฟฟ้าผลส่วนใหญ่เป็นสีเขียวและแดง  ในยุคนั้นก็ไม่ค่อยมีความสว่างมากมายหรอกครับจะเน้นให้มีสีสันมากกว่า  ในอดีดเชื่อว่ามีหลายท่านหลงไหลกับการมองที่แผงแสดงผล VU Meter ของเครื่องเสียง  ผมคนหนึ่งที่ชอบมองดูในช่วงที่สัญญาณไฟกระพริบ  เราจะอยู่เฉยโดยที่ไม่รู้จักมันได้อย่างไรเมื่อ LED มีส่วนร่วมกับชีวิตเรามากขึ้นทั้งในบ้านและยานพาหนะ ลองคิดดูเถอะว่าไฟสัญญาณจราจรที่ที่ติดตั้งไว้ตามแยกเขายังประกอบขึ้นมาโดยใช้ LED เป็นส่วนประกอบหลัก   LED ที่ผมกำลังแนะนำเป็นหลอดชนิดที่เน้นความสว่าง  และนำมาใช้กับระบบแสงสว่างในปัจจุบัน  ไช่ว่าจะมีแต่แสงสีขาวนะ สีเหลือง สีแดง สีเขียว สีน้ำเงินก็มีครับ หลอดเดียวสามสีก็มี  เดี๋ยวนี้ตามหัวเมื่องใหญ่ๆก็ติดต้งจอ LED เพื่อใช้ในการโฆษณาประชาสัมพันธ์กันแล้ว

 


กบนอกกะลา ตอน:LED หลอดจิ๋วแห่งโลกใหม่

  

  สิ่งแรกที่ผมรู้จักในบ้านเราคือไฟฉายครับ  แต่ตอนนั้นต่างประเทศเขาพัฒนาไปใช้กับยานพาหนะบ้านเรือนและไฟส่องถนนแล้ว  ด้วยความที่เป็นคนบ้านนอกก็เลยล้าสมัยกว่าคนในเมืองนิดหนึ่ง  ผมใช้ผลิตภัณฑ์ไฟฉายที่มีส่วนประกอบของ LED มานานแล้ว  เรี่มแรกราวๆปี 2547ซื้อจากตลาดนัด 

 


 

  

ครั้งแรกจริงๆที่ได้สัมผัสคือไฟฉายคาดหน้าผากที่มีหลอด LED Super Bright วางเรียงกันอยู่ในโคมหลายๆหลอด  โดยแต่ละหลอดจะมีโคมสะท้อนแสง  ถ้ามองดูห่างๆจะเห็นเห็นเหมือนหลุมซ้อนๆกัน  ที่ว่ามานี้ไม่ไช่ไม่ชอบนะครับ  ไฟหน้า+ไฟท้ายจักรยานสุดรักสุดหวงของผมยี่ห้อ Cat Eye ก็เป็น LED เหมือนกัน  ผมชอบมากเพราะเมื่อเปิดใช้งานไม่ก่อให้เกิดความร้อนสูงเหมือนหลอดไฟฉายสมัยเก่า  แถมยังประหยัดไฟอีกเปิดใช้งานตั้งนานแต่กินไฟเพียงนิดเดียว  ตอนนั้นโคมไฟคาดหน้าผากราคาร้อยยี่สิบบาทผมมานั่งพิจารณาดูแล้วว่าแค่เราหาซื้อหลอดมาประกอบใช้งานเอง  ถ้าจะจัดหาส่วนประกอบให้ครบเหมือนที่เขาทำมาขาย  ทั้งชุดประกอบด้วยชุดโคมไฟ+แบตเตอรี่แบบประจุไฟได้+วงจรชาร์จไฟ  ราคายังแพงกว่าที่เขาขายกันตามตลาดนัดหลายเท่า


  

นี่คือหน้าตาของหลอด GREE ที่ผมกล่าวถีง

 

 

ต่อมาได้ซื้อไฟฉายแบบพกพามาใช้  พบว่าในโคมบรรจุอยู่ 1หลอดนี้หน้าตาแปลกๆ(ไม่เคยเห็น) ด้วยความอยากรู้จึงถอดชิ้นส่วนทั้งหมดออกมาดู   เห็นหลอดแบนๆข้างในมีสีเหลืองมีเลนส์ครอบตัวหลอดติดอยู่กับฐานอลูมิเนียม  และมีวงจรไดรเวอร์(วงจรควบคุมแรงดันไฟฟ้า) แถมยังมีโหมดสว่างมาก สว่างน้อย และกระพริบอีก  ผู้ใช้สามารถเปลี่ยนโหมดโดยการกดเบาๆที่สวิตซ์ปิด/เปิด  ตรงหัวมีชุดเลนส์ขยับเข้าออกเพื่อบังคับแสงให้พุ่งไปไกลๆเมื่อขยับไปข้างหน้า และ เมือเลื่อนเข้าหาตัวเลนส์ก็จะบังคับแสงให้กระจายออกเป็นมุมกว้างได้  มันมีความสว่างมากกว่าแบบแรก  ไม่รู้แหละในยุคนั้นผมมีไฟฉายที่สว่างกว่าใครๆ  ขนาดก็สั้นนิดเดียวเพราะผมใช้ถ่านชาร์จขนาด AAA X 3ก้อนเรียงอยู่ในรางขนานกันโดยต่อกันแบบอนุกรม  ท่านผู้อ่านคงนึกภาพออกนะครับเขาเรียกกันว่าไฟฉายซูม  ราคาในสมัยนั้นก็ไช่ย่อยครับเกินสี่ร้อยบาท+ถ่านชาร์จก้อนละ 70บาท 3ก้อน  นี่ขนาดของที่ผลิตจากบ้านน้องหมวยนะราคายังขนาดนี้  ถ้าผลิตที่บ้านน้องแหม่มมีแต่ราคาเกินพันครับ  แต่ถ้าแลกกับประโยชน์ที่ผมได้ถือว่าคุ้มมาก  ช่วงหลังมานี้เห็น(ที่ตลาดช่องจอม)มีรุ่นใหม่ตรงหัวมีขอบพลาสติคสีสันต่างๆราคาราวๆ 200บาท  แต่...ไม่สว่างเหมือนแบบที่ผมมี  เคยซื้อไฟฉายที่สว่างเทียบเท่ากับกับที่ผมมีอยู่ที่ตลาดอินโดจีน จ.มุกดาหาร(ร้านนกเครื่องมุก)  ที่นั่นขายให้ผมกระบอกละ 200บาทเองคุณภาพและราคาถือว่าดีกว่าช่องจอมอีก  ถ้าท่านใดผ่านไปแถวนั้นลองสอบถามลูกชายเจ้าของร้านดูนะครับ  น้องเขาบอกได้ว่ารุ่นไหนดี  ทีนี้เจ้าไฟฉายแม็กไลท์ที่ซื้อมานับพันบาทในอดีดผมถือว่าดีที่สุดใช้ถ่านขนาด D x3ก้อนก็ถึงคราวตกกระป๋องเลย  เพราะพี่แกกินพลังงานมากกว่าและยังให้แสงสว่างน้อยกว่าด้วย  

 

รูปหลอดที่ใช้แทนหลอดแบบเดิม

 

เมื่อวันที่ 20พ.ค.2556  ผมนำไฟฉายแมกไลท์ออกมาตรวจสอบก่อนหน้านี้ก็เห็นวางอยู่ในห้องนอนแต่ไม่เคยติดจะหยิบมาดูสักครั้ง  วันนั้นนึกยังไงไม่ทราบจึงหยิบมาดูเห็นแล้วใจหายวาบเลย    เพราะลืมเอาถ่านออกจำไม่ได้ว่าใส่ไว้ตั้งแต่ปีไหน?  เบื้องต้นผมรื้ออกมาทุกชิ้นส่วนพบว่า ถ่านทุกก้อนบวมจนนำออกมาดีๆไม่ได้ต้องกระทุ้งออก  ในกระบอกมีคราบสนิมเหล็กไหลเปรอะเปื้อนไปทั้งกระบอก สวิตซ์เสียหายไม่สามารถใช้งานได้อีก  โทรไปถามร้านค้าต่างๆที่ขายไฟฉายยี่ห้อนี้ต่างก็บอกว่ามีขายแต่ของใหม่ไม่มีชิ้นส่วนทดแทน  จะทิ้งไปก็เสียดายซื้อมาราคาไม่น้อย  ผมจึงหาวิธีดัดแปลง  งานแรกที่ต้องทำคือดัดแปลงสวิตซ์โดยการตัดของเก่าออกบางส่วน  และใส่สวิตซ์ที่อยู่ในไฟฉายซูม  ชุดหลอดและวงจรขับหลอดผมก็ยกมาจากไฟฉายซูมมาทั้งยวง  สิ่งที่ต้องทำเพิ่มต่อไปคือตัดชุดขั้วหลอดเดิมออก(ตัดให้สั้นลงราวๆ 1นิ้ว)  ถ้าท่านผู้อ่านอยากรักษาไว้เดิมๆก็ไม่ต้องตัดขั้วยึดหลอดออกเหมือนผมนะ  ชุดหลอด LED ที่เขาทำมาใช้กับแมกไลท์รุ่นนี้มีขายสามรถนำมาใส่แทนหลอดเดิมได้เลยครับ(ตามรูปด้านบน)  รายการต่อไปต่อสายไฟขั้ว+ออกจากสวิตซ์และเพิ่มขั้ว-เพื่อต่อเข้าวงจรขับหลอด  ตอนที่ยึดฐานหลอดติดกับตัวไฟฉายผมใช้อลูมิเนียมระบายความร้อน  กระทุ้งออกมาจากแผ่นระบายความร้อนของ CPU คอมพิวเตอร์เก่าๆที่ถอดออก(ไม่ใช้แล้ว)  ขนาดมันใหญ่กว่าไฟฉายเล็กน้อยต้องฝนออกทีละน้อยด้วยหินลับมีด  ผมต้องคว้านส่วนของด้ามไฟฉายลึดลงไปอีกเพราะจะวางฐานหลอดให้ลึกลงไปราวๆ 0.5ซ.ม.หรือ 5มิลลิเมตร  เมื่อประกอบเสร็จทดลองเปิดพบว่าจานฉายที่มีอยู่เดิมใช้งานร่วมกับหลอด Gree ไม่ได้  พี่แกไม่รวมแสงให้ตรงกลางในทางกลับกันกลายเป็นว่าตรงกลางเป็นเงาสีดำทน  การแก้ไขผมตัดก้านยาวๆหลังจานฉายออกก็ยังไม่หาย  สุดท้ายจึงหาจานฉายเก่าๆที่เก็บไว้จากซากไฟฉายจีนมาใส่แทน  จะหาขนาดที่พอดิบพอดีก็ยากเหลือเกินขนาดมีมีก็เล็กกว่าตัวเดิมอีกมาก  จึงหาทางออกโดยการติดของเก่ากับของใหม่ซ้อนกันด้วยกาวร้อน  อันนี้ต้องทดลองแบบกล้าได้กล้าเสียนะผมยอมสละไฟฉายซูม 1กระบอกเพื่อฟื้นตืนไฟฉายเก่าครับ  ที่ยอมสละเพราะไฟฉายซูมใช้ถ่าน"AAA"เก็บพลังงานได้น้อย  ถ้าจะให้พร้อมใช้งานตลอดต้องนำมาประจุพลังงานอยู่บ่อยๆ  เคยใช้งานต่อเนื่องในโหมดสว่างสูงสุดประมาณสองชั่วโมงเท่านั้นตัวไฟฉายมีความร้อนสูงอีกด้วย  ผู้ที่มีและใช้งานได้อยู่แล้วควรเก็บรักษาไว้ให้ดีไม่แนะนำให้ทำแบบนี้  ชุดสำเร็จมีขายในกลุ่มผู้นิยมดัดแปลงไฟฉายยี่ห้อนี้เท่านั้นราคายังสูงมากครับ  ถึงแม้หลอดฮาโลเจนที่ให้แสงสีส้มๆจะกินไฟมากกว่า  แต่มันก็มีข้อดีตรงที่ว่าเมื่อนำมาใช้งานตรงที่มีหมอกควันมากๆ(หรืออยู่ท่ามกลางสายฝน)ได้ดีกว่าหลอด LED  ของผมนั้นมันเสียอยู่แล้วผมต้องหาวิธีทำให้มันใช้ได้  ถึงแม้จะไม่ดูดีเท่าเดิมอย่างน้อยก็หวังให้มันใช้งานได้  เสียดายที่ไม่มีกล้องก็เลยไม่มีภาพให้ดูว่าผมถอดตรงไหนมายำบ้าง  ผลที่ได้จากการทดลองลองแก้ไขงานชิ้นนี้  งานนี้ทำกันแบบบ้านๆโดยใช้วัสดุที่มีอยู่(ไม่ได้ซื้อเพิ่ม)จึงเทียบไม่ได้กับอุปกรณ์ราคาสูงที่เขานำมาใช้กัน  วันนี้ผมได้ความสว่างมากกว่าเดิมหลายเท่าเมื่อเทียบกับหลอดเดิม  ไม่มีปัญหาเรื่องความร้อนเพราะฐานหลอดและอลูมิเนียมระบายความร้อนทั้งหมดถูกยึดติดกับตัวกระบอกไฟฉายอย่างแน่นหนา(ถ้าจะเอาออกต้องส่งออกด้วยการกระทุ้งอย่างเีดียว)  หลอดที่นำมาติดตั้งกินไฟ 330mAในโหมดสว่างสูงสุด  ส่วนโหมดสว่างน้อยกินไฟราวๆ 90mA  แสงที่ได้มีสีขาวอมเหลืองสบายตาตามแบบฉบับของหลอดสี Cool White(ลำแสงไม่แสบตาเหมือนหลอดสีขาว)  สำหรับผมถือว่าประหยัดและคุ้มค่ากับการลงทุนมาก

 

ปัจจุบันผมมีไฟฉายที่ใช้หลอด Gree อยู่สองกระบอก  พร้อมรับความมืดมิดที่มาเยือนทุกค่ำคืน

1.MAGLITE ปรับระยะจุดรวมแสงที่พุ่งออกไปด้วยเกลียวเดิมๆได้เล็กน้อย  แหล่งพลังงาน:ถ่านขนาด "D"X3ก้อน

2.UlTra Fire ผลิตในประเทศจีนไม่ระบุรุ่น ส่วนหัวโคมมีวงแหวนสำหรับปรับเลนส์นูนเข้า-ออก(Zoom) แหล่งพลังงาน:ถ่านขนาด "D"3Xก้อน


 

Led High Power แบบนี้มีขนาดตั้งแต่ 1-3วัตต์

  

โคมไฟที่ใช้กับแรงดันไฟฟ้า 12โวลท์


จุดนี้ผมเริ่มจากการท่องเว็บและเห็นการนำหลอด LED High Power มาต่อเรียงกันแบบขนาน 3หลอดบ้าง 4หลอดบ้าง  แบบ 1ฐาน 1หลอดก็มี  เมื่อเห็นเขาทำก็อยากจะมีบ้างหละ  เพราะปัจจุบันนี้หลอดประเภทนี้หาง่ายราคาไม่แพงมาก  ราคาเริ่มต้นที่ 20บาทต่อ 1หลอด+ฐานหลอดไม่เกิน 10บาท  บางรายขายทั้งฐานพร้อมหลอดในราคาเพียง 20บาท  อย่าเพิ่งคิดว่าต้องจ่ายแต่ยี่สิบนะจ๊ะยังมีค่าโอน+ค่าส่งอีก   เมื่อนึกถึงโคมไฟที่จะนำมาใช้กับหลอดนี้ในหัวสมองก็เห็นภาพโคมไฟสปอตไลท์ก่อนเพื่อน  เท่าที่ทราบก่อนตัดสินใจซื้อมาประกอบใช้งานผู้ขายระบุว่า  หลอดชนิดนี้ให้แสงสว่างที่แรงดันไฟ 3.0-3.6โวลท์ 350mA.  มีความร้อนสูงจำเป็นต้องซื้อฐานยึดหลอดด้วย  เมื่อถึงคราวประกอบต้องทาซิลิโคนระบายความร้อน (Silicone Heatsink) ระหว่างฐานหลอดกับแผ่นระบายความร้อนแล้วยึดด้วยสกรู  แต่ผมซื้อ (Silicone Heatsink Plaster) มาด้วยก็เลยไม่ต้องยึดฐานหลอดด้วยสกรู  ในส่วนของแผ่นระบายคามร้อนผมได้มาจากร้านอลูมิเนียมแถวบ้าน  นอกจากนี้ตัวโคมสปอตไลท์ที่จัดหามาก็ยังเป็นอลูมิเนียมน่าจะช่วยกระจายความร้อนได้อีกทางหนึ่ง  ก่อนที่จะประกอบหลอดเข้าไปในโฏคมสปอตไลท์  ผมได้ทดสอบกับรางอลูมิเนียมกว้างนิ้วกว่าๆยาว 1เมตร  วางแต่ละหลอดห่างกันประมาณ 13เซนติเมตร  โดยใช้หลอด 3วัตต์ต่อ 1ฐานวางเรียงกัน 8หลอดต่ออนุกรม 2ชุดแบ่งเป็นชุดละ 4หลอด  ผลการทดสอบเรื่องระบายความร้อนผ่านแต่ได้แสงสว่างไม่เต็มที่  อาจเป็นเพราะ 3.2 x 4 = 12.8โวลท์แรงดันจากแบตเตอรี่น้อยไปนิด  เพราะแต่ละหลอดรับแรงดันได้ถึง 3.6โวลท์  แต่ผมว่าอายุการใช้งานมากกว่านะเพราะพี่แกแทบจะไม่ร้อนเลยครับ  ทดลองใช้อะแด็บเตอร์เล็กๆขนาด 15โวลท์ต่อใช้งานก็ยังพอไหว  จากนั้นได้ต่อชุดละ 3หลอดทีนี้สว่างได้ใจแต่เริ่มมีปัญหาความร้อนระบายไม่ทันตามมา  เพราะหลอดรับแรงดันไฟเกิน  ผู้ผลิตระบุว่าใช้กับแรงดันไฟได้ 3.2โวลท์ 3.2 x 3 = 9.6โวลท์  ปัญหาเกิดแล้วสิ  สเป็คโรงงานระบุว่า ถ้าจ่ายแรงดันที่ 3.2โวลท์จะให้แสงสว่างที่ 75ลูเมนส์/1วัตต์  สุดท้ายก็ไม่พ้นวงจรอิเล็คทรอนิคส์แบบบ้านๆหละครับ  ผู้ที่เคยได้อ่านวงจรเซฟเวอร์ที่ผมเขียนไว้ในบอร์ดสื่อสารคงนึกภาพออก  วงจรนี้ไม่มีอะไรซับซ้อนมากเป็นวงจรของคนมักง่ายอย่างผมครับ  ผมใช้ ic lm 7812 เพื่อควบคุมแรงดันไฟฟ้าและตัวต้านทานเท่านั้นเอง  ทีนี้ถ้าเผลอไปต่อกับแรงดันไฟที่มากกว่า 12โวลท์ก็บ่ย่าน  สิ่งหนึ่งที่ผมต้องย้ำเตือนคือ  ผู้จำหน่ายยืนยันข้อมูลการผลิตจากโรงงานระบุว่า LED ชนิดนี้มีอายุการใช้งานถึง 50,000 ชั่วโมง  ทั้งนี้ต้องป้อนแรงดันไฟไม่เกินตามที่ระบุและระบายความร้อนให้ทันด้วย  เราต้องช่วยกันพิสูจน์นะครับว่าเราหรือหลอด LED จะไปก่อนกัน+555



 

 

ตามรูปมีขนาดตั้งแต่ 1วัตต์ถึง 200วัตต์

ขออนุญาคนำตารางราคาค่าตัว ที่จำหน่ายโดย ตุณอรรณพ  มาแสดงครับ ท่านใดสนใจ>>คลิกที่นี่<<



  

ความตั้งใจของผมเพื่อฝึกฝนตนเองให้ได้รู้จักกับชิ้นส่วนอิเล็คทรอนิกส์ที่อยู่ใกล้และไกลตัว  แต่ละชุดใช้เงินสดซื้อมาไม่ไช่น้อย  สำหรับผมแล้วเชื่อว่าการลงทุนจัดหาชิ้นส่วนพวกนี้มาทดลองอย่างระมัดระวัง  ข้าวของเหล่านี้ก็ไม่เสียหาย  มันยังอยู่กับเราอีกนาน  หลังจากประกอบเสร็จแล้วก็นำไปทดสอบเปิดใช้งานแบบต่อเนื่องจนพอใจ  การทดลองนี้ควักกระเป๋าตัวเองทั้งหมดไม่มีใครสนับสนุน  ผมยอมอดอาหารอร่อยบางมื้อเพื่อให้ได้สิ่งนี้ที่ต้องการ  ยอมรับว่าราคาชิ้นส่วนที่ผมจัดหามาแพงกว่าโคมพร้อมหลอด 220โวลท์แบบสำเร็จรูป 2เท่า หรืออาจมากกว่า  แต่ถ้าท่านตัดสินใจซื้อชุดประกอบสำเร็จที่มีขายตามห้างแล้วจะรู้ว่า  มีราคาแพงกว่าที่ผมจัดหาชิ้นส่วนมาประกอบเองมาก 

 

 

การนำมาประยุกต์ใช้งาน: เมื่อทำได้สำเร็จแล้วเมื่อใดก็ตามที่มีครามจำเป็นต้องใช้งาน  ผมสามารถหยิบมาใช้งานได้ทันที  ทีนี้แหละจะเกิดความภูมิใจในผลงานที่ตัวเองได้ทำเผื่อเอาไว้  ผมก็มีแบตเตอรี่ขนาด 12โวลท์ 70แอมป์ที่ใช้กับอุปกรณ์สื่อสารอยู่แล้ว  ซื้อแบตฯเก่าสภาพดีมาจากร้านอะไหล่รถยนต์ในราคา 400บาท  อย่าว่าแต่ใช้งานเล็กๆแบบนี้เลยครับเคยมีคนขอยืมไปสตาร์ทรถยนค์ผมก็ยกไปบริการมาแล้ว  อย่างน้อยเมื่อไฟฟ้าดับผมก็นำสิ่งประดิษฐ์นี้มาเสียบใช้งานได้  การสื่อสารของผมไม่ถูกตัดขาดจากโลกภายนอก  ไฟฟ้าดับนานหลายชั่วโมงข่ายโทรศัพท์ก็ล่มแล้วแต่เรายังมีวิทยุคมนาคมไว้รายงานเหตุการณ์เมื่อยามจำเป็น  บ้านหลังที่เราอยู่มีไฟส่องสว่างทั้งแบบประจำที่และเคลื่อนย้ายได้  บ้านหลังอื่นจะจุดเทียนก็ช่างเขา  ที่กล่าวมานี้ไช่ว่าจะไม่ช่วยแบ่งปันความรู้ให้ใครนะครับ  แต่ส่วนมากเมื่อมีคนสนใจมาดูชิ้นงานแล้วสอบถามราคาแล้วมีอันต้องถอดใจไปทุกราย  เขาคิดแต่ว่าปีหนึ่งๆไฟฟ้าจะดับสักกี่ครั้ง (กลัวไม่คุ้มกับการลงทุน)  ถ้าใครคิดแบบนี้ผมแนะนำให้ซื้อไฟฉาย LED แบบเสียบปลั๊กไฟบ้านประจุไฟได้ในตัวไว้ติดบ้านดีกว่าครับ  ออกไปธุระยามค่ำคืนยังนำติดตัวไปได้ด้วย  ราคากระบอกหนึ่งไม่กี่สิบบาทเอง  การบำรุงรักษาก็ไม่ยุ่งยาก นึกถึงมันเมื่อไหร่ก็เอามาใช้งาน  ใช้งานเสร็จแล้วก็นำไปชาร์จไฟ

 

เคยคิดเอาไว้เล่นๆว่าสักวันจะได้กลับไปอยู่ที่ไร่  จะสร้างกระท่อมหลังน้อยไว้พักอาศัยระบบแสงสว่างและเครื่องใช้ไฟฟ้าบางอย่างจะใช้ไฟจากแบตเตอรี่ 12โวลท์  อาจได้จัดหาแหล่งกำเหนิดไฟฟ้า เช่น กังหันลมหรือโซลาร์เซลมาใช้ร่วมกัน  ส่วนเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ต้องการกำลังไฟมากๆ เช่น ปั๊มน้ำ ตู้เย็น หม้อหุงข้าว กระทะไฟฟ้า ก็ยังคงต้องพึ่งพาไฟหลวงตามเคย

 

 

สิ่งที่ต้องจัดหาเพื่อใช้ในการประกอบเป็นชิ้นงาน LED


1.LED High Power พร้อมฐานยึด

2.วงจรขับหลอด (Driver) ที่ให้แรงดันและกำลังเพียงพอกับความต้องการของหลอด  ถ้าวงจรมี 4หลอดต่ออนุกรมกันใช้กับไฟ 12โวลท์ก็ไม่ต้องใช้

3.ซิลิโคนนำความร้อนที่ใช้กับอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์  หรือถ้าทำวงจรเล็กๆใช้ Silicone Heatsink Plaster แทนก็ได้

4.สกรูสำหรับยึดฐานหลอดเข้ากับแผ่นระบายความร้อน (Heatsink) จะใช้แบบเกลียวปล่อยก็ได้  เกลียวผูกก็ได้  หรือถ้ามีอุปกรณ์ทำเกลียวในให้กับแผ่นระบายความร้อนยิ่งดี 

5.แผ่นระบายควาร้อน (Heatsink) ต้องเป็นอลูมิเนียมเท่านั้น(ถ้าเป็นเหล็กจะร้อนช้าและเย็นช้า เก็บความร้อน)  ถ้ามีครีบระบายความร้อนได้ยิ่งดี  ถ้าไม่มีก็ใช้อลูมิเนียมแปรรูปที่มีขายตามร้านอลูมิเนียมได้ (ต้องมีขนาดพื้นที่สำหรับระบายความร้อนเพียงพอ)  

6.โคมไฟที่จะใช้งานร่วมกับ LED  สำหรับผมแล้วโคมสปอตไลท์อลูมิเนียมขนาด 500วัตต์เหมาะที่สุด  เพราะมีเนื้อที่ในการติดตั้งส่วนต่างๆมากรอบๆมีจานสะท้อนด้านหน้ามีกระจกกันแมลงด้วย  ถ้าหาอะไรไม่ได้ก็ยึดกับกะละมังอลูมิเนียมขนาดเล็กก็ได้ครับอันนี้ก็น่าสนใจ  หรือจะใช้รางอลูมิเนียมแบบที่ผมทดสอบก็ย่อมได้  เพียงแต่ว่าถ้าติดตั้งหลอดจำนวนมากๆจะเกิดเงาตกกระทบพื้นมากสักหน่อย

 

ต่อไปเป็นการเปรียบเทียบข้อดี/เสียโดยความเห็นส่วนตัวของผม  เทียบจากสิ่งที่พบเห็นในขณะใช้งานจริงแบบคนบ้านป่า(เราได้จากการสังเกต) 

และเราไม่มีเครื่องมือที่ทันสมัยพร้อมห้องปฎิบัติการ

 

ข้อดีของ LED ตามแบบที่ผมนำมาแนะนำ 

กินไฟน้อยจึงได้ความประหยัดและคุ้มค่าในระยะยาว  แค่ละหลอดต้องการแรงดันไฟฟ้าและใช้กระแสต่ำ  LED เหมาะสมกับพื้นที่ๆไฟฟ้าเข้าไม่ถึงอย่างมากเพราะไม่ต้องแปลงกระแสไฟฟ้ากลับไปกลับมา  เมื่อต้องการเพิ่มความสว่างสามารถนำหลอดอีกชุดต่อเพิ่มได้อย่างง่ายดาย  เมื่อสามารถควบคุมแรงดันไฟฟ้าที่ป้อนให้แต่ละหลอดได้  และมีแผ่นระบายความร้อนที่เพียงพอจะไม่เกิดความร้อนสูง  ถ้านำมาต่อใช้งานจากแบตเตอรี่โดยตรงจะไม่เกิดอันตรายจากการถูกไฟฟ้าช็อตเมื่อสัมผัส  LED ไม่สร้างรังษี UV  ให้ความสว่างสูงเมื่อเทียบกับหลอด ฟลูออเรสเซนต์ หรือหลอดฮาโลเจน ที่มีกำลังไฟเท่ากัน  มีอายุการใช้งานยาวนานกว่า  ที่สำคัญไม่มีอาการขั้วหลอดดำเมื่อแรงกันไฟไม่สม่ำเสมอเหมือนหลอดตะเกียบ

 

ข้อเสีย

ราคาแพงมากเมื่อเทียบกับหลอดไฟฟ้าทั่วไป  LED ที่มีขนาดเล็กจะทนความร้อนจากหัวแร้งที่ใช้ในการบัดกรีได้ไม่นาน  ควรใช้ความระมัดระวังอย่างมากในการประกอบหลอดเข้ากับฐานยึด(ผู้จำหน่ายบางรายมีชุดประกอบสำเร็จ)  เมื่อต่อไฟสลับขั้วแล้ววงจรไม่ทำงาน(กรณีไม่ได้ใช้งานร่วมกับวงจรชุดขับหลอด Driver)  เนื่องจากยังไม่แพร่หลายจึงหาซื้อได้ยากกว่า  เมื่อต่อไฟเกินกว่าที่วงจรจะรองรับได้อาจเกิดเสียหายโดยเกิดความร้อนสูงและหลอดขาดในที่สุด  ถ้าประกอบหลอดโดยจัดระยะห่างกันจำนวนมากก็จะเกิดเงาจำนวนมากเท่าๆกับจำนวนหลอด  ผู้ใช้ต้องเรียนรู้หลักการใช้งานเพิ่มเติมก่อนตัดสินใจซื้อมาใช้งาน

 

 

เปรียบเทียบความสว่างที่ได้จาก LEDแบบสำเร็จรูป กับ หลอดไฟชนิดอื่น

 

  

  

เทียบความสว่างที่เท่ากัน 

  

  • หลอดไส้กินไฟประมาณ 5 เท่าของหลอดฟลูออเรสเซนต์
  • หลอดฟลูออเรสเซนต์กินไฟประมาณ 2 เท่าของหลอด LED
  • ดังนั้นหลอดไฟ LED จึงเป็นทางเลือกที่ฉลาดกว่า เพราะกินไฟเพียงครึ่งของหลอดตะเกียบประหยัดไฟ

  

ตารางเปรียบเทียบนี้นำจาก http://www.nanogenstore.com/index.php?route=information/information&information_id=10

  

สำหรับท่านที่ชอบงาน DIY ต้องการ LED และส่วนประกอบอื่นๆ ที่จะนำมาประกอบใช้งานร่วมกัน  รวมถึงข้อมูลการนำมาประยุกต์ใช้งานในชีวิตประจำวัน  ผมขอแนะนำให้ท่านไปชมข้อมูลตามลิงก์ด้านล่างนี้

 


บริษัท เอสซีแอล เอ็นจิเนียริ่ง จำกัด

 

เว็บไซต์ไฟกระพริบ.คอม

 

เว็บไซต์เกษตรพอเพียง.คอม

 

ปรับปรุงล่าสุดเมื่อ:24 พ.ค.2556 


สร้างเว็บแบบมืออาชีพได้อย่างง่ายๆ กับ เว็บไซต์สำเร็จรูปของ " สยามทูเว็บ " www.siam2web.com


เฉพาะสมาชิกเท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็นได้ กรุณา "เข้าสู่ระบบ" ก่อน เข้าสู่ระบบ
..

Advertising Zone    Close
 
Online:  2
Visits:  368,456
Today:  71
PageView/Month:  2,186

ยังไม่ได้ลงทะเบียน

เว็บไซต์นี้ยังไม่ได้ลงทะเบียนยืนยันการเป็นเจ้าของเว็บไซต์กับ Siam2Web.com