..แหล่งเรียนรู้ด้านการสื่อสารอีกแห่งหนึ่งของข้าพเจ้า HS7ZRF

 

 

เว็บบอร์ดสาระน่ารู้Polar Bear ยักษ์ใหญ่ผู้น่ารักแห่งดินแดนน้ำแข็ง
ผู้เขียน : พีรวิช วรรณทอง   หัวข้อ : Polar Bear ยักษ์ใหญ่ผู้น่ารักแห่งดินแดนน้ำแข็งอ่าน 1908 / ความคิดเห็น 0
รูปประจำตัว
พีรวิช วรรณทอง
  • 1 กระทู้ที่เริ่มไว้
  • 5 สิงหาคม 2554
รูปไอคอน
หัวข้อ : Polar Bear ยักษ์ใหญ่ผู้น่ารักแห่งดินแดนน้ำแข็ง
8/8/2554 16:54:00

 

 

Polar Bear

                             
             หมีขั้วโลกหรือหมีขาว (Ursus maritimus) เป็นหมีท้องถิ่นที่มีขนาดใหญ่ของพื้นที่แถบอาร์กติกที่รวมทั้งแผ่นดินและผืนมหาสมุทร หมีขาวหรือหมีขั้วโลกมักถูกใช้เป็นสัญลักษณ์ของชนพื้นเมือง ในประเทศแคนาดารูปของหมีขั้วโลกถูกในมาใช้ในเหรียญ 2 ดอลลาร์ รวมถึงสัญลักษณ์ของNorgthwest Territories และ Nunavut license platesอีกด้วย ในโอลิมปิคฤดูหนาวที่เมือง Calgary ในปี ค.ศ. 1988 ก็ใช้หมีขั้วโลกเป็นสัญลักษณ์เช่นกัน นอกจากนี้หมีขั้วโลกยังเป็นส่วนหนึ่งของภาพยนตร์โฆษณาหรือแผ่นป้ายโฆษณาของสินค้าบางชนิดเช่น coca-cola, polar beverage nelvana, Bundaberg Rum และ good humor-Breyers ในเมืองไทยไม่มีได้ใช้หมีขาวเป็นสัญลักษณ์อะไรแต่จะพบการเปรียบเทียบหรือเป็นสมญานามของบุคคลที่มาจากประเทศรัสเซียว่ามาจากเมืองหมีขาว

             ในโลกของสัตว์กินเนื้อ หมีขั้วโลกหรือหมีขาวและหมีสีน้ำตาลถือว่าเป็นสัตว์บกกินเนื้อที่มีขนาดใหญ่ที่สุด เพศผู้ตัวเต็มวัยมีน้ำหนักประมาณ 350 – 680 กิโลกรัม ในขณะที่เพศเมียจะมีขนาดเล็กกว่าเพศผู้ประมาณครึ่งหนึ่ง ถึงแม้ว่ามีทั้งสองชนิดนี้มีความใกล้เคียงกันในสายวิวัฒนาการ แต่หมีขั้วโลกหรือหมีขาวได้ปรับตัวเองให้สามารถอยู่อาศัยอยู่ในสภาพถิ่นที่อยู่ที่ค่อนข้างไม่มีความหลากหลาย ด้วยความที่ว่าลักษณะร่างกายของมันได้ปรับตัวให้เข้ากับลักษณะอากาศที่หนาว การเดินบนแผ่นน้ำแข็ง หิมะและน้ำ และยังรวมไปถึงการพัฒนาเพื่อการล่าแมวน้ำ ถึงแม้ว่าหมีเหล่านี้จะเกิดบนบก แต่มันก็ใช้ชีวิตส่วนใหญ่อยู่ในน้ำ 

เมื่อเปรียบเทียบขนาดระหว่างเสือโคร่งไซบีเรีย หมีขาวมีขนาดใหญ่กว่าประมาณ 2 เท่าตัวของเสือโคร่งไซบีเรีย เมื่อเปรียบเทียบระหว่างหมีขาวและหมีสีน้ำตาลซึ่งเป็นเสมือนญาติสนิทกันก็พบว่าหมีขั้วโลกจะมีช่วงลำตัว กะโหลกและช่วงจมูกที่ยาวกว่าหมีสีน้ำตาล มีขาที่แข็งแรง และเท้าขนาดใหญ่ที่ไว้ใช้สำหรับการเดินและเคลื่อนที่บนน้ำแข็ง มีหูและหางมีขนาดเล็กกว่าหมีสีน้ำตาล กรงเล็บของหมีขั้วโลกสั้นและแข็งแรงกว่าหมีสีน้ำตาลเพื่อใช้ในการจับเหยื่อและยึดเกาะแผ่นน้ำแข็ง หมีขาวมีฟันทั้งหมด 42 ซี่ มีสูตรฟันเท่ากับ 3 1 4 2/ 3 1 4 2 มีฟันกรามน้อยหรือฟันแก้มที่เล็กแต่มีฟันเขี้ยวที่แหลมคมและยาว 

หมีขั้วโลกมีชั้นไขมันที่หนาประมาณ 10 cm อยู่ถัดลงไปจากชั้นของผิวหนังและขน ทำให้พวกมันมีอุณหภูมิภายในร่างกายที่สูงกว่าอุณหภูมิภายนอกประมาณ 10 c ขนของหมีขาวประกอบด้วยขนชั้นในและขนชั้นนอกที่มีความหนาและแน่นมาก จากเห็นสีขนเป็นสีขาวถึงสีแทน ขนที่ทำหน้าที่ปกคลุมนี้มีความยาวประมาณ 5 – 15 cm ทั่วทั้งตัว 

ในช่วงเดือนพฤษภาคมถึงเดือนสิงหาคม หมีขั้วโลกจะค่อยๆผลัดขน แต่การผลัดขนของหมีขาวจะไม่เหมือนกับสัตว์ในแถบอาร์กติกทั่วไป เพราะสีขนของมันก็ยังเป็นสีขาวเหมือนเดิม ไม่ได้เปลี่ยนไปเป็นสีเข้มขึ้นหรือดำ น้ำตาล เช่นเดียวกับสัตว์ชนิดอื่นในแถบนี้ที่เปลื่อนสีให้เข้มขึ้นเพื่อการพรางตัว ขนของหมีขั้วโลกจะมีสีขาวโดยจะเปลี่ยนเป็นสีเหลืองเมื่อมีอายุมากขึ้น บริเวณขนของหนีขาวเหล่านี้จะสามารถกักเก็บความอบอุ่น ความชื้น ในบางครั้งอาจจะมีสีเขียวเนื่องจากว่ามีการเจริญสาหร่ายทีบ่ริเวณขนชั้นใน หมีเพศผู้จะมีขนที่ขาหน้าที่ยาวกว่าขาหลังและความยาวของขนนี้จะยาวขึ้นเรื่อยๆไปจนถึงอายุ 14 ปี การที่ขนบริเวณขาหน้ายาวบริเวณอื่นก็เพราะเป็นประโยชน์ในการดึงดูดเพศเมียคล้ายๆกับแผงคอของสิงโต 
                    
             จากการศึกษาที่ผ่านมาเชื่อว่า สัตว์ตระกูลหมีได้แยกตัวออกมาจากกลุ่มของสัตว์กินเนื้อเมื่อประมาณ 38 ล้านปีที่แล้ว โดยได้ตรวจสอบทั้งซากดึกดำบรรพ์และหลักฐานทางพันธุกรรมพบว่าหมีขาวได้เกิดเป็นสิ่งมีชีวิตชนิดใหม่ที่แยกออกมาจากหมีสีน้ำตาลเมื่อประมาณ 150,000 ปี ที่ผ่านมา ซากดึกดำบรรพ์ของหมีขาวที่เก่ากี่สุดที่พบในตอนนี้มีอายุประมาณ 100,000 – 130,000 ปี ซึ่งเป็นส่วนของกระดูกขากรรไกร ถูกค้นพบที่ Prince Charles Foreland ในปี 2004 ซากดึกดำบรรพ์ที่ค้นพบนี้ได้แสดงว่าในช่วงระยะเวลา 10,000 – 20,000 ปี ที่ผ่านมา ที่ฟันกรามของหมีขาวเหล่านี้ได้พัฒนาไปจนมีความแตกต่างกับหมีสีน้ำตาลอย่างสมบูรณ์ ซึ่งประชากรของหมีขั้วโลกได้แยกตัวออกมาจากประชากรกลุ่มใหญ่ของหมีสีน้ำตาลในช่วง Pleistocene ในปัจจุบันจากการศึกษาทางพันธุกรรมทำให้ทราบว่าหมีสีน้ำตาลบางชนิดยังมีความใกล้เคียงทางพันธุกรรมกับหมีขั้วโลกอยู่ เกิดกรณีที่หมีขั้วโลกผสมพันธุ์กับหมีสีน้ำตาลออกมาเป็น Grizzly-polar bear ซึ่งเป็นหมัน ซึ่งจะเกิดขึ้นในกรงเลี้ยงเท่านั้น

 หมีขาวหรือหมีขั้วโลกมีการพัฒนาระบบการรับกลิ่นอย่างดีมาก สามารถตรวจหาตำแหน่งของแนวน้ำที่อยู่ไกลในรัศมี 1.6 กิโลเมตร และภายใต้น้ำแข็งที่หนา 0.91 เมตร การได้ยินของของหมีขาวมีประสิทธิภาพดีพอๆกับมนุษย์แต่การมองเห็นจะดีกว่ามนุษย์ สามารถมองเห็นวัตถุในระยะไกลได้ นอกจากนี้หมีขั้วโลกยังเป็นนักว่ายน้ำที่เก่งมาก สามารถว่ายน้ำโดยออกห่างจากฝั่งถึง 320 km แล้วสามารถว่ายกลับได้ เนื่องจากร่างกายมีชั้นไขมันที่หนาเปรียบเสมือนห่วงยางดีๆนี่เองด้วยความเร็ว 9.7 km/h

             หมีขาวหรือหมีขั้วโลกจัดเป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมทางทะเลเพราะว่ามันใช้เวลาส่วนมากในการใช้ชีวิตอยู่ในทะเลมากกว่าบนบก พื้นที่ที่พวกมันอาศัยอยู่เป็นชายฝั่งที่มีน้ำแข็งปกคลุมและบริเวณหมู่เกาะแถบอาร์คติคที่ซึ่งได้ชื่อว่าเป็นวงแหวนแห่งชีวิตของเขตอาร์กติก (Artic Ring 0f Life) เพราะว่าบริเวณนี้มีความหลากหลายและจำนวนของสิ่งมีชีวิตค่อนข้างสูงมากกว่าพื้นที่น้ำลึกของเขตอาร์คติค หมีขั้วโลกจะอาศัยอยู่บริเวณแผ่นน้ำแข็งที่ติดกับน้ำทะเล เพื่อความสะดวกในการหาอาหารซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นแมวน้ำ โดยหมีขั้วโลกเหล่านี้สามารถจับตำแหน่งของแนวน้ำจากลมหายใจของแนวน้ำ หมีขั้วโลกเป็นสัตว์ที่มีพละกำลังมาก มันสามารถจัดการกับตัววอลรัสตัวเต็มวัยได้ แต่น้อยมากที่จะเห็นเพราะปกติแล้วตัววอลรัสตัวเต็มวัยจะหนักกว่าหมีขั้วโลกถึง 2 เท่า เคยมีคนพบเห็นหมีขั้วโลกล่าววาฬเบลูก้าซึ่งเป็นจัดเป็นโลมาขนาดเล็กชนิดหนึ่ง โดยการข่วยอย่างแรงที่ช่องหายใจ โดยปกติหมีขั้วโลกจะหากินแบบเดี่ยวๆ 
                 
             หมีขั้วโลกเป็นสัตว์บกที่ไม่เหมือนกับหมีกริสลี่ย์ ถึงแม้ว่ามันจะมีนิสัยดุร้ายแต่มันมักจะเลือกที่จะวิ่งหนีมากกว่าต่อสู้ แทบจะไม่พบข่าวเกี่ยวกับหมีขั้วโลกทำร้ายคน ในขณะที่หมีกริสลี่ย์ญาติสนิทของมันมักจะมีข่าวตลอดว่าทำร้ายมนุษย์ หมีขั้วโลกสามารถมีอายุประมาณ 25ปี มีการบันทึกอายุที่มากที่สุดของหมีขั้วโลกในธรรมชาติคือ 32 ปี ถ้าเกิดเป็นหมีที่เลี้ยงในกรงเลี้ยงเคยมีบันทึกถึง 43 ปี ช่วงฤดูสืบพันธุ์จะอยู่ในเดือนเมษายนถึงเดือนพฤษภาคม เพศผู้จะติดตามกลิ่นของเพศเมียที่ส่งออกมาเพื่อบอกว่าพร้อมที่จะผสมพันธุ์แล้ว ทำให้เพศผู้หลายตัวมารวมกันจนเกิดการต่อสู้ สังเกตจากร่องรอยบาดแผลและการหักของฟัน เพศเมียจะให้กำเนิดลูกในช่วงเดือนพฤศจิกายนถึงเดือนกุมภาพันธ์ ลูกหมีแรกเกิดตายังจะปิดอยู่ มีขนไม่หนา น้ำหนักน้อยกว่า 0.9 กิโลกรัม โดยเฉลี่ยแล้วจะไม่เกิน 2 ตัว ลูกหมีจะอยู่กับแม่จนอายุ 1.5 ปี พื้นที่ที่หมีขั้วโลกมีการอาศัยจะอยู่บริเวณ Artic Circle ซึ่งครอบคลุมประเทศเดนมาร์ก นอร์เวย์ รัสเซีย สหรัฐอเมริกา และแคนาดา
                  

 

หน้าที่ 2 - วิกฤตการณ์ต่างที่ส่งผลกระทบต่อหมีขั้วโลก


             ในธรรมชาติหมีขั้วโลกเป็นผู้ล่าสูงสุดในพื้นที่ที่มันอาศัยอยู่ นอกจากนี้ก็ยังมีสุนัขจิ้งจอกอาร์กติกและนกนางนวลที่เป็นผู้บริโภครองลงมาทำหน้าที่ในการจัดการซากที่หมีขั้วโลกเหล่านี้จัดการไว้ อาหารส่วนใหญ่ที่หมีขั้วโลกเหล่านี้กินจะเป็นแมวน้ำโดยเฉพาะแมวน้ำคอแหวนที่มีมากในบริเวณนี้ จนเกิดเป็นความสัมพันธ์กันระหว่างแมวน้ำคอแหวนกับหมีขาวที่ค่อนข้างใกล้ชิดกันมากคือ เมื่อจำนวนแมวน้ำคอแหวนเพิ่มจำนวนขึ้นจากการกระตุ้นให้หมีขั้วโลกเพิ่มจำนวนขึ้น ในขณะเดียวกันแมวน้ำคอแหวนก็กระตุ้นให้ประชากรของมันประสบความสำเร็จในการสืบพันธุ์มากขึ้น แรงกดดันของวิวัฒนาการจากการล่าของหมีขั้วโลกทำให้เกิดความแตกต่างระหว่างแมวน้ำอาร์กติกและแมวน้ำแอนตาร์กติก 

             ในช่วงก่อนหน้านี้มนุษย์มีการล่าหมีขั้วโลกด้วยเหตุผลต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นความเชื่อของชนพื้นเมืองบางเผ่าที่ล่าหมีเพื่อแสดงความกล้า เอาหนังมาทำเป็นเครื่องนุ่งห่ม เนื้อเอามากิน ไขมันนำมาใช้เป็นอาหารและพลังงานในการให้แสงสว่างและอบอุ่น ร่วมกับไขของแมวน้ำและปลาวาฬ ถุงน้ำดีและหัวใจเอามาตากแห้งแล้วบดให้ละเอียดใช้เป็นยา เขี้ยวเอามาทำเป็นเครื่องประดับ มีเพียงตับเท่านั้นที่ไม่ได้นำมาใช้เนื่องจากมีความเข้มข้นของวิตามินเอที่สูงมากจนมีความเป็นพิษสูง 

มนุษย์ที่ล่ามักจะโยนตับทิ้งลงทะเลหรือฝังกลบเพื่อหลีกเลี่ยงสุนัขที่นำไปด้วยขุดคุ้ยเอามากิน ในประเทศรัสเซียหมีขั้วโลกถูกฆ่าเพื่อการค้าตั้งแต่ศตวรรษที่ 14 ถึงแม้ว่าราคาขนของหมีขั้วโลกหรือหมีขาวนี้มีราคาถูกกว่าขนของสุนัขจิ้งจอกอาร์กติกหรือว่ากวางเรนเดียร์ จนต้องมีมาตรการในแต่ละประเทศที่ออกมาเพื่อปกป้องหมีขั้วโลกเหล่านี้ รวมไปถึง IUCN ที่ได้ออกจัดให้หมีขั้วโลกเป็นสัตว์ที่มีแนวโน้มใกล้สูญพันธุ์

                    

             ปัญหาที่ส่งผลกระทบต่อจำนวนของหมีขั้วโลกก็คือ มลพิษ โดยพบการปนเปื้อนภายในตัวของหมีขั้วโลกเหล่านี้ของสารพิษชนิดต่างๆ เช่น Polychlorinated biphenyl (PCBs) และยาฆ่าแมลงที่เป็นสารประกอบคลอไรด์ เนื่องจากหมีขั้วโลกเป็นผู้ล่าสูงสุดถือเป็นยอดของปริมิดอาหาร (Food Pyramid) ของพื้นที่แถบนี้ สารพิษที่มีการปนเปื้อนในตัวสัตว์บริเวณพื้นที่นี้จะตรวจพบในชั้นไขมัน จากการทดสอบชิ้นเนื้อของหมีพบการเพิ่มขึ้นในช่วงที่ยังไม่มีมาตรการเกี่ยวกับการใช้ยาฆ่าแมลง แต่เมื่อได้ออกมากฎเกี่ยวกับการใช้ฆ่าแมลงชนิดต่างๆก็พบว่าปริมาณในชิ้นเนื้อได้น้อยลง นอกจากผลกระทบของสารพิษชนิดต่างๆก็ยังมีเกี่ยวกับคราบน้ำมัน พื้นที่แถบบริเวณอาร์กติก เช่นบริเวณอลาสก้ามีแหล่งน้ำมันดิบที่อยู่ใต้ดินจำนวนมาก การขุดน้ำมันนอกจากจะสร้างรายได้จำนวนมหาศาลแล้วยังสร้างผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมนับค่าไม่ได้ถ้ามีการจัดการไม่ได้มาตรฐานและปัญหาที่มักจะเกิดขึ้นบ่อยๆ คือ การรั่วไหลของน้ำมันภายในมหาสมุทร อย่างตัวอย่างที่เกิดล่าสุดก็คือการรั่วไหลของน้ำมันที่อ่าวแม๊กซิโกที่ปล่อยน้ำมันดิบออกมามากกว่า 5 ล้านบาร์เรลเมื่อ 5 เดือนที่ผ่านมา รัฐที่ได้รับผลกระทบมากที่สุดคือรัฐ Louisiana ซึ่งส่งผลกระทบต่อสิ่งมีชีวิตที่อาศัยอยู่ในบริเวณนั้น เช่น ปลาชนิดต่างๆ นกทะเล วาฬ โลมา เต่าทะเล แมวน้ำ และอื่นๆ 

คราบน้ำมันในครั้งนี้ได้ใช้เวลาประมาณ 6 เดือนถึงจะจัดการได้ ถึงแม้ว่ามันจะไม่ใช่พื้นที่ที่อยู่ในบริเวณพื้นที่ที่หมีขั้วโลกโดยตรงแต่สารพิษก็สะสมอยู่ในปลาซึ่งอาหารของแมวน้ำแล้วแมวน้ำก็เป็นอาหารของหมีขั้วโลก ถ้าเกิดน้ำมันรั่วไหลบริเวณอาร์กติกซึ่งเกิดขึ้นบ่อย น้ำมันจะลอยอยู่บริเวณผิวน้ำ น้ำมันส่วนนี้ก็จะไปเกาะตามผิวหนัง ขนของหมี จากนั้นก็จะเข้าสู่ร่างกายเพราะหมีจะทำความสะอาดโดยการเลียแล้วคราบน้ำมันก็จะเอาสู่ร่างกาย และการที่มีคราบน้ำมันอย่างนี้จะทำให้หมีเสี่ยงต่อการตายจากอาการ Hypothermia เป็นอาการที่อุณหภูมิร่างกายลดลงอย่างรวดเร็ว

   และอีกปรากฎการณ์ที่ส่งผลกระทบโดยตรงต่อหมีขั้วโลกเหล่านี้ คือ ภาวะโลกร้อน (Global warming) ซึ่งส่งผลกระทบไปทั่วโลกตอนนี้ ในพื้นที่แถบอาร์กติกนี้ก็ได้รับผลกระทบที่ค่อนข่างหนักเนื่องจากอุณหภูมิสูงขึ้นแผ่นน้ำแข็งเริ่มมีการละลาย ลดขนาดลงไป ซึ่งแผ่นน้ำแข็งเหล่านี้เป็นแหล่งที่อยู่อาศัยของสัตว์โดยเฉพาะหมีขั้วโลกเหล่านี้ เมื่อสภาวะโลกร้อนได้ขยายตัว ทำให้หมีเหล่านี้ขาดแคลนอาหารเนื่องจากการสูญเสียถิ่นที่อยู่อาศัย 

โดยปกติแล้วหมีขั้วโลกจะล่าแมวน้ำที่บริเวณแผ่นน้ำแข็ง แต่เมื่ออุณหภูมิสูงขึ้นส่งผลให้เกิดการละลายของแผ่นน้ำแข็งซึ่งมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นในแต่ละปี เมื่อแผ่นน้ำแข็งละลายอาหารก็หายากมากขึ้น การสร้างไขมันสะสมของหมีซึ่งจะทำการเก็บสะสมในช่วงฤดูร้อนและฤดูใบไม้ร่วงเพื่อใช้ในการจำศีลในช่วงฤดูหนาวก็จะน้อยไปด้วยแถมยังสูญเสียพลังงานในการว่ายน้ำมากขึ้นจนอาจจะทำให้เกิดการจมน้ำตายของหมีขั้วโลกได้ แผ่นน้ำแข็งที่บางมีโอกาสแตกหักได้ง่ายทำให้หมีเหล่านี้ล่าแมวน้ำยากขึ้น ส่งผลให้เพศเมียได้รับสารอาหารไม่เพียงพอ ลูกที่คลอดออกมามีอัตราการตายสูง ในตอนนี้ผลกระทบของภาวะโลกร้อนเริ่มส่งผลแล้วในบริเวณทางตอนใต้ของพื้นที่อาร์กติก เช่น  western Hudson Bay ในช่วงปี ค.ศ. 1987 – 2004 มีประชากรลดลงประมาณ 22% ของประชากรทั้งหมดในพื้นที่ของรัฐอลาสก้า ผลกระทบของการลดลงของแผ่นน้ำแข็งทำให้อัตราการตายของลูกหมีเพิ่มขึ้นและนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงพื้นที่ในการสร้างโพรงเพื่อเลี้ยงลูกอีกด้วย

                             

 

 

 

คุยแบบวิชาการ-โลกร้อนกับหมีขั้วโลก

 

 



สร้างเว็บแบบมืออาชีพได้อย่างง่ายๆ กับ เว็บไซต์สำเร็จรูปของ " สยามทูเว็บ " www.siam2web.com


เฉพาะสมาชิกเท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็นได้ กรุณา "เข้าสู่ระบบ" ก่อน เข้าสู่ระบบ
..

Advertising Zone    Close
 
Online:  2
Visits:  370,080
Today:  123
PageView/Month:  1,434

ยังไม่ได้ลงทะเบียน

เว็บไซต์นี้ยังไม่ได้ลงทะเบียนยืนยันการเป็นเจ้าของเว็บไซต์กับ Siam2Web.com