..แหล่งเรียนรู้ด้านการสื่อสารอีกแห่งหนึ่งของข้าพเจ้า HS7ZRF

 

 

ผู้เขียน : พีรวิช วรรณทอง   หัวข้อ : เซฟเวอร์ 8 โวลท์สำหรับวิทยุมือถืออ่าน 6191 / ความคิดเห็น 0
รูปประจำตัว
พีรวิช วรรณทอง
  • 1 กระทู้ที่เริ่มไว้
  • 5 สิงหาคม 2554
รูปไอคอน
หัวข้อ : เซฟเวอร์ 8 โวลท์สำหรับวิทยุมือถือ
2/12/2554 22:12:00

เซฟเวอร์ 8.0โวลท์

  ขอถือโอกาสนี้ชักชวนท่านผู้สนใจมาสร้างแหล่งพลังงานสำรองใช้กันครับ  หลายท่านอาจเคยเป็นอย่างผม ในขณะที่ใช้ความถื่สนทนากับเพื่อนๆเพื่อแลกเปลี่ยนความรู้  จู่ๆ เจ้าแบตเตอรี่ที่ติดตั้งอยู่กับวิทยุคู่ใจก็หมดพลังงานแบบกระทันหัน  ถ้าอยู่กลางทุ่งนาก็ทำใจครับ  แต่ถ้าอยู่ที่ที่บ้าน หรือ อยู่บนรถยนต์ก็ยังพอมีหวังครับ  เพราะในรถยนต์ส่วนใหญ่ใช้แบตเตอรี่ขนาดแรงดัน 12โวลท์  

  วิทยุมือถือรุ่นใหม่ๆที่วางจำหน่ายในท้องตลาดระบุว่าต้องการพลังงานประมาณ 7.2โวลท์  และทนแรงดันได้มากกว่านี้นิดหน่อย  ถ้าจะนำพลังงานจากแบตเตอรี่รถยนต์ต่อเข้าสะพานไฟของวิทยุรับ-ส่งตรงๆเลยก็ไม่ได้  เพราะอาจเกิดความเสียหายขึ้นทันที  หากวิทยุของท่านมีระบบป้องกันเมื่อมีแรงดันไฟเกินกว่าที่วิทยุเครื่องนั้นรับได้  ระบบป้องกันนี้จะทำงานทำให้วิทยุเครื่องนั้นเปิดไม่ติด ตรงนี้ยังนับว่าดี  แต่ถ้าไม่มีระบบป้องกันไฟเกินก็คงมีประกายไฟและควันพวยพุ่งออกมาจากวิทยุรับ-ส่งสุดที่รักของท่านอย่างแน่นอน  การที่จะทำให้วิทยุแสนรักของท่านสามารถใช้กับขนาดแรงดันของแบตเตอร์รี่รถยนต์ได้นั้น  ต้องมีอุปกรณ์ตัวนี้ช่วยลดแรงดันไฟฟ้าลงมาให้เท่ากับความต้องการของวิทยุของเรา

       อุปกรณ์ที่ใช้

         1.Ic.ควบคุมแรงดัน เบอร์ LM 7808  2ตัว

         2. ตัวต้านทาน 0.3 โอห์ม 3วัตต์ 2ตัว

         3.ตัวเก็บประจุแบบอิเล็กโทรไลท์ 100μ.f. 16v. 1ตัว

         4.ตัวเก็บประจุแบบเซรามิค เบอร์ 104  1ตัว

         5.ไดโอดบริดจ์ ขนาด 2แอมป์ขึ้นไป 1ตัว

         6.สายไฟสำหรับเชื่อมต่อภายในวงจร(ถ้ามีครบ 3สีจะช่วยให้ไม่สับสน)

         7.แผ่นระบายความร้อน(ถอดจาก PC. Power Supply) 1แผ่น พร้อมน็อตยึดอุปกรณ์ 

       หมายเหตุ: แผ่นระบายความร้อนนี้มีรูสำหรับยึด Ic.อยู่แล้ว  การใช้ที่ไดโอดบริดจ์ต่อก่อนเข้าวงจรทำให้เราไม่ต้องกังวลกับไฟขาเข้าวงจร  คือเราจะต่อไฟสลับขั้วใดก็ได้  ที่สำคัญคือเราต้องรู้จักขั้วของไดโอดว่าอันไหนขาเข้าอันไหนขาออก โดยการดูเครื่องหมาย˜ นี้แสดงว่าเป็นขาเข้าให้ใส่สายไปขาเข้า  ส่วนขาออกจะเป็นเครื่องหมาย + สำหรับขา - จะอยู่ฝั่งตรงข้าม(ถ้าเป็นไดโอดรุ่นใหญ่ให้ดูเป็นมุมทะแยง) ข้อเสียคือเมื่อไฟผ่านวงจรของไดโอดบริดจ์เร็คติไฟร์แล้วแรงดันจะลดลงมานิดหน่อย  บางท่านใช้ติดตั้งประจำที่(มั่นใจว่าไม่ต่อไฟสลับขั้ว)  ไม่ประสงค์ใช้ปลั๊กเสียบที่จุดบุหริ่ และไม่ต้องการไดโอดบริดจ์ก็ย่อมทำได้ครับ  ที่ผมใส่ไดโอดที่ว่านี้ก็เพื่อลดความเสียหายจากไฟสลับขั้วเท่านั้นเอง

       

การวางตัวส่วนประกอบและเชื่อมต่อขาอุปกรณ์ในวงจร  ผมทดลองโดยการยึด Ic.เข้ากับแผ่นระบายความร้อนก่อน (ได้ระยะห่างของรูยึดพอดี) จากนั้นทำการจัดขาอุปกรณ์โดยการดัดให้เข้ารูป  แล้วโยงขาที่จะเชื่อมวงจรเข้าหากัน  ที่สำคัญคือต้องต่อให้ถูกขั้วนะอย่าต่อสลับขั้วเป็นอันขาด  ก่อนที่จะใช้งานจริงท่านต้องตรวจสอบขั้ว - + ให้ถูกต้องเสียก่อน  โดยการตรวจดูที่สะพานไฟของวิทยุรับ-ส่ง หรือ ที่กล่องแบตแตอรี่ของวิทยุเครื่องนั้นๆ  เมื่อทราบตำแหน่งที่แน่นอนของขั้ว - +แล้ว  ลองทำตามรูปนี้เลย  ผมทดลองด้วยตนเองแล้วใช้งานได้ดีครับ  

        การนำไปใช้งาน: แนะนำให้ประกอบเข้ากับกล่องแบตฯของวิทยุรับ-ส่ง  รุ่นที่ท่านมีไว้ในครอบครอง  ส่วนใหญ่เมื่อแบตเตอรี่หมดอายุแล้วเพื่อนๆจะแกะออก  แล้วเก็บกล่องใว้  เผื่อว่าถึงเวลามีเงินมีทองก็จะหาใส้แบตเตอรี่ตัวใหม่มาใส่  แต่บางท่านลงทุนซื้อกล่องใหม่มาใส่ครับ

       ข้อควรระวัง :  รูสำหรับยึดน็อตของ Ic และขาตรงกลางจะเป็นขั้วลบ  เวลาเชื่อมต่อขาอุปกรณ์ระวังลัดวงจรในภายหลัง  ควรดัดยกขาอุปกรณ์ให้สูงกว่าแผ่นระบายความร้อนนี้  ผู้ใช้งานในบ้านและใช้ Power Supply เป็นแหล่งพลังงาน  ไม่ควรใช้สายอากาศที่ติดอยู่กับเครื่องในการส่งสัญญาณออกอากาศ  เพราะคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าที่วิทยุส่งออกไปอาจรบกวนแหล่งจ่ายพลังงานได้  อาจสังเกตได้ว่าคู่สนทนาของเราบอกว่าเราส่งเสียงฮัม  ที่น่าจะเกิดจากการรบกวนของกระแสไฟฟ้าออกไปพร้อมกับเสียงพูด  แนะนำให้ต่อใช้งานกับสายอากาศนอกบ้านจะดีกว่าครับ 


สร้างเว็บแบบมืออาชีพได้อย่างง่ายๆ กับ เว็บไซต์สำเร็จรูปของ " สยามทูเว็บ " www.siam2web.com


เฉพาะสมาชิกเท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็นได้ กรุณา "เข้าสู่ระบบ" ก่อน เข้าสู่ระบบ
..

Advertising Zone    Close
 
Online:  2
Visits:  369,901
Today:  130
PageView/Month:  1,255

ยังไม่ได้ลงทะเบียน

เว็บไซต์นี้ยังไม่ได้ลงทะเบียนยืนยันการเป็นเจ้าของเว็บไซต์กับ Siam2Web.com