..แหล่งเรียนรู้ด้านการสื่อสารอีกแห่งหนึ่งของข้าพเจ้า HS7ZRF

 

 

ผู้เขียน : พีรวิช วรรณทอง   หัวข้อ : HS1A พระบิดาแห่งวิทยุสื่อสารไทยอ่าน 2206 / ความคิดเห็น 0
รูปประจำตัว
พีรวิช วรรณทอง
  • 1 กระทู้ที่เริ่มไว้
  • 5 สิงหาคม 2554
รูปไอคอน
หัวข้อ : HS1A พระบิดาแห่งวิทยุสื่อสารไทย
1/9/2554 21:51:00

 

 




HS1A พระบิดาแห่งวิทยุสื่อสารไทย 


    คงจะไม่มีผู้ใดปฏิเสธว่า พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวของเราชาวไทยทรงมีพระราชอัจฉริยภาพ และความเป็นพหูสูตในวิชาการทั้งศิลป์และศาสตร์ทุกแขนง ไม่ว่าจะเป็นวิชาวิศวกรรมศาสตร์ด้านสื่อสารโทรคมนาคม แผนที่ การจราจร เกษตรศาสตร์ ชลประทาน อุตุนิยมวิทยา นิติศาสตร์ รัฐศาสตร์ การทหาร การดนตรี กีฬา การศึกษา อักษรศาสตร์ สถิติศาสตร์ หรือแม้กระทั่งวิชาโหราศาสตร์


หัวข้อวิชาดังกล่าวส่วนใหญ่เป็นหัวข้อวิชาบังคับให้รัชทายาทของพระเจ้าแผ่นดินในชมพูทวีป ต้องศึกษาตามหลักสูตรของมหาวิทยาลัยตักสิลา หลักสูตรนี้ใช้เวลานานถึง ๘ ปี

คำว่า "พหูสูต" นี้หมายถึง "ความเป็นผู้ฉลาดรู้" เป็นคุณสมบัติเฉพาะตัวที่จะเกิดขึ้นได้กับบุคคลที่มีนิสัยและคุณลักษณะ ดังนี้

๑. ชอบอ่าน ชอบฟัง ชอบค้นคว้า

๒. มีความจำดี รู้จักจับหลักและสาระสำคัญแล้วจดจำได้อย่างแม่นยำ

๓. มีความตั้งใจหมั่นท่องจดจำได้จนขึ้นใจชัดเจนโดยไม่ต้องเปิดตำรา เมื่อจะกล่าวถึงเรื่องใด ก็สามารถกล่าวได้ด้วยความมั่นใจอย่างคล่องปาก

๔. มีความตั้งใจขบคิด ตรึกตรอง พิจารณาสาวหาเหตุหาผลให้ได้จนเจนจบสามารถเข้าใจรู้เรื่อง ระลึกเรื่องได้โดยตลอดทะลุปรุโปร่ง

๕. มีปัญญา มีความรู้และเข้าใจเรื่องราวทั้งภาคทฤษฎี และปฏิบัติได้อย่างแจ่มแจ้ง


นอกจากนี้ พระองค์ยังทรงไว้ซึ่งคุณธรรมสำคัญประการหนึ่งซึ่งเป็นปัจจัยให้ทรงประสบความสำเร็จในการศึกษาวิชาการแขนงต่างๆ องค์ธรรมนั้นก็คือ “อิทธิบาท ๔” ซึ่งเป็นที่รู้จักกันทั่วไปว่า คือ ฉันทะ วิริยะ จิตตะ วิมังสา


คำว่า “ฉันทะ” ในที่นี้ มิใช่ความพอใจติดใจในเรื่องรูป รส กลิ่น เสียง แต่หมายถึง ความยินดีพอใจที่จะกระทำการสิ่งหนึ่งสิ่งใดที่ตนคิดฝันให้บังเกิดเป็นรูปธรรม

 

เมื่อใดก็ตาม ที่จิตของเราได้รับรู้ และเกิดความรู้สึกดังกล่าวขึ้น ความเพียรพยายาม คือ “วิริยะ” ความสนใจ ความเอาใจใส่ มีจิตใจจดจ่อ กระตือรือร้นที่จะขวนขวายศึกษาในเรื่องนั้นเพิ่มเติม รวมทั้งการหมั่นศึกษาค้นคว้าให้มีความรู้กว้างขวางลึกซึ้งยิ่งขึ้นคือ “จิตตะ และ วิมังสา” ก็จะเกิดขึ้นเป็นเงาตามตัว ทำให้ผู้ที่มีองค์ธรรม คือ “อิทธิบาท ๔” ประสบความสำเร็จในการศึกษา และเมื่อได้มีพัฒนาปัญญาเพิ่มเติม ความเป็นพหูสูตก็จะเกิดขึ้น

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ทรงพอพระทัยที่จะศึกษาในวิชาช่างสาขาต่างๆ มาตั้งแต่ทรงพระเยาว์ ได้ทรงพระกรุณารับสั่งให้ผมฟังหลายเรื่อง คือ

 

เรื่องที่ ๑ ทรงเย็บกระดุม เย็บผ้าเป็นตั้งแต่ยังเรียนอยู่ที่โรงเรียนมาแตร์เดอี

เรื่องที่ ๒ ทรงซ่อมจักรเย็บผ้าได้เอง เมื่อยังทรงประทับ รับการศึกษาอยู่ที่เมืองโลซานน์ ประเทศสวิส

เรื่องที่ ๓ ที่เมืองโลซานน์ ได้เคยทรงประกอบรถจักรยานยนต์ใช้เอง โดยนำเอาเครื่องยนต์ขนาดครึ่งแรงม้ามาติดตั้งกับรถจักรยาน รับสั่งว่า ประทับนานๆ แล้วเมื่อย เพราะรถจักรยานนั้นไม่มีโช๊คอัพ ผมเข้าใจว่า เป็นเพราะยางรถจักรยานในสมัยนั้นยังเป็นยางตัน ไม่มียางในด้วยก็ได้

เรื่องที่ ๔ คืนวันหนึ่ง ได้ทอดพระเนตรสังเกตเห็นพระจันทร์ดวงใหญ่ มีสีแดงมาก (จิตตะ) จึงได้รับสั่งถามครู ก็ไม่ได้รับคำอธิบายอย่างชัดแจ้ง ไม่ได้รับความรู้เพิ่มเติมมากขึ้นเป็นพิเศษ ด้วยความอยากรู้ จึงต้องไปทรงศึกษาค้นคว้าเอง (วิมังสา) จึงได้พบว่า เป็นเพราะการหักเหของแสง แสงสีแดงเป็นแสงที่มีการหักเบนมากที่สุด จึงช่วยให้เห็นสีแดงได้ง่ายอนึ่ง เหตุผลที่เราสามารถเห็นฟ้ามีสีแดง เมื่อพระอาทิตย์ตกดินไปแล้ว ถึงแม้ว่า ขอบฟ้าจะบัง แต่แสงสีแดงก็ยังหักเบนมาให้เห็น

เรื่องที่ ๕ เป็นเรื่องเกี่ยวกับรถไฟฟ้า ได้รับสั่งเล่าว่า ได้ทรงต่อสายไฟฟ้าจากห้องบนพระตำหนักโยงลงมาข้างล่าง แล้วนำมาต่อเข้ากับรถไฟของเล่นที่ใช้มอเตอร์ไฟฟ้า เป็นไฟฟ้าสายเดียวต่อเข้ากับขั้วหนึ่งของมอเตอร์ ส่วนรางรถไฟต่อเข้ากับสายดิน มีในลักษณะระบบจ่ายกำลังไฟฟ้าสายเดียวกระแสตรง โดยใช้พื้นดินเป็นสื่อนำกระแสไฟฟ้าไหลกลับไปครบวงจรกระแส ไฟจึงไหลผ่านมอเตอร์มาลงดินที่ตัวราง มอเตอร์จึงหมุน และรถไฟจึงวิ่งได้

ได้รับสั่งเพิ่มเติมว่า เพื่อป้องกันมิให้พระพี่เลี้ยงถูกไฟดูด ตรงปลั๊กขั้วต่อสายไฟจึงได้ทรงทำเป็นเครื่องหมายรูปหัวกระโหลกกระดูกไขว้ กับ ทรงเขียนภาษาเยอรมันกำกับไว้ว่า “ACHTUNG” ซึ่งแปลว่า “ระวังอันตราย”

เรื่องที่ ๖ รับสั่งว่า ขณะที่เสด็จฯ ไปเล่นน้ำที่หาดทราย ทรงโปรดที่จะก่อกำแพงทรายเพื่อกั้นน้ำ และทำทางระบายน้ำ ความสนพระทัยในเรื่องนี้ได้สร้างความเป็นพหูสูตในด้านการชลประทาน

เรื่องที่ ๗ เป็นเรื่องเกี่ยวกับวิทยุ ด้วยความสนพระทัย ทรงรวบรวมพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์จำนวนหนึ่งไปซื้ออุปกรณ์วิทยุต่างๆ ซึ่งเขาเอามาใส่กระจาดขายเลหลังไว้หน้าร้านในเมืองโลซานน์ แล้วทรงนำมาประกอบเป็นเครื่องรับวิทยุแบบใช้แร่ ซึ่งเป็นเครื่องรับวิทยุรุ่นแรกๆ ของโลก มีส่วนประกอบสำคัญ คือ แร่หนวดแมว (Cat Whisker) และขดลวดที่ม้วนอยู่ในกรอบรูปหกเหลี่ยม เมื่อทรงประกอบเสร็จ จึงต่อเข้ากับสายลวดไฟฟ้าที่ได้ขึงไว้ใช้เป็นสายอากาศ แล้วทรงปรับที่ตัวแร่ จนสามารถรับฟังสถานีส่งวิทยุกระจายเสียงบางแห่งในทวีปยุโรปได้ ทรงพอพระทัย และภูมิพระทัยมาก


ผมขอขยายความเกี่ยวกับเรื่องการรวบรวมพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์มาใช้ในการจัดซื้อสิ่งของต่างๆ ตามพระราชประสงค์นี้ ถ้าผมจำไม่ผิด พระองค์ท่านได้รับสั่ง "ทรงแคะกระปุก" เหตุผลและความจำเป็นในเรื่องนี้เกิดขึ้นตามแนวพระราโชบายของสมเด็จพระบรมราชชนนีในการทรงอบรมสั่งสอนพระราชธิดาและพระราชโอรส ให้เป็นผู้ที่ประหยัด และมีวินัย มีอยู่หลายเรื่องที่ได้รับสั่งเล่าให้ฟัง ดังนี้

๑. สมเด็จฯ ไม่ทรงโปรดให้ยืมเงินของผู้อื่นมาใช้สอย แม้ว่า จะเป็นคนที่ใกล้ชิดที่สุดก็ตาม

๒. สมเด็จฯ ไม่ทรงโปรดให้ผู้อื่นซื้อของมาถวายให้ หากไม่ใช่โอกาสพิเศษ เช่น วันเกิด หรือ สอบได้ที่ดี ได้เคยรับสั่งดุคุณท้าวอินทร์สุริยา พระพี่เลี้ยง เรื่อง การซื้อของเล่นมาถวาย ซึ่งคุณท้าวฯ ได้กราบทูลว่า ถวายเป็นรางวัลเนื่องจากได้ทรงซ่อมจักรเย็บผ้าให้

เรื่องที่ ๘ เมื่อกิจการวิทยุได้วิวัฒนาการจากเครื่องที่ใช้แร่มาเป็นเครื่องรับวิทยุที่ใช้หลอด ได้ทรงทดลองต่อสายจากลำโพงของเครื่องวิทยุจากห้องบรรทมของพระองค์ท่านไปต่อเข้ากับลำโพงในห้องบรรทมของสมเด็จพระเชษฐาธิราช พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๘ เป็นการให้บริการเสียงตามสาย ซึ่งทรงพอพระทัย และภูมิพระทัยเช่นกัน


วิธีการอบรมสั่งสอนพระราชธิดา และพระราชโอรส ของสมเด็จพระบรมราชชนนีให้เป็นผู้มีวินัยรู้จักการประหยัด ได้ปลูกฝังพระทัยของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในเรื่อง “เศรษฐกิจพอเพียง” มาโดยตลอดจนถึงปัจจุบัน

ด้วยความสนพระทัยในวิชาช่างดังกล่าว ในระหว่างที่ยังประทับศึกษาอยู่ในมหาวิทยาลัยที่เมืองโลซานน์ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจึงทรงเลือกที่จะศึกษาวิชาวิทยาศาสตร์ แต่เมื่อต้องเสด็จขึ้นครองราชย์อย่างกระทันหัน จึงทรงจำเป็นที่ต้องเลิกราไประยะหนึ่ง

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ทรงเริ่มศึกษาค้นคว้าในเรื่องเทคนิคการสื่อสารทางวิทยุใหม่อย่างจริงจังเมื่อปี พ.ศ.๒๕๑๑ ซึ่งเป็นช่วงเวลาเดียวกันกับที่ผมซึ่งขณะนั้นดำรงตำแหน่งหัวหน้ากองการสื่อสาร กรมตำรวจ และได้รับพระบรมราชโองการให้ปฏิบัติหน้าที่นายตำรวจราชสำนักเวรพอดี ทั้งนี้ เนื่องจากความสนพระทัยในวิชาช่างแขนงนี้มาตั้งแต่ยังทรงพระเยาว์ประการหนึ่ง และทรงตระหนักในความสำคัญว่า การสื่อสารทางวิทยุจะเป็นสื่อที่ดีที่สุด ซึ่งจะช่วยให้พระองค์ท่านได้ทราบข่าวสารสารทุกข์สุกดิบของพสกนิกรราษฎรของท่านได้อย่างรวดเร็ว และสามารถทรงช่วยเหลือบำบัดทุกข์ให้ได้โดยรวดเร็ว ทันต่อเหตุการณ์

องค์ธรรมประจำพระองค์ คือ อิทธิบาท ๔ จึงส่งเสริมให้พระองค์ประสบความสำเร็จ บังเกิดเป็นพระราชอัจฉริยภาพในวิชาการสื่อสารโทรคมนาคมในรูปแบบต่างๆ มากมายหลายสาขา ทั้งในด้านปฏิบัติการ และด้านช่าง

ด้วยความสนพระทัยในงานด้านช่างวิทยุ ดังนั้น เมื่อได้ทรงเข้าพระทัยในหลักวิชาเทคนิคการสื่อสารทางวิทยุตามที่ผมได้กราบบังคมทูลไว้ และที่ได้ทรงสดับตรับฟังจากผู้เชี่ยวชาญจากส่วนราชการทั้งฝ่ายทหาร และพลเรือน รวมทั้งได้ทรงศึกษาค้นคว้าด้วยพระองค์เองมากพอสมควรแล้ว จึงได้เริ่มทำการทดลองปฏิบัติการโดยใช้เครื่องรับ-ส่งวิทยุ และเครื่องอุปกรณ์ต่างๆ อาทิ สายอากาศ เครื่องมือตรวจวัด ฯลฯ ในราชการตำรวจ ซึ่งผมได้ทูลเกล้าฯ ถวายให้ทรงใช้งานตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา สำหรับเครื่องรับ-ส่งวิทยุ และเครื่องอุปกรณ์ต่างๆ ที่ได้ทรงใช้งานในด้านช่างนั้น ในโอกาสต่อมา คุณสุจินต์ เบญจรงคกุล ผู้จัดการห้างหุ้นส่วนจำกัด ยูไนเต็ดอุตสาหกรรม (บิดาของคุณบุญชัย เบญจรงคกุล ประธานกรรมการของกลุ่มบริษัท ยูคอม) ได้ทูลเกล้าฯ ถวายอีกหลายรายการ

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ทรงสนพระทัยในการทำงานของสายอากาศ และการแผ่กระจายคลื่นวิทยุมากเป็นพิเศษ ได้เคยรับสั่งว่า ถึงแม้ว่าเครื่องส่งวิทยุจะมีกำลังส่งสูงมากเพียงใด เครื่องรับวิทยุจะมีความไวดีเพียงใด (สามารถรับสัญญาณที่กำลังแรงต่ำๆ ได้) หากสายอากาศที่ถูกนำมาใช้ในการส่ง หรือ การรับสัญญาณ ไม่ดีพอ การติดต่อสื่อสารทางวิทยุนั้น ย่อมจะไม่มีประสิทธิภาพอย่างแน่นอน จึงได้ทรงให้ความสำคัญของสายอากาศ รวมทั้งอุปกรณ์ส่วนควบคือ สายนำสัญญาณ (Transmission Line) เป็นอย่างมาก ได้ทรงทดลองสายอากาศแบบต่างๆ ในลักษณะภูมิประเทศที่แตกต่างกัน ทรงสังเกตการสะท้อนกลับของคลื่นวิทยุ (Reflected Wave) โดยทรงใช้เครื่อง RF Wattmeter และผลเสียหายที่จะเกิดขึ้น อาจกล่าวได้ว่า วงการวิทยุคมนาคมเมืองไทยในสมัยนั้น ยังไม่มีผู้ใดได้ให้ความสนใจศึกษาค้นคว้าในเรื่องนี้เป็นพิเศษแต่อย่างใด

สายอากาศติดรถยนต์แบบพื้นฐานได้แก่ สายอากาศแบบมาร์โคนีซึ่งตามทฤษฎี จะเป็นสายอากาศที่มีความยาว ๑/๔ ของความยาวคลื่น ติดตั้งไว้ในแนวดิ่ง โดยอาศัย Ground Plane คือ โลหะของตัวถังรถยนต์ เช่น หลังคา หรือ กระโปรงท้ายรถ ตรงจุดที่ติดตั้งสายอากาศ เป็นส่วนช่วยเพิ่มความยาวของสายอากาศขึ้นอีกเท่าหนึ่งเป็น ๑/๒ ของความยาวคลื่น อย่างไรก็ตาม ในทางปฏิบัติแล้ว สายอากาศที่นำมาติดตั้งจะมีความยาวแตกต่างจาก ๑/๔ ของความยาว คลื่นไปเล็กน้อย

การติดตั้งสายอากาศแบบนี้ที่รถยนต์พระที่นั่ง พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจะทรงตัดลวดตัวนำไฟฟ้าเพื่อทำเป็นสายอากาศมีความยาวที่แตกต่างจาก ๑/๔ ความยาวคลื่นขนาดต่างๆ ทรงใช้ลูกปัดพลาสติกสีต่างๆ สวมไว้ที่ปลายสายอากาศเหล่านั้น แล้วทรงนำเอาสายอากาศเหล่านี้มาทดลองเลื่อนหาจุดที่ตั้งที่เหมาะสม มีการสะท้อนกลับของคลื่นวิทยุน้อยที่สุด จนเป็นที่พอพระราชหฤทัยแล้ว จึงจะทำการติดตั้งจริง

นอกจากสายอากาศดังกล่าว พระองค์ได้ทรงนำเอาสายอากาศแบบติดตั้งประจำที่แบบสะแต็กโฟลเด็ดไดโปล (Stacked Folded Dipole) ซึ่งยูซอมได้ให้ความช่วยเหลือแก่กรมตำรวจเป็นจำนวนมาก และเก็บรักษาไว้ในคลังพัสดุของกองการสื่อสารตำรวจ และผมได้ทูลเกล้าฯ ให้ทรงทดลองใช้งาน สายอากาศแบบนี้มีประสิทธิภาพในการแผ่กระจายคลื่นวิทยุ และในการรับสัญญาณ ที่เรียกว่า “แอนเท็นน่า เกน (Antenna Gain)” สูงกว่าสายอากาศแบบมาร์โคนีดังกล่าวข้างต้น สายอากาศแบบนี้ ยูซอมได้สั่งซื้อมาช่วยเหลือแก่กรมตำรวจเป็นล็อตใหญ่ เมื่อมีความจำเป็นต้องนำออกไปติดตั้งใช้งาน ที่ปรึกษาอเมริกันประจำกองการสื่อสารตำรวจจะนำสายอากาศนี้ไปติดตั้งทันทีโดยมิได้ตรวจสอบหาประสิทธิภาพที่แท้จริงของสายอากาศนี้ เมื่อติดตั้งแล้ว สามารถติดต่อสื่อสารกับคู่สถานีได้ก็เป็นอันว่าหมดหน้าที่

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ทรงพิถีพิถันในเรื่องนี้มาก ได้ทรงศึกษาเอกสารคำแนะนำทางวิชาการในการติดตั้งที่บริษัทผู้ผลิตได้แนบมาในกล่องบรรจุตัวสายอากาศ เอกสารนี้จะระบุระยะห่างระหว่างตัวสายอากาศ (Antenna Element) ซึ่งมีลักษณะเป็น Folded Dipole มีจำนวนไม่น้อยกว่า ๔ ชิ้นต่อหนึ่งชุดสายอากาศว่า หากจะนำสายอากาศนี้ไปใช้งานในช่องสัญญาณวิทยุความถี่ใด จะต้องปรับระยะห่างระหว่างตัวสายอากาศเท่าใด สายอากาศนั้นจึงจะมีประสิทธิภาพสูงสุด

ดังนั้น ก่อนที่จะทรงติดตั้ง พระองค์จึงต้องทำการปรับระยะห่างดังกล่าวให้เป็นไปตามเอกสารคู่มือก่อนทุกครั้ง แล้วทรงตรวจสอบกำลังคลื่นวิทยุที่ส่งออก และสะท้อนกลับ ที่เรียกว่า “อัตราส่วนการสะท้อนกลับของคลื่นวิทยุ (Standing Wave Ratio)” หรือ “VSWR” โดยใช้เครื่อง RF Power Meter ควบคู่กันไป บางครั้ง การปรับที่ได้ทรงใช้ระยะห่างระหว่างตัวสายอากาศที่บริษัทผู้ผลิตได้ระบุไว้ในเอกสารก็ไม่บังเกิดผลเป็นที่พอพระราชหฤทัยนัก เนื่องจาก ค่า VSWR ที่ทรงวัดได้ยังสูงเกินไป (ค่า VSWR ซึ่งเป็นที่ยอมรับเป็นมาตรฐานในวงการช่างวิทยุจะต้องมีค่าไม่เกิน ๑.๕ : ๑) พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ทรงใช้ความเพียรปรับสายอากาศนั้นครั้งแล้วครั้งเล่า จนกระทั่ง ได้ค่า VSWR ต่ำถึง ๑.๑๕ : ๑ ซึ่งต่ำกว่าค่า VSWR มาตรฐานมาก

เมื่อได้ทรงปรับสายอากาศจนกระทั่งได้ค่า VSWR เป็นที่พอพระราชหฤทัยแล้ว ได้ทรงติดตั้งสายอากาศนั้นไว้ที่มุมหนึ่งของดาดฟ้าพระตำหนักจิตรลดารโหฐานเพื่อทำการทดสอบคุณลักษณะในการแผ่กระจายคลื่นวิทยุ (Antenna Radiation Pattern)

วิธีการทดสอบคุณลักษณะของสายอากาศดังกล่าว ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ผมนำเครื่องตรวจความแรงของสัญญาณ (Field Strength Meter) เดินทางโดยรถยนต์ไปตามจุดต่างๆ ในรัศมี ๑ กิโลเมตรจากพระตำหนักฯ แล้วทำการวัดความแรงของสัญญาณวิทยุที่รับได้เมื่อได้ทรงใช้สายอากาศนั้นในการส่ง

ค่าความแรงของสัญญาณวิทยุที่ผมรับได้ และถวายรายงานให้ทรงทราบเป็นระยะๆ นั้น เมื่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ทรงนำมาพล็อตเป็นกราฟแล้ว มักจะมีรูปลักษณะคล้ายกับปีกผีเสื้อ ไม่ตรงกับเอกสารประกอบสายอากาศซี่งมีลักษณะเป็นรูปวงกลม และได้พระราชทานมาให้ผมพิจารณาหาสาเหตุในโอกาสต่อมา ผลของการทดลองในลักษณะนี้จึงเป็นการพัฒนาปัญญาในเรื่องการแผ่กระจายพลังงานคลื่นวิทยุของสายอากาศ และผลกระทบจากสิ่งแวดล้อมได้เป็นอย่างดี

การทดสอบคุณลักษณะการแผ่กระจายคลื่นของสายอากาศด้วยวิธีการดังกล่าว สามารถกระทำได้ในสมัยเมื่อ ๓๐ ปีที่แล้ว โดยใช้ระยะเวลาไม่นานนัก หากเป็นยุคสมัยนี้ คงจะต้องใช้เวลากันหลายวันทีเดียว

เท่าที่ได้กล่าวมานี้เป็นเพียงจุดเริ่มต้นในการศึกษาค้นคว้าเรื่องสายอากาศ และคุณลักษณะในการแผ่กระจายคลื่นวิทยุของสายอากาศ ซึ่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ทรงจัดลำดับความสำคัญไว้เป็นอันดับหนึ่งของการสื่อสารทางวิทยุ

ต่อจากนั้น พระองค์ได้ทรงทำการศึกษาค้นคว้าเรื่องสายอากาศอย่างจริงจัง และต่อเนื่อง นอกจากผมแล้ว ยังได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ผู้ที่ทรงคุณวุฒิอีกหลายท่าน อาทิ เจ้ากรมสื่อสารทหาร เจ้ากรมสื่อสารทหารเรือ เจ้ากรมสื่อสารทหารอากาศ เจ้ากรมการทหารสื่อสารดร. สุธี อักษรกิตติ์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์คณะวิศวกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า พระนครเหนือ เป็นต้น เข้าเฝ้าฯ เพื่อกราบบังคมทูลหลักวิชาเกี่ยวกับการสื่อสาร โดยเฉพาะเรื่องสายอากาศ สำหรับ ดร.สุธีฯ นั้น ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สนองพระราชดำริต่างๆ ซึ่งได้พระราชทานไปมากถึง ๒๑ หัวข้อ ไปทำการค้นคว้าพัฒนาสายอากาศแบบต่างๆ ที่มีประสิทธิภาพในการแผ่กระจายคลื่น และรับสัญญาณสูงมากเป็นพิเศษ ผลงานการค้นคว้าของ ดร.สุธีฯ ทำให้เกิดสายอากาศแบบใหม่ขึ้นมา มีรัศมีทำการไกลมากเป็นพิเศษ สามารถนำมาใช้ประโยชน์ในระบบถ่ายทอดสัญญาณวิทยุ หรือ ระบบรีพีทเตอร์ได้เป็นอย่างดี พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ทรงทดลองทำการติดต่อสื่อสารทางวิทยุย่านความถี่สูงมาก (VHF) ระหว่างพระตำหนักภูพิงคราชนิเวศน์ จังหวัดเชียงใหม่ กับ กรุงเทพมหานคร ผ่านระบบรีพีทเตอร์ที่ใช้สายอากาศที่ ดร.สุธีฯ ได้ทำการค้นคว้า ปรากฏว่า สามารถติดต่อกันได้อย่างชัดเจนเป็นที่พอพระราชหฤทัยเป็นอย่างยิ่ง จึงได้ทรงพระกรุณาพระราชทานนามของสายอากาศที่เป็นผลงานการค้นคว้าของ ดร.สุธีฯ ซึ่งมีอยู่ ๔ แบบด้วยกันว่า “สายอากาศ “สุธี ๑, สุธี ๒, สุธี ๓ และ สุธี ๔“ นอกจากนี้ ยังได้พระราชทานพระบรมราชานุญาตให้ส่วนราชการ และรัฐวิสาหกิจต่างๆ เช่น กองการสื่อสารตำรวจ การไฟฟ้าฝ่ายผลิต ฯลฯ นำเอาแบบของสายอากาศเหล่านี้ไปสร้างเพื่อใช้ประโยชน์ในการติดต่อสื่อสารทางวิทยุภายในแต่ละหน่วยงานด้วย

นอกจากสายอากาศแล้ว พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ทรงให้ความสำคัญแก่สายนำสัญญาณ (Transmission Line) ซึ่งเป็นอุปกรณ์วิทยุเชื่อมต่อระหว่างเครื่องวิทยุ และสายอากาศ และได้ทรงมีพระราชดำริว่า อุปกรณ์ส่วนนี้มีส่วนที่ทำให้พลังงานคลื่นวิทยุที่จะแผ่กระจายออกจากสายอากาศ และพลังงานสัญญาณไฟฟ้ากระแสสลับความถี่วิทยุที่สายอากาศได้แปลงจากพลังงานคลื่นวิทยุที่รับมาได้ถูกบั่นทอนลงไปได้มาก หากนำเอาสายนำสัญญาณที่มีคุณภาพไม่ดี หรือ มีความยาวเกินควรมาใช้งาน ซึ่งจะเป็นเหตุให้การติดต่อสื่อสารทางวิทยุด้อยประสิทธิภาพไปด้วย

ผม และคณะเจ้าหน้าที่สื่อสารตำรวจ ได้ติดตั้งเสาอากาศสูง (ถ้าจำไม่ผิด สูงประมาณ ๑๐๐ เมตร) ติดตั้งสายอากาศแบบต่างๆ ที่จำเป็นต้องทรงใช้งานไว้ในบริเวณที่ไม่ห่างไกลจากตัวพระตำหนักจิตรลดารโหฐานนัก เพื่อความกระจ่างชัดในเรื่องการสูญเสียกำลังภายในสายนำสัญญาณ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจึงได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้มีการทดลองขึ้นโดยการติดตั้งเครื่อง RF Power Meter ไว้ระหว่างเครื่องส่งวิทยุกำลังส่งสูงกับหัวต่อสายนำสัญญาณ จำนวน ๑ ตัว และให้ช่างสื่อสารตำรวจนำเอาเครื่อง RF Power Meter อีก ๑ ตัวไปติดตั้งระหว่างปลายสายนำสัญญาณกับสายอากาศอีก ๑ ตัว แล้วทดลองทำการส่ง และวัดเปรียบเทียบกำลังส่งของคลื่นวิทยุระหว่างจุดทั้งสองเพื่อประเมินผล

ผลการทดลองได้ปรากฏออกมาเป็นที่แน่ชัดตามที่พระองค์ได้ทรงมีกระแสพระราชดำริไว้ทุกประเด็น สรุปได้ว่า เครื่องส่งวิทยุที่มีกำลังส่งสูงมากเพียงใด หากใช้สายนำสัญญาณที่ยาวเกินไป จะมีประสิทธิภาพในการติดต่อสื่อสารไม่ดีไปกว่าการนำเอาเครื่องวิทยุมือถือที่มีกำลังส่งต่ำๆ มีสายอากาศในตัวติดตัวขึ้นไปทำการติดต่อบนดาดฟ้าของอาคารสูงๆ

สถานีวิทยุสื่อสารของหน่วยราชการในต่างจังหวัดโดยเฉพาะของกรมตำรวจ (สถานีตำรวจภูธร) และของกรมการปกครอง (ที่ทำการอำเภอ) ซึ่งตั้งอยู่ใกล้เคียงกัน มักนิยมแข่งขันกันในเรื่องความสูงของเสาอากาศ โดยมีความเข้าใจผิดว่า สถานีวิทยุที่ใช้เสาอากาศสูงๆ ย่อมสามารถติดต่อได้ไกลกว่า ชัดเจนกว่าสถานีวิทยุที่ใช้เสาอากาศซึ่งต่ำกว่า ในการเสด็จพระราชดำเนินไปปฏิบัติพระราชภารกิจในต่างจังหวัด เมื่อได้ทรงสังเกตเห็นการใช้สายนำสัญญาณที่ยาวเกินไป เนื่องจากได้ติดตั้งเสาอากาศที่มีความสูงมาก และเสาอากาศนั้นอยู่ห่างจากตัวอาคารสถานีวิทยุมากเกินควร มีอยู่บ่อยครั้งที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ทรงปลีกเวลาแวะเข้าไปในสถานีวิทยุนั้น และได้ทรงพระกรุณาพระราชทานคำแนะนำเรื่องการติดตั้งสายอากาศ และสายนำสัญญาณที่ถูกต้องตามหลักวิชาให้ อย่างไม่ถือพระองค์ และเบื่อหน่ายเลยแม้แต่น้อย

การทดลองปรับ (Alignment) เครื่องรับ-ส่งวิทยุเป็นสิ่งที่จำเป็น โดยเฉพาะเมื่อมีการเปลี่ยนความถี่ใช้งาน ซึ่งใช้วิธีการเปลี่ยนแร่บังคับความถี่สำหรับเครื่องวิทยุในสมัยนั้น เนื่องจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงสนพระทัยในเรื่องการบริหารความถี่วิทยุ ซึ่งเป็นเทคนิคในการนำคลื่นความถี่วิทยุซึ่งเป็นทรัพยากรธรรมชาติมาใช้งานให้บังเกิดประโยชน์มากที่สุด และเป็นไปอย่างประหยัด จึงได้ทรงใช้ความเพียรอดทนหมั่นตรวจสอบเฝ้าฟังการใช้งานของคลื่นวิทยุในย่านความถี่ต่างๆ รวมทั้งปัญหาการรบกวนในแต่ละช่องสัญญาณความถี่วิทยุอยู่เป็นประจำ เมื่อมี การปรับภาคเครื่องรับวิทยุเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงความถี่แต่ละครั้ง จะทรงปรับเครื่องด้วยความประณีตจนกระทั่งเครื่องรับวิทยุนั้นมีความไวในการรับสัญญาณ (Receiver Sensitivity) สูงที่สุดเท่าที่จะทรงกระทำได้ ในบางครั้ง ทรงสามารถปรับได้สูงกว่า Technical Specifications ของเครื่องที่ได้ระบุไว้ในหนังสือคู่มือการใช้งานเสียอีก จึงเป็นที่กล่าวขานยกย่องกันในวงการวิทยุเมืองไทยว่า เครื่องวิทยุที่ได้ทรงปรับแต่งนั้นเป็น Royal Standard สำหรับเครื่องส่งวิทยุ ก็ทรงสนพระทัยที่จะปรับให้มีกำลังส่งสูงกว่า Specifications ของเครื่อง ที่ระบุไว้ในหนังสือคู่มือ มีอยู่ครั้งหนึ่ง ที่ได้ทรงพยายามปรับเครื่องส่งวิทยุที่มีกำลังส่งตามที่ได้ระบุไว้ในหนังสือคู่มือ ๒๐ วัตต์ ให้มากขึ้น ตามที่ได้รับสั่งแจ้งผลให้ผมทราบเป็นระยะๆ ทางวิทยุว่า ขณะนี้ ๒๑ วัตต์ ….๒๒ วัตต์ …..๒๓ วัตต์ ครั้งสุดท้าย ได้รับสั่งแจ้งมาว่า …เครื่องลาออกเสียแล้ว (ทราบภายหลังว่า Final RF Power Amplifier Transistor ทนไม่ไหว จึงชำรุด)

ในด้านการตรวจซ่อมเครื่องรับ และเครื่องส่งวิทยุที่ทรงใช้งานอยู่นั้น เป็นกิจกรรมที่ทรงสนพระทัยไม่น้อยเช่นกัน เมื่อมีการชำรุดขัดข้องเกิดขึ้น พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจะทรงตรวจ และซ่อมเครื่องวิทยุนั้นด้วยพระองค์เอง ทรงเปิดเครื่อง ตรวจวัด ทรงเปลี่ยนอุปกรณ์ชิ้นส่วนที่ชำรุด และทรงบัดกรีด้วยพระองค์เอง โดยไม่ต้องเดือดร้อนถึงผม ช่างวิทยุของกองการสื่อสารตำรวจ หรือ ช่างวิทยุของคุณสุจินต์ เบญจรงคกุล

เครื่องรับ-ส่งวิทยุที่ได้ทรงใช้ในการซ้อมพระหัตถ์ (ซ้อมมือ) และจำเป็นต้องเปิดเครื่องออกมาทำการตรวจวัดแรงดันไฟฟ้าตรงจุดต่างๆ ที่เชื่อมต่อกับไดโอด และทรานซิสเตอร์ ซึ่งมีหน้าที่ต่างๆ ของภาคเครื่องรับ และภาคเครื่องส่ง (การเปิดเครื่องออกมาปฏิบัติการ รับสั่งว่า “ควักไส้” หรือ “ชำแหละ”) เพื่อเพิ่มพูนทักษะในด้านช่างวิทยุ ได้แก่ เครื่องวิทยุ FM-5 เครื่องวิทยุติดรถยนต์ Motorola ที่เรียกว่า เครื่อง Motrac ซึ่งผม และคุณสุจินต์ เบญจรงคกุล ได้ทูลเกล้าฯ ถวายไว้

ในการซ้อมพระหัตถ์ตรวจซ่อมปรับเครื่องแต่ละครั้ง ผมจำเป็นต้องมีเครื่องวิทยุ มีหนังสือคู่มือ และเครื่องมือตรวจวัดแบบเดียวกับที่พระองค์ทรงตรวจปรับอยู่ จึงจะสามารถสื่อความหมายระหว่างกันทางวิทยุได้ด้วยดี โดยปกติ จะทรงซ้อมพระหัตถ์ในยามวิกาลหลังเที่ยงคืนไปแล้ว โดยใช้ช่องสัญญาณช่องพิเศษที่จะไม่รบกวนการทำงานของข่ายการสื่อสารหลักของกรมตำรวจ ที่เรียกว่า “ข่ายปทุมวัน”

ที่ฝาปิดเครื่องรับ-ส่งวิทยุ Motorola หรือ เครื่อง Motrac ดังกล่าว ด้านในเมื่อเปิดออกแล้ว จะเห็นตัวอักษรภาษาอังกฤษซึ่งแปลเป็นไทยมีใจความว่า “ผู้ที่จะทำการตรวจซ่อมปรับเครื่องวิทยุนี้ จะต้องเป็นช่างวิทยุที่มีวุฒิภาวะผ่านการรับรองแล้ว (Qualified Technician)เท่านั้น” ได้รับสั่งเล่นๆ กับผมว่า “เราไม่ใช่ Qualified Technician บริษัท (ทรงหมายถึงบริษัทMotorola หรือ คุณสุจินต์ฯ ซึ่งเป็นผู้แทนจำหน่าย) จะต่อว่าเราหรือเปล่า”

ทุกครั้ง ที่เสด็จฯ ไปทรงปฏิบัติพระราชภารกิจโดยพระราชยานพาหนะไม่ว่าจะเป็นเครื่องบิน เรือ รถยนต์ หรือ รถไฟ ทรงโปรดที่จะทดลองติดต่อสื่อสารกับสถานีวิทยุของหน่วยที่ปฏิบัติหน้าที่ถวายความอารักขาตามเส้นทางที่เสด็จฯ ผ่าน หากทรงพบว่าในจุดใด เส้นทางใด การติดต่อสื่อสารไม่มีประสิทธิภาพดีเพียงพอ จะรับสั่งพระราชทานคำแนะนำให้ทันที หรือ เมื่อเสร็จสิ้นพระราชภารกิจ จะรับสั่งแจ้งข้อบกพร่องต่างๆ ให้ผม หรือ หัวหน้าหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อทราบ และนำไปพิจารณาแก้ไขต่อไป ดังนั้นยานพาหนะพระที่นั่งทุกชนิดจึงมีสายอากาศที่ได้ถูกปรับ และทรงทดลองแล้วเป็นที่พอพระราชหฤทัย ติดตั้งไว้เสมอ

ในการเสด็จพระราชดำเนินเยี่ยมราษฎรชาวเขาซึ่งพำนักอาศัยอยู่บนดอย และในสมัยก่อนยังไม่สามารถเดินทางไปถึงด้วยยานพาหนะใดๆ จำเป็นต้องเสด็จฯ ด้วยพระบาทไปตามสันเขาทุรกันดารเป็นระยะทางไม่น้อยกว่า ๒ กิโลเมตร บางแห่งต้องเสด็จจากเนินสูงลงไปทอดพระเนตรผลการเพาะพืชเกษตรซึ่งเป็นที่ลาดชันประมาณ ๔๕ องศา เมื่อทอดพระเนตรแล้วก็เสด็จขึ้น ตอนนี้แหละที่สุดแสนสาหัส ชุดฉลองพระองค์ และเครื่องแบบของข้าราชการตำรวจทหารที่ตามเสด็จซึ่งเป็นชุดสนามที่เรียกว่า ชุดฟาติก สวมทับด้วยเสื้อฟิลด์แจ๊คเก้ตเพื่อป้องกันความหนาวบนดอย ชุ่มฉ่ำด้วยพระเสโท (เหงื่อ) เครื่องสัมภาระ และเครื่องวิทยุที่นำติดตัวไปดูจะมีน้ำหนักมากผิดปกติ ผู้ติดตามเสด็จทุกคนเริ่มจะรู้จักความหมายของคำว่า “ไพร่ฟ้าหน้าเขียว” กันมากขึ้นทั่วถ้วนหน้า เพื่อเป็นการผ่อนคลายความเครียด จะทรงทดลองวิทยุกับผู้ที่ตามเสด็จควบคู่ไปด้วย บางครั้ง เสียงของแต่ละคู่สถานีที่สอดแทรกเข้ามากับคลื่นวิทยุจึงเป็นเสียงหอบของทั้งสองฝ่ายอยู่เสมอ ทำให้ทรงพระเกษมสำราญ ช่วยให้หายเหนื่อยไปได้ไม่น้อย

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพอพระราชหฤทัยที่จะทำการทดลองติดต่อสื่อสารทางวิทยุในลักษณะแข่งขันกันในลักษณะภูมิประเทศที่ค่อนข้างจะติดต่อได้ยาก ซึ่งเป็นธรรมดาที่จะต้องมีการแพ้และชนะ เมื่อฝ่ายใดแพ้ ก็จะต้องไปปรับปรุงแก้ไขระบบของตนให้ดีขึ้นเพื่อเข้านำมาแข่งในคืนต่อมา

ความละเอียดเที่ยงตรงของความถี่ที่ใช้ในการติดต่อสื่อสารทางวิทยุเป็นเรื่องที่ทรงพิถีพิถันมาก เพราะทรงตระหนักดีว่า ความถี่ที่คลาดเคลื่อนก็ดี อัตราการผสมคลื่น (Modulation) ที่เกินพิกัดก็ดีจะสร้างปัญหาการรบกวนระหว่างสถานีเป็นอย่างมาก เช่น เรื่อง Intermodulation เป็นต้น เครื่องมือตรวจวัดที่มีอยู่จึงต้องเป็นเครื่องที่มีความละเอียดเที่ยงตรงมากที่สุด มีอยู่ครั้งหนึ่ง ได้มีการแข่งขันความละเอียดเที่ยงตรงของเครื่องตรวจวัดความถี่วิทยุที่พระองค์ท่านทรงใช้งาน กับเครื่องที่ผมใช้งานอยู่ ผลของการแข่งขันเป็นอย่างไรนั้น คงจะไม่ต้องบอกก็ได้ เพราะทราบว่า ผมต้องถวายเครื่องจีน (ถวายเลี้ยงโต๊ะจีน) ในวันต่อมา จึงเป็นคำตอบได้เป็นอย่างดี

เมื่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ทรงมีความรู้ความเข้าใจ ประสบความสำเร็จในวิชาการสื่อสารโทรคมนาคมทั้งในด้านปฏิบัติการ และด้านวิศวกรรมคืองานด้านช่างแล้ว พระองค์ยังได้ทรงเปี่ยมด้วยองค์ธรรมสำคัญประจำพระองค์ที่เรียกว่า “พรหมวิหาร ๔” ได้แก่ พระเมตตา ได้ทรงพระกรุณา ขวนขวายหาวิธีการมาแนะนำ สั่งสอน ถ่ายทอดความรู้ ผลงาน ผลการทดลองค้นคว้าต่างๆ ให้แก่ผู้ที่อยู่ในวงการได้มีความรู้ความเข้าใจในทางที่ถูกต้อง อย่างไม่ทรงถือพระองค์ ไม่ทรงเบื่อหน่ายที่จะพระราชทานคำสอน คำแนะนำ แก่ข้าราชบริพารที่ปฏิบัติหน้าที่ถวายงานใกล้ชิด แม้แต่คณะแพทย์ประจำพระองค์ ก็ได้ทรงอบรมสั่งสอนวิธีการใช้เครื่องรับ-ส่งวิทยุในการติดต่อสื่อสาร ให้รู้จักเทคนิคการทำงานของเครื่องอุปกรณ์ที่จำเป็นต้องใช้ร่วมด้วย เช่น เสา และ สายอากาศ เป็นต้น อย่างถูกต้อง

มิใช่แต่เพียงนั้น พระองค์ยังทรงพระกรุณาแนะนำ อบรมสั่งสอนวิชาการวิทยุสื่อสารให้แก่ ข้าราชการ และพนักงานรัฐวิสาหกิจที่ปฏิบัติหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งประชาชน ที่อาสาสมัครช่วยเหลือสังคมโดยใช้เครื่องวิทยุเป็นเครื่องมือสำคัญในการปฏิบัติหน้าที่รายงานข่าว หรือ “นักวิทยุอาสาสมัคร” ไม่ว่าจะเป็นเวลากลางวัน หรือ กลางคืน ทั้งโดยรับสั่งโดยตรง และรับสั่งผ่านข่ายวิทยุโดยทรงใช้ภาษาพูดที่เข้าใจได้ง่ายๆ

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ทรงใช้หลักธรรมที่เกื้อหนุนให้พระองค์ประสบความสำเร็จ คือ “อิทธิบาท ๔” โดยได้ทรงโน้มน้าวเน้นกระตุ้นให้บุคคลเหล่านี้บังเกิดฉันทะ คือความยินดีพอใจในความสำคัญของการติดต่อสื่อสารทางวิทยุ ซึ่งสามารถนำเอามาใช้ให้เป็นประโยชน์ในการช่วยเหลือแก้ไขปัญหาสำคัญต่างๆของสังคมและประเทศชาติได้อย่างไร ให้บังเกิดวิริยะ คือความเพียรพยายาม จิตตะ คือความเอาใจใส่สนใน และวิมังสา คือการศึกษาทดลองค้นคว้าทำความเข้าใจในคุณลักษณะสำคัญของเครื่องวิทยุ และอุปกรณ์ประกอบ โดยเฉพาะเรื่องสายอากาศ และ เทคนิคการแผ่กระจายคลื่นวิทยุ ซึ่งจะสามารถช่วยเพิ่มพูนประสิทธิภาพในการติดต่อสื่อสารให้มากยิ่งขึ้นโดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายสูง เมื่อผู้ที่ได้รับพระราชทานพระกรุณา และรู้สึกซาบซึ้งในเรื่องดังกล่าว จนสามารถประสบความสำเร็จสามารถพัฒนาปัญญาของตนในวิชาแขนงนี้ให้สูงขึ้นจากเดิมได้ในระดับหนึ่ง

เท่าที่ได้กล่าวมาแล้วข้างต้น ย่อมเป็นการพิสูจน์ยืนยันกันได้อย่างชัดแจ้งว่าพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ทรงไว้ซึ่งคุณลักษณะของความเป็นนายช่างที่ยิ่งใหญ่ ทั้งยังทรงไว้ซึ่งลักษณะของความเป็นครูช่างที่สมบูรณ์แบบครบถ้วนทุกองค์ธรรม มิได้มีขาดตกบกพร่องเลยแม้แต่น้อยนิด จึงเป็นการสมควรอย่างยิ่งที่ผู้ที่เกี่ยวข้องในวงการวิทยุสื่อสารของเมืองไทยไม่ว่าจะเป็นข้าราชการ นักธุรกิจ พนักงานวิทยุสื่อสาร ช่าง และวิศวกรด้านสื่อสารโทรคมนาคม จะจดจำไว้เป็นแบบอย่าง เจริญรอยตามพระยุคลบาทให้ได้มากที่สุด

ที่มา..พลตำรวจตรี สุชาติ เผือกสกนธ์

 


พระราชดำรัสองค์พ่อหลวงเรื่องการใช้วิทยุสื่อสาร


   จากเหตุการณ์ผู้ประสบอุทกภัย ทางภาคเหนือที่ผ่านมา เมื่อวันที่ 25 พ.ค. 49 เวลา 17.30 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ เสด็จลง ณ พระตำหนักน้อย วังไกลกังวล อ.หัวหิน จ.ประจวบคีรีขันธ์ พระราชทานพระบรมราชวโรกาสให้ พล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน ผู้บัญชาการทหารบก พล.ร.อ.สถิรพันธุ์ เกยานนท์ ผู้บัญชาการทหารเรือ และ พล.อ.อ.ชลิต พุกผาสุข ผู้บัญชาการทหารอากาศ เฝ้าทูลละอองธุลีพระบาทกราบบังคมทูลรายงานผลการปฏิบัติงาน ในการให้ความช่วยเหลือแก่ราษฎรผู้ประสบอุทกภัยในพื้นที่ จ.อุตรดิตถ์ สุโขทัย แพร่ ลำปาง และน่าน โดยได้ประสานงานกับหน่วยงานอื่นๆ ทั้งส่วนราชการและภาคเอกชนตามที่มีพระราชดำริให้ดำเนินการอย่างเร่งด่วน

พร้อมกับรับพระราชทานพระราชดำริเพิ่มเติม เพื่อดำเนินการบรรเทาความเดือดร้อนแก่ราษฎรผู้ประสบอุทกภัยดังกล่าว เนื่องจากทรงห่วงใยเกี่ยวกับสถานการณ์ฝนตกหนักในพื้นที่ภาคเหนือ ที่ส่งผลให้เกิดน้ำป่าไหลหลากเข้าท่วมบ้านเรือนราษฎรและเส้นทางคมนาคมในหลายพื้นที่ของ จ.อุตรดิตถ์ สุโขทัย แพร่ ลำปาง และน่าน ก่อให้เกิดการสูญเสียชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนเป็นจำนวนมาก รวมถึงทำให้ระบบโทรศัพท์และการสื่อสารขัดข้อง ที่เป็นสาเหตุให้ราษฎรผู้ประสบภัยไม่สามารถติดต่อขอความช่วยเหลือจากหน่วยราชการได้

ในการนี้จึงพระราชทานพระราชดำริให้กองทัพบก กองทัพเรือ และกองทัพอากาศ ร่วมกันพิจารณาเพื่อประสานงานและอำนวยการการแก้ไขในเรื่องปัญหาการสื่อสารที่ขัดข้อง และเพื่อให้สามารถเข้าไปช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยดังกล่าวโดยเร็วที่สุด โดยการใช้ระบบวิทยุสื่อสาร การเข้าไปในพื้นที่ที่ประสบอุทกภัย เพื่อติดตั้งสถานีวิทยุเคลื่อนที่สำหรับใช้เป็นแม่ข่ายเพื่อการติดต่อสื่อสาร รวมทั้งใช้วิธีเดินเท้า หรือใช้ยานพาหนะ หรือเฮลิคอปเตอร์ เข้าไปในพื้นที่ที่เกิดอุทกภัย ซึ่งเข้าถึงได้ยาก การดำเนินการทุกวิถีทางดังกล่าวเพื่อจะให้การช่วยเหลือราษฎรผู้ประสบภัยในเบื้องต้นเกิดขึ้นได้อย่างทันท่วงที เช่น การจัดหาเครื่องอุปโภค การช่วยเคลื่อนย้ายราษฎรที่ติดอยู่ในที่ต่างๆ โดยเฉพาะการเร่งให้ความช่วยเหลืออย่างต่อเนื่อง และทั่วถึงแก่ราษฎรที่ติดอยู่ในพื้นที่น้ำท่วมสูงที่การช่วยเหลือยังเข้าไปไม่ถึง อันเป็นการบรรเทาความเดือดร้อนอย่างเร่งด่วน โดยเร็วที่สุด

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มีพระราชดำรัสต่อผู้นำ 3 เหล่าทัพ ความตอนหนึ่งว่า " มันติดต่อไม่ได้ซิ เพราะว่าใช้มือถือ เอะอะมือถือ จะใช้มือถือในป่ามันใช้ไม่ได้ แม้ป่ามันจะราบลงมาก็ใช้ไม่ได้ ฉะนั้นก็รู้ว่าทางกองทัพทั้ง 3 มีเครื่องไม่ใช่มือถือ มีเครื่องสื่อสารที่จะใช้ได้ ต่อไปก็จะต้องใช้ แบบโบราณ แบบเก่าๆ เข้าไป ถ้าจะมีเกี่ยวข้องกับวิทยุสื่อโทรศัพท์ ก็จะต้องตั้ง เรียกว่าเป็นศูนย์ แต่ก็เอา เอาเล็กๆไปได้ ซึ่งทั้ง 3 เหล่ามีเรื่องการสื่อสาร คือ ต้องใช้สื่อสารของแต่ละหน่วยก็มีสื่อสาร

โดยเฉพาะอย่างกองทัพอากาศ ถ้าเอาเครื่องบินขึ้นไป ไปหมุนรอบนะ อย่างที่เคยทำ เอาเครื่องบินสื่อสารขึ้นไป ก็สามารถที่จะติดต่อได้ อันนี้ทำมาตั้งนานแล้วไม่ใช่ตั้งแต่มี ชาวบ้านก็ใช้มือถือ ใช้แบบ กองทัพอากาศใช้ ทัพเรือก็ใช้เหมือนกัน พวกที่อยู่เลื่อนไปได้ กองทัพบกก็มีรถสื่อสาร แต่ว่านึกถึง อย่างกองทัพอากาศช่วยได้มาก บินไปมี เอ่อ มีศูนย์ในเครื่องบิน ฉันเคยทำอย่างนั้น ตั้ง 20-30 ปีแล้ว เอาวิทยุอันเล็กๆ ไปติดต่อ ไม่ถึง 1 วันก็ติดต่อจากเครื่องบิน ผ่านโคราช ติดต่อเข้ากรุงเทพฯได้ 1 วันเท่านั้นเอง ใช้ได้แต่ว่าต่อไปยังมีอีก ต่อไปมีเหตุการณ์อย่างนี้ ทางภาคเหนือก็เคยเป็น เคยมี แถวหล่มสัก แล้วทางใต้ก็เคยมี นครศรีธรรมราช แต่ก็ไม่ได้ใช้ การสื่อสารทุกอย่าง สมัยใหม่ ที่มีประสิทธิภาพจะได้ช่วยเร็ว แต่ตอนแรกมันลำบาก เพระว่าฝนยังมี วันที่ 23 ฝนยังตกหนัก วันที่ 22 ฝนลง 200 มม. วันต่อไป 100 กว่า แต่วันที่ 24 ไม่มีแล้ว มีน้อย ที่พูดถึงอยากจะให้ติดต่อระบบการสื่อสาร ให้ใช้เครื่องมือที่มีแล้วก็ได้บอกกับพวกราชเลขาฯ ว่าให้ถ้าต้องการเงินที่มีอยู่ มันต้องใช้มาก อย่างเครื่องบินก็ต้องใช้ ทุกอย่าง รถยนต์ เอ่อรถก็ต้องใช้ ใช้เชื้อเพลิง ก็ใช้ไปให้สบายใจ. 
ด้วยเกล้าด้วยกระหม่อมขอเดชะ พระบารมีปกเกล้าปกกระหม่อม 


พระราชดำรัสเกี่ยวกับการหาทิศทาง


     เมื่อปี พ.ศ.๒๕๓๖ ได้มีการจัดพิมพ์หนังสือพระราชนิพนธ์แปลของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจากเรื่อง “A MAN CALLED INTERPID” บทประพันธ์ของ WILLIAM STEVENSON ออกจำหน่ายทั่วไป โดยใช้ชื่อหนังสือนี้ว่า “นายอินทร์ผู้ปิดทองหลังพระ” ซึ่งเป็นที่ยอมรับกันในวงการหนังสือเมืองไทยว่า เป็นหนังสือที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของปี เนื่องจากมีสถิติจำนวนครั้งและจำนวนเล่มที่ได้จัดพิมพ์ขึ้นทั้งสิ้น ๔ ครั้ง รวม ๔๐,๐๐๐ เล่ม สามารถจัดจำหน่ายได้หมดเกลี้ยงไม่เหลือหลอในตลาดหนังสือเมืองไทยภายในเดือนเดียว ซึ่งนับว่าเป็นระยะเวลาที่สั้นที่สุดซึ่งไม่เคยปรากฏในประวัติการจัดพิมพ์จัดจำหน่ายในตลาดหนังสือเมืองไทยมาแต่ก่อน

ผมมีโชคที่ได้เป็นเจ้าของหนังสือเล่มนี้จำนวนหนึ่งซึ่งได้เก็บรักษาเป็นสมบัติส่วนตัวสำหรับการค้นคว้าอ้างอิงเพียง ๑ เล่ม ที่เหลือก็ได้แจกจ่ายมอบให้ลูกหลานญาติมิตรที่รักใคร่ชอบพอที่ค่อนข้างจะพิถีพิถัน หากท่านผู้ใดไม่มีจิตใจรัก สนใจการอ่านหนังสือ ผมจะไม่ยินดีมอบให้โดยขอบอกเหตุผลอย่างตรงไปตรงมาว่า “เพราะไม่ต้องการให้เพชรนี้กลับไปตกจมอยู่ในโคลนตม”

หนังสือเล่มนี้มีความหนามากกว่า ๖๐๐ หน้าใช้กระดาษพิมพ์อย่างดี จะสังเกตจากน้ำหนักของหนังสือเพียงเล่มเดียวเด็กๆ หรือผู้ชราก็คอนไม่ไหว แต่เป็นที่น่าแปลกใจว่ามีราคาการพิมพ์และการจัดจำหน่ายเพียงเล่มละ ๓๐๐ บาท หรือ ๒๕๕ บาท (ส่วนลด ๑๕ %) เมื่อซื้อเกินกว่า ๑๐๐ เล่ม จึงดูไม่สมดุลกับคุณค่าของหนังสือ หรือแม้แต่เพียงน้ำหนักของหนังสือ

ผมได้อ่านหนังสือเล่มนี้ไปแล้วเที่ยวหนึ่ง แต่ดูจะยังไม่จุใจ เพราะตั้งใจจะอ่านทบทวนอีกหลายเที่ยว เพื่อเก็บสาระสำคัญของบทประพันธ์ และคำแปลเรียบเรียงขององค์ผู้ทรงนิพนธ์ เพราะเชื่อว่า จะยังมีขุมทรัพย์อันประมาณค่าไม่ได้แฝงอยู่เป็นจำนวนไม่น้อย หากผู้อ่านได้ค้นพบแล้วนำมาประยุกต์ใช้งานให้ถูกกาลเทศะย่อมจะบังเกิดคุณาประโยชน์แก่ผู้นั้นโดยตรงอย่างแน่นอน

ในหนังสือ “นายอินทร์ผู้ปิดทองหลังพระ” นอกจากจะเน้นสาระสำคัญเกี่ยวกับ คณะบุคคลจำนวนหนึ่งทั้งหญิงชายหลายชาติ ที่ยอมอาสาต่อสู้อย่างนอกแบบแหวกแนวฝ่าอันตรายในระหว่าง สงครามโลกครั้งที่ ๒ โดยไม่ได้รับการคุ้มครองและสิทธิ์ใดๆ ที่พึงได้จากการสวมเครื่องแบบทหารประจำการ ต้องรับผิดชอบต่อชีวิตของคนนับไม่ถ้วน และบุคคลเหล่านี้จำนวนไม่น้อยต้องถูกฝังไว้ในหลุมศพที่ไม่จารึกนามหรือแม้ที่ใดก็ไม่ทราบ ผู้ที่รอดตายส่วนใหญ่ก็กลับมาทำอาชีพธรรมดาโดยไม่ได้รับเกียรติหรือรางวัลใดๆ ในลักษณะผู้ที่ปิดทองหลังพระแล้ว ยังได้กล่าวถึงเรื่องราวที่เกี่ยวกับยุทธนาวีครั้งสำคัญระหว่างประเทศเยอรมนีกับอังกฤษในสงครามครั้งนี้ คือ ความพยายามที่จะตามล่าสังหารเรือบิสมาร์ค ซึ่งเป็นเรือรบที่มีพลานุภาพมากที่สุดของเยอรมนี ในยุคนั้น เมื่อประมาณเดือนพฤษภาคม ค.ศ.๑๙๔๑เรือ บิสมาร์ค เป็นเรือรบที่มีอาวุธปืนใหญ่ขนาด ๑๕ นิ้วเป็นจำนวนมาก ลำตัวเรือหุ้มไว้ด้วยเกราะหนาถึง ๑๖ นิ้ว จึงเป็นการยากยิ่งที่จะจมเรือลำนี้ได้ง่ายๆ เรือ บิสมาร์ค ได้สร้างความเจ็บปวดรวดร้าวให้แก่กองทัพเรืออังกฤษ ประชาชนชาวอังกฤษ และความตกตะลึงพรึงเพริดแก่ชาวโลกเป็นอย่างยิ่ง เมื่อเรือยักษ์ใหญ่ลำนี้ได้หลุดออกมาจากทะเลบอลติก และเริ่มอาละวาดหนักโดยสามารถทำลายและจมเรือรบที่มีชื่อเสียงโด่งดังที่สุดในโลก คือ เรือฮู้ด อันทรงอานุภาพของอังกฤษพร้อมกับนายทหารเรือ ๙๐ คน และลูกเรือ ๑,๔๐๐ คน ใกล้แพน้ำแข็งทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของไอสแลนด์ สร้างความหนักใจให้แก่ เซอร์วินสตัน เชอร์ชิลล์ ผู้นำและรัฐมนตรีกระทรวงทหารเรือของอังกฤษ กับนายแฟรงกลิน ดิลาโน รูสเวลท์ ผู้นำสหรัฐอเมริกาในขณะนั้นเป็นอย่างมาก ดังปรากฏเป็นข้อความที่น่าสนใจอยู่ในหนังสือ “นายอินทร์ผู้ปิดทองหลังพระ” (บทที่ ๒๘ หน้าที่ ๓๑๖) ซึ่งผมขออนุญาตคัดนำมาลงไว้เฉพาะส่วนดังนี้

“ เชอร์ชิลล์ ส่งข่าวไปว่า : “ระยะสุดสัปดาห์นี้ เหตุการณ์คงน่าเป็นห่วง” สำหรับเชอร์ชิลล์นั้น ระยะสุดสัปดาห์ที่น่าเป็นห่วงหนักใจที่สุดในประวัติศาสตร์ของราชนาวีเริ่มต้นเมื่อวันเสาร์เช้า ในบรรดาเรือรบที่กระจายออกไปดักสกัดศัตรูอย่างกว้างขวางนั้น ฮู้ด และพรินศ์ ออฟ เวลล์ เป็นเรือที่ได้พบและเข้าปะทะกับเรือ บิสมาร์ค เรือ ฮู้ด เริ่มยิงปืนใหญ่กลุ่มแรกเมื่อเวลา 03.52 น. บิสมาร์คยิงตอบทันทีทันใด เรือ ฮู้ด ก็ถูกล้อมด้วยน้ำทะเลที่พุ่งขึ้นเป็นลำเพราะแรงระเบิดของลูกปืนขนาดสิบห้านิ้ว การยิงของข้าศึกแม่นยำอย่างน่าพิศวง และแล้วกระสุนนัดหนึ่งก็ดิ่งตรงทะลุเกราะของเรือ ฮู้ด เข้าไปในห้องคลังกระสุน แรงระเบิดทำลายเรือเป็นเสี่ยงๆ ภายในสามนาทีก็ไม่มีอะไรเหลือ นอกจากเศษเล็กเศษน้อยและลูกเรือที่รอดชีวิตมาเพียงสามคน ส่วนเรือ พรินศ์ออฟ เวลล์ ก็ถูกยิงเสียหายหนักจนต้องถอยจากการต่อสู้เพื่อมิให้ถูกทำลายพินาศไป เรือบิสมาร์ค มิใช่ว่าไม่เสียหายเลย แต่ก็ยังสามารถปฏิบัติการต่อไปได้ ข่าวการปะทะทำให้ตกใจตื่นตะลึง จนทำให้ทั่วโลกตั้งแต่เบอร์ลินจนถึงวอชิงตันขอให้บอกข่าวซ้ำหลายครั้ง กล่าวกันว่า รูสเวลท์ ถึงกับอุทานออกมาว่า : “เรือ ฮู้ด จมจริงหรือ บริเทนจบเห่การเป็นเจ้าทะเลแล้ว”

เรือ บิสมาร์ค เที่ยวอาละวาดในมหาสมุทรได้ตามใจชอบ และเรือ พรินซ์ออยเกน ก็เช่นกัน ยิ่งกว่านั้นข่าวร้ายน่ามืดมนใจก็เข้ามาจากแนวรบทุกทิศานุทิศ เชอร์ชิลล์ ได้รับข่าวว่า “สถานการณ์สิ้นหวังแล้ว” จากผู้บัญชาการทหารคนหนึ่งในตะวันออกกลาง... ”

เมื่อปลายเดือนพฤษภาคม ค.ศ.๑๙๔๑ ความพยายามของฝ่ายอังกฤษที่จะล่าเรือบิสมาร์ค ดูใกล้จะสิ้นหวังทั้งที่กระทรวงการทหารเรืออังกฤษได้ระดมสรรพกำลังหน่วยเรือจากทั่วมหาสมุทรแอตแลนติกเพื่อประสานเป็นตาข่ายที่จะสกัดเรือ บิสมาร์ค ให้จนได้ ไม่ว่าเรือลำนั้นจะแล่นไปทางไหน แต่กองกำลังเหล่านี้ก็ไม่สามารถตรวจค้นพบร่องรอยของเรือ บิสมาร์ค เป็นเวลานานถึงสามสิบชั่วโมง

และแล้ว เรือ บิสมาร์ค ที่ทรงพลานุภาพของเยอรมนีซึ่งเป็นที่ประหวั่นพรั่นพรึงของกองทัพเรืออังกฤษก็ถึงจุดจบอย่างไม่น่าเชื่อ เมื่อเรือ บิสมาร์ค ได้ตกอยู่ในความประมาทส่งวิทยุรายงานข่าวกลับไปเยอรมนีเป็นเวลานานถึงสามสิบนาที ซึ่งนานเพียงพอที่ รูสเวลล์ จะสั่งให้สถานีหาทิศวิทยุ (RADIO DIRECTION FINDER) ของสหรัฐอเมริกาทุกแห่งดักฟังสัญญาณวิทยุ รวมทั้งหาจุดพิกัดของเรือ บิสมาร์ค ได้ว่า กำลังมุ่งหน้าเข้าไปหาที่ปลอดภัยในฝรั่งเศส นอกจากนี้ การสื่อสารทางวิทยุของฝ่ายเยอรมันที่ถูกดักรับฟังยังได้ยืนยันประกอบด้วยว่า ได้มีการสั่งการให้กำลังทางอากาศและทางทะเลของฝ่ายเยอรมันตามชายฝั่งฝรั่งเศสเตรียมการให้การช่วยเหลือสนับสนุนคุ้มกันเรือ บิสมาร์ค ด้วย

หลังจากการดักรับฟังวิทยุและค้นหาจุดพิกัดของเรือ บิสมาร์ค เพียง ๒๔ ชั่วโมง เครื่องบินจากเรือรบของอังกฤษลำหนึ่ง ซึ่งเป็นเครื่องบินแบบ สอร์ดฟิช (SWORD-FISH) จัดอยู่ในประเภทเครื่องบินบุโรทั่งถึงแม้ว่าจะอยู่ในยุคนั้นก็ตาม เพราะสร้างด้วยไม้หุ้มผ้า ที่นั่งของนักบินเปิดโล่ง มีสายลวดขึงระโยงระยางเหมือสายขิม มีความเร็วต่ำมาก มีตอร์ปิโดเป็นอาวุธสำคัญ และที่น่าทึ่งก็คือ เครื่องบินนี้มีเครื่องเรดาร์หาทิศทางอากาศรุ่นแรกที่ศัตรูยังไม่ล่วงรู้เลยติดตั้งไว้ด้วย และใช้เป็นเครื่องมือนำทางบินฝ่าทะลุเมฆดำทะมึนลงไปจนพบเรือ บิสมาร์ค และได้เข้าจู่โจมตีโดยฉับพลันเท่าที่ขีดความสามารถของตนจะอำนวยให้ ถึงแม้ว่า จะไม่ประสบความสำเร็จในขั้นแรก แต่ก็สามารถรายงานแจ้งจุดพิกัดที่แน่นอนของเรือ บิสมาร์ค ได้ การโจมตีทางอากาศจึงได้ดำเนินการต่อไปโดยฝูงบินอังกฤษ และแทบไม่น่าเชื่อเลยว่า ถึงแม้ว่า เครื่องบินที่อังกฤษใช้จู่โจมตีเรือบิสมาร์ค จะมีความเร็วต่ำจนพลปืนเรือ บิสมาร์ค ไม่คาดคิด แต่ก็สามารถปล่อยตอร์ปิโดลูกหนึ่งถูกเป้าหมายทำให้หางเสือยักษ์สองใบของเรือติดขัด เป็นเหตุให้ใบพัดและเครื่องประกอบหางเสือชำรุดเสียความเร็วในการเดินทางลงมาก และในที่สุดเรือ บิสมาร์ค ก็ถึงจุดจบในอีกสามชั่วโมงต่อมา เมื่อหมู่เรือพิฆาตที่สี่ของอังกฤษได้ติดตามพบเรือประจัญบานบิสมาร์ค ที่กำลังชำรุดทุพพลภาพจึงได้เข้ารุมล้อมกรอบ อาศัยความมืดของทะเลที่กำลังบ้าคลั่งเพราะแรงลมสลาตันเข้าไปให้ใกล้เรือบิสมาร์ค แล้วยิงตอร์ปิโดลูกแล้วลูกเล่า จนกระทั่งเมื่อเช้ามืดวันอังคารที่ ๒๗ พฤษภาคม เวลา ๐๘.๔๐ น. เรือ บิสมาร์ค ก็สิ้นฤทธิ์ คว่ำลงช้าๆ เพราะถูกเรือ ดอร์เช็ตเซอร์ ยิงประหาร มีลูกเรือรอดชีวิตเพียง ๑๐๗ คนในจำนวน ๒,๐๐๐ คนที่ประจำการอยู่ในเรือ บิสมาร์ค รวมเวลานานถึงแปดวันของการล่าสังหารจากทะเลบอลติกไปสู่แดนอาร์คติก ลงมาถึงอ่าว บิสเคย์

เหตุผลสำคัญที่ผมได้หยิบยกเรื่องยุทธนาวีที่ยิ่งใหญ่ในประวัติศาสตร์สงครามโลกครั้งที่ ๒ ที่ได้อ่านพบในหนังสือพระราชนิพนธ์แปลฯ มากล่าวในครั้งนี้ คือ ผู้ที่สามารถแปล และเรียบเรียงหนังสือเล่มนี้ซึ่งมีลักษณะเป็นหนังสือกึ่งวิชาการภาษาต่างประเทศออกมาได้อย่างมีคุณภาพสูงเช่นนี้นั้น นอกจากจะต้องมีความเพียรเป็นอย่างยิ่งแล้ว ยังจะต้องมีความรู้ ความเชี่ยวชาญในวิชาการทั้งด้านภาษาศาสตร์ วิชาการทหาร และวิชาการสื่อสารทางวิทยุเป็นอย่างดี

ในช่วงเวลาที่ผมได้มีโอกาสปฏิบัติหน้าที่สนองพระเดชพระคุณถวายงานด้านการสื่อสารมาอย่างใกล้ชิดตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๕๑๑ ผมได้สังเกตเห็นว่า พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ทรงมีความเพียรพยายามพัฒนาพระองค์เองในวิชาการสื่อสารมาโดยตลอด จากผู้ที่มีความรู้พื้นฐานทางไฟฟ้า-วิทยุทั่วๆ ไป ที่ได้ทรงเคยศึกษามาตั้งแต่ครั้งยังทรงพระเยาว์ ขึ้นไปได้โดยลำดับจนถึงขั้นความเป็นพหูสูตในวิชาการแขนงนี้ พระองค์ท่านจึงทรงเข้าพระทัยถึงสาเหตุที่เรือบิสมาร์ค ต้องอับปางลงได้เป็นอย่างดีว่า เกิดขึ้นจากการสื่อสารทางวิทยุซึ่งใช้คลื่นแฮร์ทเซียนเป็นสื่อนำเป็นสำคัญ เนื่องจากเรือ บิสมาร์คได้ส่งสัญญาณวิทยุโทรเลขรายงานข่าวชัยชนะของตนเป็นเวลาอันยาวนานและต่อเนื่อง จนกระทั่งฝ่ายพันธมิตรสามารถตรวจสอบค้นหาได้ด้วยเครื่องมือทางอิเล็กทรอนิกส์ที่เรียกว่า “เครื่องหาทิศวิทยุ (RADIO DIRECTION FINDER) หรือ RDF” ซึ่งในยุคนั้นสมัยนั้น ยังใช้เทคโนโลยีเก่าไม่ทันสมัย ยังไม่มี ทรานซิสเตอร์ ไอซี ยังไม่ได้ใช้เทคโนโลยีไมโครอิเล็กทรอนิกส์ และดิจิตอลดังเช่นปัจจุบันนี้

เพื่อให้ท่านผู้อ่านที่ไม่เคยมีความรู้เกี่ยวกับเทคนิคการใช้วิทยุหาทิศ หรือหาจุดที่ตั้งของสถานีวิทยุที่เราต้องการทราบมาก่อน ผมขออธิบายลักษณะของระบบและหลักการทำงานของเครื่องหาทิศวิทยุโดยสังเขปดังนี้

๑. ในการหาทิศหรือจุดที่ตั้งของสถานีวิทยุที่เราต้องการทราบ เช่น สถานีวิทยุเถื่อนที่ส่งคลื่นวิทยุรบกวน (JAM) การทำงานของสถานีวิทยุของทางราชการ (ดังเช่นกรณีไอ้แหลมที่ส่งคลื่นวิทยุรบกวนการติดต่อสื่อสารทางวิทยุของตำรวจ ทหาร ระหว่างเหตุการณ์พฤษภาทมิฬ) จำเป็นจะต้องมีสถานีหาทิศวิทยุชนิดประจำที่ หรือเคลื่อนที่ไม่น้อยกว่า ๓ สถานี ทำงานพร้อมๆ กัน

๒. เครื่องอุปกรณ์ที่ใช้ประจำสถานีหาทิศวิทยุ จะประกอบด้วย เครื่องรับวิทยุที่ทำงานในย่านความถี่ที่กำลังจะตรวจสอบ จะเป็นเครื่องรับวิทยุธรรมดาก็ได้ในกรณีที่เราทราบความถี่วิทยุที่เข้ามารบกวนอย่างแน่นอน หรือเป็นเครื่องรับวิทยุที่สามารถปรับรับฟังในย่านความถี่ต่างๆ ได้โดยเจ้าหน้าที่ของสถานีปรับหาด้วยตนเอง (MANUAL) หรือเป็นเครื่องที่มีอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์พิเศษภายใน สามารถปรับกวาดหาคลื่นวิทยุที่แผ่กระจายเข้ามาในรัศมีการทำงานได้เองโดยอัตโนมัติที่เรียกว่า เครื่องรับวิทยุแบบสะแกนเนอร์ (SCANNER RECEIVER) เครื่องรับวิทยุแบบนี้เมื่อรับสัญญาณคลื่นวิทยุได้จะหยุดรับฟังอยู่ตรงจุดนั้นทันที กับมีสายอากาศที่มีขีดความสามารถรับสัญญาณคลื่นวิทยุตามทิศทางที่แผ่กระจายเข้ามาได้ ๒ ทิศทาง (BIDIRECTIONAL ANTENNA) เช่น สายอากาศแบบ ลู๊พ (LOOP) หรือ สายอากาศแบบ วี-บีม (V-BEAM) หรือแม้แต่สายอากาศแบบ ไดโปล (DIPOLE) หรือสายอากาศที่สามารถรับสัญญาณคลื่นวิทยุได้ในทิศทางเดียว (UNIDIRECTIONAL ANTENNA) เช่น สายอากาศแบบ ยากิ (YAGI) หรือ สายอากาศแบบ ล็อกพิเรียดิก (LOG PERIODIC) นอกจากนี้ จะต้องมีอุปกรณ์ที่สำคัญอีกอย่างหนึ่ง คือ เครื่องวัดความแรงของสัญญาณ (FIELD STRENGTH METER) กับแผนที่

๓. เมื่อสถานีหาทิศวิทยุค้นพบสัญญาณคลื่นวิทยุที่ต้องการ ทุกสถานีจะต้องปรับหันสายอากาศประจำสถานี ซึ่งเป็นสายอากาศที่มีทิศทางดังกล่าวในข้อ ๒ ให้หันไปหาสถานีที่กำลังส่งคลื่นวิทยุนั้นให้ตรงทิศทางให้มากที่สุด โดยสังเกตจากความแรงของสัญญาณที่อ่านได้จากเครื่องวัดความแรงของสัญญาณประจำสถานี ซึ่งพนักงานประจำสถานีจะทราบได้เมื่อสัญญาณที่รับได้มีความแรงที่สุด และสามารถตรวจสอบวัดทิศทางที่มาของคลื่นวิทยุนั้นออกมาเป็นมุม (AZIMUTH) เมื่อเปรียบเทียบกับสถานีวิทยุหาทิศนั้นๆ โดยปกติ สายอากาศที่มีทิศทางประจำสถานีจะถูกติดตั้งไว้บนเสาที่สามารถบังคับให้หมุนหันไปในทิศทางต่างๆ และวัดมุมได้ (ANTENNA ROTATOR) เมื่อแต่ละสถานีวิทยุตรวจวัดทิศทางของคลื่นวิทยุที่ต้องการได้แล้ว พนักงานประจำทุกสถานีจะต้องมีการประสานงานกันโดยตรงโดยใช้เครื่องมือสื่อสารที่ดีพอ แต่ละสถานีจะต้องพล็อต (PLOT) ลากเส้นลงบนแผนที่จากสถานีของตนไปในทิศทางที่มาของคลื่นวิทยุนั้น เส้นที่ลากไว้บนแผนที่โดยสถานีหาทิศวิทยุแต่ละสถานีจะตัดกันตรงจุดหนึ่ง (ถ้าเครื่องวัดทิศทางมีความละเอียดแม่นยำพอ) ซึ่งที่จุดนี้เองก็คือ จุดที่ตั้งของสถานีวิทยุที่ส่งคลื่นวิทยุออกมารบกวน และในทางปฏิบัติจริงๆ จะต้องส่งสถานีหาทิศวิทยุชนิดเคลื่อนที่ได้ (MOBILE RADIO DIRECTION FINDER) เคลื่อนที่เข้าไปใกล้จุดที่ตั้งของสถานีนั้นให้มากที่สุด และจัดเจ้าหน้าที่เดินเท้าเข้าไปทำการจู่โจมจับกุมเมื่อทราบสถานที่แน่นอน

๔. การตรวจค้นหาทิศทางของคลื่นวิทยุจะได้ผลแน่นอนเมื่อคลื่นวิทยุนั้นอยู่ในรัศมีการทำงานของสถานีหาทิศวิทยุ สัญญาณที่ดักรับฟังได้จะต้องมีความแรงพอ และมีการส่งแผ่กระจายคลื่นวิทยุออกมารบกวนเป็นเวลานานพอสมควร เพื่อให้มีโอกาสปรับสายอากาศหาทิศให้ตรงทิศทางมากที่สุด สำหรับประเด็นหลังนี้ ต่อมาโดยการนำเอาคอมพิวเตอร์เข้ามาช่วยในการทำงาน และโดยการใช้สายอากาศแบบพิเศษจึงสามารถแก้ปัญหานี้ได้ เพราะเพียงชั่วระยะเวลาสั้นๆ ที่มีการส่งคลื่นวิทยุออกมารบกวน สถานีหาทิศวิทยุที่ดักรับฟังสัญญาณนั้นได้ จะสามารถทราบทิศทางที่มาของคลื่นวิทยุได้ทันที

การหาทิศทางของคลื่นวิทยุที่ได้ผลดีที่สุด คือ การหาทิศคลื่นวิทยุในย่านความถี่ต่ำ (LOW FREQUENCY หรือ LF) ความถี่ปานกลาง (MEDIUM FREQUENCY หรือ MF) ความถี่สูงมาก (VERY HIGH FREQUENCY หรือ VHF) และความถี่ที่สูงกว่า เนื่องจากสองย่านความถี่แรก พลังงานคลื่นวิทยุส่วนใหญ่อาศัยพื้นโลกเป็นสื่อนำไป (GROUND WAVE) ส่วนคลื่นวิทยุในย่านความถี่สูงมาก และสูงกว่านั้น พลังงานคลื่นวิทยุส่วนใหญ่แผ่กระจายไปโดยอาศัยบรรยากาศที่หุ้มห่อโลก (TROPOSPHERIC PROPAGATION) โดยเดินทางเป็นเส้นตรงคล้ายกับการเคลื่อนที่ของแสง สำหรับคลื่นวิทยุในย่านความถี่สูง (HIGH FREQUENCY หรือ HF) ที่เรียกว่า คลื่นสั้น (SHORT WAVE) นั้น การหาทิศทางกระทำได้ค่อนข้างยาก เนื่องจากพลังงานคลื่นวิทยุส่วนใหญ่ พุ่งทะลุออกไปนอกโลกจนกระทบกับเพดานไฟฟ้า (IONOSPHERE) แล้วจึงสะท้อนกลับมาสู่พื้นโลก พลังงานคลื่นวิทยุดังกล่าวเรียกว่า คลื่นฟ้า (SKY WAVE) จุดตกของคลื่นฟ้านี้จะเป็นจุดที่รับสัญญาณได้แรงที่สุด และจะขึ้นอยู่กับความสูงของเพดานไฟฟ้าจึงมีระยะทางห่างจากสถานีส่งวิทยุไกลมาก สาเหตุที่การดักรับฟังและหาทิศวิทยุในย่านความถี่สูงกระทำได้ยากนั้น เนื่องจากความสูงของเพดานไฟฟ้ามีระดับไม่คงที่ขึ้นอยู่กับฤดูกาล เวลากลางคืน กลางวัน จุดตกของคลื่นฟ้าจึงเปลี่ยนที่อยู่ตลอดเวลา

ในการค้นหาพิกัด หรือจุดที่ตั้งของเรือบิสมาร์ค ในสงครามโลกครั้งที่ ๒ นี้ สหรัฐอเมริกาต้องใช้สถานีวิทยุหาทิศเป็นจำนวนมาก เนื่องจากเครื่องวิทยุหาทิศในสมัยนั้นยังไม่ได้ใช้เทคโนโลยีใหม่ๆ และคลื่นวิทยุที่เรือบิสมาร์ค ใช้ในการรายงานข่าวนานถึง ๓๐ นาทีจนกระทั่งเป็นหอกข้างแคร่ทำลายตนเองในที่สุด น่าเชื่อว่า เป็นคลื่นวิทยุในย่านความถี่สูงเพราะมีรัศมีการทำงานไกล การค้นหาทิศทางวิทยุจึงกระทำได้ยากมาก

ในระหว่างปฏิบัติหน้าที่สนองพระเดชพระคุณในด้านการสื่อสาร ผมได้มีโอกาสปฏิบัติหน้าที่ถวายงานในเรื่องการหาทิศวิทยุร่วมกับพระองค์ท่านอยู่หลายครั้ง ซึ่งมีทั้งที่พระองค์ท่านได้ทรงตรวจพบว่า มีคลื่นวิทยุแปลกปลอมแผ่กระจายเข้ามารบกวนการทำงานในข่ายสื่อสารทางวิทยุของส่วนราชการบางหน่วย และได้รับสั่งให้ผมรีบทำการตรวจสอบค้นหา กับที่ได้ทรงพระกรุณาสละเวลาเข้ามาช่วยเหลือการปฏิบัติหน้าที่ค้นหาซึ่งผมกับเจ้าหน้าที่กำลังค้นหาอยู่อีกแรงหนึ่ง

โดยปกติแล้ว เครื่องอุปกรณ์ที่ใช้ในการตรวจสอบค้นหาคลื่นวิทยุที่เรียกว่า “เครื่องหาทิศวิทยุ (RADIO DIRECTION FINDER) หรือ RDF” จะมีราคาแพงมาก แต่วิธีการที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้ทรงปฏิบัติโดยโปรดเกล้าฯ ให้ผมมีส่วนร่วมนั้น จะใช้เทคนิคง่ายๆ มีเครื่องอุปกรณ์ใช้งานเท่าที่มีอยู่ ไม่ต้องไปจัดหาซื้อใหม่ให้สิ้นเปลืองเงิน คือ เครื่องรับวิทยุคมนาคม สายอากาศที่สามารถบังคับทิศทางไปในทางหนึ่งทางใดเพียงทิศเดียว หรือ Unidirectional Antenna ที่เรียกกันทั่วไปในวงการวิทยุว่า สายอากาศแบบยากิ (Yagi Antenna) เครื่องวัดความแรงของสัญญาณวิทยุ (Radio Signal Strength Meter) และแผนที่ของกรุงเทพมหานครกับปริมณฑลเท่านั้น

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจะทรงตั้งสถานีหาทิศวิทยุโดยใช้เครื่องอุปกรณ์ง่ายๆ ดังกล่าวขึ้นที่พระตำหนักจิตรลดารโหฐาน และผมจะตั้งสถานีหาทิศวิทยุในลักษณะเดียวกันขึ้นที่บ้านพัก รวมทั้งจัดเตรียมรถยนต์ที่มีเครื่องอุปกรณ์หาทิศวิทยุเช่นเดียวกันสำรองไว้อีก ๑ คันเพื่อปฏิบัติหน้าที่เป็นหน่วยหาทิศวิทยุเคลื่อนที่ การปฏิบัติการหาทิศวิทยุที่พระองค์ท่านได้ทรงพระกรุณาสละเวลาส่วนพระองค์เข้ามาร่วมด้วย มักจะเริ่มขึ้นเมื่อเวลาก่อนสองยาม จนกว่า จะทรงตรวจค้นหาทิศทางที่มาของคลื่นวิทยุที่แผ่กระจายเข้ามารบกวนได้ซึ่งมักจะเป็นเวลาตอนใกล้รุ่ง

เกี่ยวกับการใช้เทคนิคในการค้นหาทิศวิทยุนี้ ได้มีเหตุการณ์ที่ประทับใจอยู่ครั้งหนึ่งที่สมควรบันทึกไว้ในประวัติศาสตร์การสื่อสารของประเทศ คือ

ครั้งนั้น (เป็นที่น่าเสียดายว่า มิได้บันทึกวันเวลาไว้) ศูนย์ควบคุมข่ายวิทยุของตำรวจจราจร ซึ่งใช้สัญญาณเรียกขานในขณะนั้นว่า “ตรีเพชร์” และความถี่วิทยุขนาด ๑๖๒.๐๐ MHz ได้ถูกคลื่นวิทยุขนาดความถี่เดียวกันจากสถานีวิทยุแห่งนั้นเข้ารบกวนในลักษณะเป็น RF Carrier มีความแรงของสัญญาณมากเพียงพอที่จะทำให้ไม่สามารถติดต่อสื่อสารกับข่ายนี้ได้โดยสิ้นเชิง เมื่อความทราบถึงพระกรรณ จึงได้ทรงพระกรุณาติดต่อทางวิทยุแจ้งให้ผมทราบ และลงมือปฏิบัติการหาทิศวิทยุร่วมกันในคืนวันนั้นเมื่อเวลาประมาณ ๒๒.๐๐ น.

จากการตรวจสอบร่วมกันของสองสถานี สถานีหนึ่งตั้งอยู่ที่พระตำหนักจิตรลดารโหฐาน และอีกสถานีหนึ่งตั้งอยู่ที่บ้านพักของผมซึ่งเป็นบ้านพักของทางราชการอยู่ในบริเวณกองการสื่อสาร กรมตำรวจ บางเขน ในขณะนั้น เป็นที่น่าเชื่อว่า คลื่นวิทยุที่แผ่กระจายเข้ามารบกวนข่ายการสื่อสารของตำรวจจราจร มีทิศทางมาจากทิศตะวันออกเฉียงใต้ของกรุงเทพมหานคร หรือ มาจากทางอำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ เพราะสัญญาณของคลื่นวิทยุนี้มีความแรงสูงมาก

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจึงรับสั่งให้ผมจัดหน่วยหาทิศวิทยุเคลื่อนที่ คือ รถยนต์ประจำตำแหน่งของผมที่ได้เตรียมไว้พร้อมกับเครื่องอุปกรณ์ในการหาทิศวิทยุออกปฏิบัติการทันทีเมื่อเวลาก่อนเที่ยงคืนเล็กน้อย

ในระหว่างการเดินทางจากบางเขนไปยังอำเภอบางพลีในยามดึกวันข้างแรมในสมัยนั้น ค่อนข้างจะเปล่าเปลี่ยว เพราะตามเส้นทางผ่านมิได้มีร้านรวงเปิดไฟสว่างเจิดจ้าดังเช่นในสมัยนี้ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ทรงพระกรุณารับสั่งมาทางวิทยุเป็นระยะๆ เกี่ยวกับสถานภาพของคลื่นวิทยุที่กำลังรบกวน คือ ความแรงของสัญญาณ และทิศทาง ผมได้เดินทางเข้าเขตอำเภอบางพลีเมื่อเวลาประมาณสองยามเศษ ความแรงของสัญญาณคลื่นวิทยุที่กำลังรบกวนเพิ่มแรงมากขึ้น สามารถหาทิศทางได้ไม่ยาก ทำให้ผมมีกำลังใจ เชื่อใจว่า ไม่หลงทิศทางแน่ แต่มีที่น่าแปลกใจอยู่ประการหนึ่งว่า กำลังจะมุ่งไปยังทุ่งนากว้างซึ่งมีโรงงานเปิดไฟฟ้าริบหรี่อยู่ข้างหน้า เพื่อความแน่ใจ ผมจึงได้ติดต่อขอพระราชทานพระบรมราชานุญาตหยุดรถเพื่อใช้เครื่องอุปกรณ์หาทิศวิทยุประจำรถตรวจสอบทานทิศกับพระองค์ท่านอีกครั้ง แต่เป็นที่น่าแปลกใจยิ่งว่า คลื่นวิทยุนั้นหาได้มาจากโรงงานกลางทุ่งนั้นตามที่ได้คาดคะเนไว้ไม่

มีเรื่องขำขันประกอบกับเรื่องนี้คือ เป็นที่รู้จักกันดีว่า จังหวัดสมุทรปราการเป็นจังหวัดที่มียุงที่เรียกว่า “ยุงปากน้ำ” ชุมที่สุด เป็นยุงตัวใหญ่และบินมาเป็นจำนวนมาก เป็นกลุ่มก้อนสีดำหลังจากพระอาทิตย์ตกดินแล้ว และเป็นการแน่นอนที่สุด บริเวณพื้นที่ซึ่งผมกำลังปฏิบัติการหาทิศวิทยุในเขตอำเภอบางพลีนั้น ในยามดึกดื่นฟ้ามืดสนิทเช่นนั้น ย่อมจะเต็มไปด้วยกลุ่มยุงเหล่านี้

การสอบทานทิศวิทยุ ณ จุดนี้ ผมจำเป็นต้องหยุด และออกไปจากรถ แล้วนำเครื่องอุปกรณ์หาทิศวิทยุ และแผนที่ออกไปตั้งบนกระโปรงหน้าของรถ เพื่อให้บังเกิดผลแน่นอนยิ่งขึ้น ในขณะที่กำลังปฏิบัติการ กลุ่มเจ้ายุงปากน้ำซึ่งเป็นเจ้าถิ่นอยู่ในบริเวณนี้เมื่อได้เห็นแสงไฟจากรถของผม จึงได้ทะยานบินถลาเข้าโจมตีเป้าหมายคือ ผม ทันที เป็นอุปสรรคในการปฏิบัติการของผมอย่างยิ่ง ในขณะปฏิบัติการ ผมมีความจำเป็นต้องใช้วิทยุมือถือของผมติดต่อกับพระองค์ท่านทุกระยะ ขณะเมื่ออ้าปากกล่าวถวายรายงาน เจ้ายุงปากน้ำจำนวนไม่น้อยก็บินถลาเข้าปากของผมโดยไม่รั้งรอ จึงเผลออุทานไปว่า “กส.๙ จาก กส.๑ ว ๒....อุ๊บ....กส.๑ ได้ ว.๑๐ (หยุดรถ) ตรวจสอบจุดที่น่าสงสัยแล้ว....อุ๊บ....ไม่มีสถานีส่งคลื่น...อุ๊บ....” ได้รับสั่งตอบมาทางวิทยุว่า “กส.๑ จาก กส.๙ รับทราบ มีอะไรเกิดขึ้น” ผมจึงได้ถวายรายงานเหตุการณ์ไปว่า “น่าเชื่อว่า สถานีที่ส่งคลื่นรบกวนยังอยู่ไกลจากจุดที่กำลัง ว.๔(จุดปฏิบัติการ)...อุ๊บ....ขณะนี้ กส.๑ กำลังถูกยุงปากน้ำโจมตี มียุงจำนวนหนึ่ง...อุ๊บ...เข้ามาในปาก ขออนุญาตเลิก ว.๔ ที่จุดนี้”

“กส.๙ รับทราบ (มีเสียงพระสรวล) ให้เลิก ว.๑๐ แล้วเปลี่ยนจุด ว.๔ ใหม่”

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ทรงพระกรุณาร่วมหาทิศของคลื่นวิทยุที่เข้ามารบกวนนี้กับผม โดยได้รับสั่งให้ผมเปลี่ยนแปลงจุดปฏิบัติการอยู่อีกหลายครั้ง จนกระทั่งเวลาใกล้รุ่ง จึงได้พบเป็นที่ค่อนข้างแน่นอนว่า สถานีวิทยุที่กำลังส่งคลื่นเข้ามารบกวนนั้นตั้งอยู่ที่เขาบางทราย จังหวัดชลบุรี และได้รับสั่งให้เลิกปฏิบัติการ

ในวันรุ่งขึ้น ผมจึงได้สั่งให้ผู้ใต้บังคับบัญชาของผมนำหน่วยหาทิศวิทยุเคลื่อนที่ออกปฏิบัติการอีกครั้งหนึ่ง จึงได้ค้นพบว่า สถานีวิทยุที่ส่งคลื่นรบกวนนั้นเป็นของหน่วยราชการทหารหน่วยหนึ่งซึ่งเจ้าหน้าที่ประจำสถานีได้ปรับคลื่นความถี่เข้ามาตรงกับของตำรวจจราจรโดยไม่ได้ตั้งใจ และเมื่อได้มีการติดต่อประสานงานระหว่างหน่วยแล้ว การรบกวนทางวิทยุก็หมดสิ้นไป

ถึงแม้ว่า พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ทรงสนพระทัยในวิชาการไฟฟ้า-วิทยุมาตั้งแต่ยังทรงพระเยาว์ แต่มิได้ทรงมีโอกาสเข้ารับการศึกษาในวิชาการแขนงนี้ตามหลักสูตรเนื่องจากต้องเสด็จขึ้นครองราชย์โดยกระทันหันด้วยเหตุการณ์ที่มิได้คาดคิดมาก่อนก็ตาม การที่พระองค์ท่านทรงพระปรีชาสามารถมีความรู้ความเข้าใจอย่างละเอียดลึกซึ้งในเรื่องราวต่างๆ ที่ได้กล่าวมาแล้วข้างต้นไม่ว่าจะเป็นภาษาศาสตร์ การทหาร และการสื่อสาร คือ การหาทิศวิทยุ จึงเป็นข้อพิสูจน์ถึงความเป็นพหูสูตของพระองค์ท่านอย่างแท้จริง

ประชาชนคนไทยนับได้ว่าเป็นผู้ที่มีโชคดีที่พระมหากษัตราธิราชซึ่งทรงไว้ซึ่งทศพิธ ราชธรรม ทรงมีพระปรีชาสามารถ ทรงมีพระราชอัจฉริยภาพสูงส่ง ทรงมีความเป็นพหูสูตในสาขาวิชาการต่างๆ และทรงมีพระมหากรุณาแก่พวกเราอย่างมากมายเหลือคณานับ ดังนั้น ในวโรกาสที่สำคัญยิ่งที่วันเฉลิมพระชนมพรรษาได้เวียนมาบรรจบครบรอบปีที่ ๗๒ ในปีนี้ จึงเป็นการสมควรอย่างยิ่งที่พวกเราทุกคนจะได้ร่วมกันตั้งจิตอธิษฐานถวายพระพรให้ทรงพระเจริญยิ่งยืนนาน เป็นมิ่งขวัญของพสกนิกรประชาชนคนไทยตลอดไป

ที่มา... พล.ต.ต.สุชาติ เผือกสกนธ์ 


วิธีบริหารความถี่ขององค์พ่อหลวง


    การเมืองเรื่องหนึ่งที่กำลังติดอันดับหนึ่งในสิบปัจจุบันนี้ น่าจะได้แก่ เรื่องการออกกฎหมายลูกตามมาตรา ๔๐ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.๒๕๔๐ คือ การจัดตั้งองค์กรเพื่อควบคุมการจัดสรรความถี่ของคลื่นวิทยุเพื่อใช้ประโยชน์ในกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และโทรคมนาคม ซึ่งรัฐสภาจะต้องผ่านกฎหมายนี้ตามร่างหนึ่งร่างใดในสองร่างที่ได้นำเสนอเข้าไปเพื่อพิจารณา

ความเห็นสำคัญที่มีการขัดแย้งกันจนทำให้เกิดร่างกฎหมายขึ้นเป็น ๒ ร่าง คือ เรื่อง องค์กรที่จะควบคุมการจัดสรรความถี่ฯ ว่า ควรจะมี ๑ หรือ ๒ องค์กร แต่ละฝ่ายก็มีเหตุผลของตนเอง มีกองเชียร์ของตนเอง และที่น่าเกลียดที่สุดในสายตาของประชาชน (แต่ไม่น่าเกลียดสำหรับนักการเมืองไทย) คือ การสาดโคลน ใส่ร้าย กล่าวหาฝ่ายตรงข้ามในรูปแบบต่างๆ

เพื่อให้ท่านผู้อ่านที่ไม่เคยมีความรู้ หรือ มีบ้างแต่ไม่มากลึกซึ้งนักว่า ความถี่ของคลื่นวิทยุคืออะไร ทำไมจึงมีความสำคัญหนักหนา จึงเป็นเหตุให้เกิดชักเย่อกัน ยึกยักจนกระทั่งกฎหมายลูกฉบับนี้ออกได้ยากเย็นเหลือเกิน ผมใคร่ขอเวลาท่านผู้อ่านที่มีความรู้ความเข้าใจอยู่แล้วอธิบายให้ท่านผู้อ่านเหล่านี้ด้วย

คลื่นวิทยุจัดเป็นทรัพยากรธรรมชาติชนิดหนึ่ง เช่นเดียวกับน้ำมัน แร่ ป่าไม้ ซึ่งสามารถนำมาใช้เป็นประโยชน์เป็นสื่อนำสัญญาณเสียง ภาพ และข้อมูลข่าวสารต่างๆ เพื่อสื่อความหมายทำความเข้าใจ หรือ ติดต่อสื่อสารระหว่างผู้ให้ข่าว หรือผู้ส่งข่าว จากต้นทางไปยังผู้รับข่าวปลายทางที่อยู่ห่างไกลซึ่งไม่สามารถจะติดต่อสื่อสารระหว่างกันด้วยเสียง หรือ ภาพ โดยการใช้สื่อนำตามธรรมชาติ ซึ่งได้แก่ คลื่นเสียง คือ การกระเพื่อมของอากาศตามจังหวะเสียงสูง เสียงต่ำความดัง ความเบาของเสียงที่เปล่งออกจากปากของผู้ให้ข่าว และ คลื่นแสงที่สะท้อนจากรูปลักษณะของภาพมีความเข้ม สีสรรต่างๆ มาเข้าตาของผู้รับข่าว

คลื่นวิทยุเกิดขึ้นได้โดยการแผ่กระจายของพลังงานแม่เหล็กไฟฟ้าซึ่งแปลงมาจากพลังงานเสียงที่ผ่านเครื่องอุปกรณ์ได้แก่ ไมโครโฟน และซึ่งแปลงจากพลังงานแสงที่สะท้อนจากภาพผ่านเครื่องอุปกรณ์ได้แก่ กล้องถ่ายโทรทัศน์ พลังงานไฟฟ้าที่เกิดขึ้นจากการแปลงพลังงานเสียง และหรือ พลังงานแสง ดังกล่าว จะถูกขยายให้มีกำลังสูงมากเพียงพอแล้วจึงนำมาผสมกับพลังงานไฟฟ้ากระแสสลับที่มีอัตราการเปลี่ยนแปลงทิศทางการไหล หรือ ความถี่ (Frequency) สูงตั้งแต่ ๑๐,๐๐๐ ครั้งต่อวินาที ขึ้นไป ที่เรียกว่า ความถี่วิทยุ (Radio Frequency) พลังงานไฟฟ้ากระแสสลับความถี่วิทยุนี้ต่อมาจะถูกแปลงเป็นพลังงานแม่เหล็กไฟฟ้า ที่เรียกว่า คลื่นวิทยุ (Radio Wave) โดยเครื่องอุปกรณ์คือ สายอากาศ แผ่กระจายออกจากของเครื่องส่งวิทยุไปในอากาศด้วยความเร็วสูงประมาณ ๓๐๐ ล้านเมตรต่อวินาที ไปยังเครื่องรับวิทยุโดยไม่ต้องใช้สายไฟฟ้าเชื่อมต่อระหว่างกันเช่นเดียวกับการสื่อสารทางโทรศัพท์ธรรมดา

Dr. Heinrich Hertz นักวิทยาศาสตร์เยอรมัน เป็นคนแรกที่ได้ทำการทดลอง และค้นพบความจริงเกี่ยวกับการแผ่กระจายของคลื่นวิทยุดังกล่าวข้างต้น และ Marconi เป็นผู้ที่นำเอาผลการทดลองของ Hertz มาประยุกต์ใช้งานในการติดต่อสื่อสารทางไกล หรือ โทรคมนาคม ได้อย่างกว้างไกลไม่มีขอบเขต ไม่ว่า ผู้รับ หรือ สถานีรับข่าวจะอยู่ที่ใด อยู่ประจำที่ หรือ เคลื่อนที่บนบก ในน้ำ หรือ ในอากาศ เริ่มตั้งแต่ วิทยุโทรเลข และ วิทยุโทรศัพท์ แล้วจึงได้วิวัฒนาการมาเป็นวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และการสื่อสารข้อมูล มาโดยลำดับ

โดยที่คลื่นวิทยุซึ่งเป็นผลงานการค้นคว้าของ Hertz สามารถแผ่กระจายออกไปได้อย่างรวดเร็วและกว้างไกลดังกล่าว นักวิทยาศาสตร์ของประเทศต่างๆ นอกเหนือจาก Marconi ได้ให้ความสนใจศึกษาทดลองค้นคว้าอย่างจริงจัง เป็นเหตุให้เกิดปัญหาการรบกวนระหว่างกัน ซึ่งเป็นอุปสรรคในการทดลองค้นคว้า จากปัญหาที่เกิดขึ้นนี้ นักวิทยาศาสตร์ผู้แทนของแต่ละประเทศจึงร่วมกันจัดตั้งองค์การระหว่างประเทศ คือ สหภาพวิทยุ (Radio Union) เพื่อให้บังเกิดผลประโยชน์ร่วมกันของสมาชิกประเทศ ซึ่งต่อมา ได้วิวัฒนาการมาเป็นสหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ (International Telecommunication Union) หรือ ITU จัดเป็นองค์กรหนึ่งของสหประชาชาติ มีสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ที่กรุงเจนิวา ประเทศสวิส และประเทศไทยโดยกรมไปรษณีย์โทรเลขได้เข้าร่วมเป็นสมาชิกของสหภาพนี้มาตั้งแต่ต้น เนื่องจาก เทคโนโลยีในด้านนี้มีการวิวัฒนาการไปอย่างรวดเร็ว สามารถอำนวยประโยชน์แก่มนุษยชาติอย่างมหาศาล ที่ประชุมใหญ่ของ ITU จึงได้ลงมติเป็นเอกฉันท์ให้เปลี่ยนคำว่า “Radio Wave” เป็น “Hertzian Wave” และให้เปลี่ยนหน่วยวัดอัตราการเปลี่ยนแปลงทิศทางการไหลของไฟฟ้ากระแสสลับ หรือ ความถี่ จาก “Cycles per Second (cps)” เป็น “Hertz (Hz)”

ในทางปฏิบัติ เป็นหน้าที่ของประเทศที่เป็นสมาชิกของ ITU จะต้องกำหนดให้มีองค์กรภายในประเทศ จัดผู้แทนเข้าร่วมประชุมเพื่อรับรู้มติ และข้อเสนอแนะต่างๆ ที่เป็นผลจากการประชุมของ ITU ซึ่งถือเป็นสัตยาบรรณระหว่างกัน แล้วนำมากำหนดเป็นตัวบทกฎหมายเพื่อถือปฏิบัติภายในประเทศต่อไป

กรมไปรษณีย์โทรเลขได้รับมอบหมายจากรัฐบาลให้เป็นผู้แทนของประเทศเข้าร่วมประชุมของ ITU ทุกครั้ง กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการสื่อสารทางวิทยุของประเทศไทย ได้แก่ พระราชบัญญัติวิทยุคมนาคม พุทธศักราช ๒๔๙๘ ซึ่งได้กำหนดให้ กรมไปรษณีย์โทรเลข เป็นพนักงานเจ้าหน้าที่ในการบริหารความถี่วิทยุของประเทศ ได้แก่ การจัดสรร ควบคุมการใช้คลื่นวิทยุขนาดความถี่ต่างๆ ให้เป็นไปตามสัตยาบรรณที่ได้ให้ไว้ต่อ ITU

โดยที่ ITU ได้กำหนดให้คลื่นวิทยุมีขนาดความถี่ตั้งแต่ ๑๐ Kilohertz (KHz) ออกไปจนถึง ๓,๐๐๐,๐๐๐ Megahertz (MHz) หรือ ๓ Gigahertz (GHz) หรือ หากนำเอามาใช้ประโยชน์ในการส่งวิทยุกระจายระบบ FM เพียงอย่างเดียว จะสามารถตั้งสถานีวิทยุกระจายเสียงระบบ FM มากกว่าพันล้านสถานี หรือ สามารถจัดตั้งสถานีวิทยุโทรทัศน์เพียงอย่างเดียวได้มากกว่า ๔๐๐,๐๐๐ สถานี

ITU ได้แบ่งย่านความถี่วิทยุดังกล่าวตามขีดความสามารถ และคุณลักษณะในการแผ่กระจายคลื่น ย่านความถี่ต่ำมาก (VLF) ความถี่ต่ำ (LF) ความถี่ปานกลาง (MF) ความถี่สูง (HF) ความถี่สูงมาก (VHF) ความถี่สูงยิ่ง (UHF) และความถี่ย่านไมโครเวฟ หน่วยงานที่มีหน้าที่รับผิดชอบในการบริหารความถี่วิทยุ สำหรับประเทศไทย ได้แก่ กรมไปรษณีย์โทรเลข สามารถอนุญาตให้องค์การภาครัฐและภาคเอกชนภายในประเทศของตน นำเอาคลื่นวิทยุในแต่ละย่านความถี่ไปใช้ประโยชน์ในกิจการต่างๆ อาทิ วิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ วิทยุคมนาคมสำหรับกิจการประจำที่ กิจการเคลื่อนที่ทางบก ทางอากาศ ทางน้ำ การสื่อสารดาวเทียม วิทยุโทรศัพท์เคลื่อนที่ซึ่งรู้จักกันในชื่อว่า “โทรศัพท์เซลลูลาร์” เป็นต้น ได้ตามที่เห็นว่าเหมาะสม คือ ต้องเป็นไปอย่างประหยัดไม่สิ้นเปลืองทรัพยากร คือ คลื่นวิทยุ ถูกต้องตามหลักวิชาการ คือ ต้องไม่ก่อให้เกิดการรบกวนต่อการให้บริการของสถานีวิทยุอื่นๆ ทั้งภายใน และนอกประเทศ ภายในขอบเขตที่ได้ให้สัตยาบรรณไว้แก่ ITU

เพื่อให้เข้าใจได้ง่ายยิ่งขึ้น วิธีการจัดสรรความถี่วิทยุเปรียบเทียบได้กับโครงการพัฒนาที่ดินโดยการจัดสรรที่ดินที่ว่างเปล่าซึ่งมีอยู่แล้วออกจัดจำหน่ายโดยแบ่งแยกออกเป็นย่าน เป็นสัดส่วนให้เหมาะสมตามประโยชน์การใช้งาน เช่น เพื่อใช้ประโยชน์เป็นย่านที่พักอาศัยในลักษณะคฤหาสน์ คอนโดมิเนียม ทาวน์เฮาส์ อพาร์ตเมนต์ ย่านธุรกิจการค้าในลักษณะอาคารพาณิชย์ ย่านสาธารณประโยชน์ส่วนกลางในลักษณะสนามกอล์ฟ สนามกีฬากลางแจ้ง สโมสร สวนสาธารณะ เป็นต้น ในการพิจารณาจัดทำแผนหลักเพื่อการจัดสรรที่ดินตามโครงการ สถาปนิกผู้มีหน้าที่ย่อมจะต้องคำนึงถึงประโยชน์การใช้สอยเป็นสำคัญ เช่น อาคารพาณิชย์ก็ควรจะอยู่ในบริเวณที่สะดวกในการคมนาคมเพื่อสะดวกในการติดต่อกับบุคคลที่พักอาศัยในโครงการ และบุคคลภายนอก อาคารที่พักอาศัยก็ควรจะอยู่ในโครงการส่วนที่อยู่ลึกเข้าไปเพื่อให้ปลอดพ้นจากมลภาวะ ย่านสาธารณประโยชน์ก็ควรอยู่ในบริเวณส่วนกลางของโครงการ เป็นต้น

ถึงแม้ว่า กรมไปรษณีย์โทรเลขจะเป็นส่วนราชการที่มีหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับการบริหารความถี่วิทยุของประเทศตามกฎหมายมาตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๔๙๘ ก็ตาม แต่อาจกล่าวได้ว่าผู้บริหารของส่วนราชการนี้มิได้ให้ความสนใจ เห็นความสำคัญในเรื่องนี้มากเท่าที่ควร อาจจะเป็นเพราะเห็นความสำคัญในการให้บริการทางไปรษณีย์ และโทรเลข ที่ก่อประโยชน์เป็นรายได้หลักให้แก่หน่วยงานมากกว่าบริการทางวิทยุซึ่งมีรายได้เฉพาะการออกใบอนุญาตวิทยุคมนาคมก็ได้ จนกระทั่งได้มีการออกกฎหมายจัดตั้งรัฐวิสาหกิจ คือ การสื่อสารแห่งประเทศไทย เมื่อปี พ.ศ.๒๕๑๑ มีอำนาจหน้าที่ในการให้บริการด้านไปรษณีย์ และโทรคมนาคมต่างๆ (ยกเว้นบริการโทรคมนาคมภายในประเทศซึ่งเป็นอำนาจหน้าที่ขององค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย) แทนกรมไปรษณีย์โทรเลข ซึ่งนับว่า เป็นการเปลี่ยนแปลงที่ยิ่งใหญ่ของกรมไปรษณีย์โทรเลข จากส่วนราชการที่เรียกว่า รัฐพาณิชย์ มีหน่วยงาน ข้าราชการ และเจ้าหน้าที่ในสังกัดเป็นจำนวนมากกว่าสองหมื่นคน มาเป็นส่วนราชการฝ่ายพลเรือนที่มีหน่วยงานในสังกัดเพียง ๔ กอง มีข้าราชการเจ้าหน้าที่ในสังกัดไม่เกินสามร้อยคน

วิธีการจัดสรรความถี่วิทยุให้แก่ส่วนราชการ และหน่วยงานของรัฐในยุคก่อนที่จะมีการจัดตั้งสำนักงานบริหารความถี่วิทยุนั้น หน่วยงานที่รับผิดชอบที่กรมไปรษณีย์โทรเลขได้มอบหมายหน้าที่ในด้านนี้ให้ ได้แก่ กองช่างวิทยุ เป็นหน่วยงานที่ผมเคยรับราชการในกรมไปรษณีย์โทรเลขเป็นครั้งแรก กองช่างวิทยุได้จัดเจ้าหน้าที่ไว้เพื่อการนี้จำนวน ๑ คน มีบัญชีทะเบียนควบคุมความถี่วิทยุทุกย่านความถี่อยู่ในความรับผิดชอบเป็นสมุดเล่มใหญ่เหมือนกับสมุดควบคุมทะเบียนพัสดุทั่วไป และดูจะไม่ถือเป็นเอกสารลับของทางราชการแต่อย่างใด

เมื่อ ๔๐ กว่าปีที่แล้ว เมื่อผมเริ่มเข้ารับราชการ เทคโนโลยีด้านวิทยุคมนาคม และวิทยุกระจายเสียง ยังไม่เจริญก้าวหน้า ประเทศไทยได้เริ่มใช้คลื่นวิทยุในย่านความถี่ปานกลาง หรือ MF ซึ่งบางทีเรียกว่า “คลื่นยาว” และย่านความถี่สูง หรือ HF ซึ่งบางทีเรียกว่า “คลื่นสั้น” ในกิจการวิทยุกระจายเสียง ส่วนกิจการวิทยุคมนาคมนั้นใช้คลื่นวิทยุย่าน HF เป็นหลัก

เมื่อปี พ.ศ.๒๔๙๒ กรมตำรวจโดยพลตำรวจเอก เผ่า ศรียานนท์ อธิบดี ได้เป็นผู้ริเริ่มให้มีการจัดระบบสื่อสารทางวิทยุเพื่อใช้ในราชการตำรวจขึ้นอยู่ในความรับผิดชอบของแผนกสื่อสาร กองบัญชาการตำรวจสอบสวนกลาง ซึ่งต่อมาได้ถูกยกฐานะขึ้นเป็นกองการสื่อสาร เป็นหน่วยงานขึ้นตรงต่อกรมตำรวจ ระบบการสื่อสารของกรมตำรวจที่ได้เกิดขึ้นใหม่นี้ประกอบด้วยข่ายการสื่อสารทางวิทยุย่านความถี่ HF ระหว่างส่วนกลาง กับหน่วยงานในสังกัดกองบัญชาการตำรวจภูธรในส่วนภูมิภาค ระดับเขต และบางจังหวัด มีศูนย์ควบคุมข่ายตั้งอยู่ที่วังปารุสกวัน กับข่ายการสื่อสารทางวิทยุย่านความถี่สูงมาก หรือ VHF เพื่อกิจการวิทยุเคลื่อนที่ทางบก ระหว่างศูนย์ควบคุมข่ายซึ่งตั้งอยู่ชั้นบนของโรงพักกลาง พลับพลาไชย กับรถยนต์สายตรวจในเขตกรุงเทพมหานคร

เมื่อมีการริเริ่มจัดตั้งข่ายการสื่อสารทางวิทยุ กรมตำรวจได้สั่งซื้อเครื่องรับ-ส่งวิทยุต่างๆ จากต่างประเทศ และมีจำนวนหนึ่งที่ได้รับความช่วยเหลือจากสหรัฐอเมริกา ความถี่วิทยุประจำเครื่องวิทยุต่างๆ ที่ได้นำมาใช้นี้ จึงเป็นความถี่ที่หน่วยงานผู้ให้ความช่วยเหลือ และบริษัทผู้ผลิตจำหน่ายได้กำหนดให้ทั้งสิ้น และได้ถูกนำเข้ามาใช้งานภายในราชอาณาจักรโดยไม่จำเป็นต้องขออนุญาตจากกรมไปรษณีย์โทรเลขแต่อย่างใด

ในยุคต่อมา ได้มีแรงผลักดันให้พลตำรวจเอก เผ่า ศรียานนท์ อธิบดีกรมตำรวจ ต้องรับหน้าที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยอีกตำแหน่งหนึ่ง ท่านจึงได้ริเริ่มโครงการสื่อสารของกระทรวงมหาดไทย จัดว่า เป็นการพัฒนายกระดับให้โครงข่ายการสื่อสารของกรมตำรวจเป็นโครงข่ายที่ใหญ่ที่สุดของประเทศ สามารถติดต่อสื่อสารระหว่างส่วนกลาง กับส่วนภูมิภาคได้จนถึงสถานีตำรวจภูธรระดับอำเภอทั่วราชอาณาจักรมีจำนวนมากกว่า ๕๐๐ แห่ง โดยใช้คลื่นวิทยุในย่านความถี่ HF ซึ่งในขณะนั้น ผมได้โอนมารับราชการที่กองการสื่อสาร กรมตำรวจแล้ว

การสื่อสารทางวิทยุในย่านความถี่ HF ถึงแม้ว่า จะมีส่วนดีที่ว่า สามารถติดต่อสื่อสารได้ในระยะทางไกลๆ แต่ก็มีปัญหาในเรื่องความไม่ชัดเจนของสัญญาณซึ่งเป็นผลจากความไม่แน่นอนของระดับความสูงของเพดานไฟฟ้า (Ionosphere) ซึ่งเป็นองค์ประกอบสำคัญของการติดต่อสื่อสาร ทางวิทยุในย่านความถี่นี้ สัญญาณที่รับฟังได้จึงมีอาการจางหาย (Fading) และมีเสียงรบกวนจากสภาพดินฟ้าอากาศ (Atmospheric Noises) และเสียงรบกวนที่มนุษย์ได้กระทำขึ้น (Man-made Noises) ประกอบกับกรมตำรวจมีแนวนโยบายที่จะขยายข่ายการสื่อสารระบบวิทยุรถยนต์ หรือ วิทยุสายตรวจให้กว้างขวางยิ่งขึ้น แนวความคิดที่จะนำเอาคลื่นวิทยุในย่านความถี่สูงมาก หรือ VHF จึงได้เกิดขึ้น

เพื่อนร่วมชั้นเรียนในมหาวิทยาลัย และร่วมงานของผมคนหนึ่ง คือ พันตำรวจเอก ประจวบ สีจร ซึ่งเป็นวิศวกรไฟฟ้า จบจากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และเคยรับราชการที่กองช่างวิทยุ กรมไปรษณีย์โทรเลข ก่อนที่จะโอนไปรับราชการที่กองการสื่อสาร กรมตำรวจ เช่นเดียวกับผม จึงทราบอย่างละเอียดลึกซึ้งว่า ทรัพยากรคลื่นวิทยุของประเทศที่จำเป็นจะต้องนำมาใช้ประโยชน์ในกิจการสื่อสารของกรมตำรวจนั้นอยู่ที่ใด และจะได้มาอย่างไร

ดูจะไม่เป็นการลำบากยากเย็นแต่อย่างใด  เพียงแต่เดินเข้าไปหา  พบปะกับ  เจ้าหน้าที่ควบคุมสมุดทะเบียนความถี่วิทยุของประเทศ คือ คุณวิเศษศรี ฤทธิเสนา อาศัยความสนิทสนมชอบพอกันมาตั้งแต่ยังสมัยรับราชการอยู่ในหน่วยงานเดียวกันมาแต่เดิม ขออนุญาตเปิดสมุดทะเบียนฯ ดูว่า ในย่านความถี่วิทยุที่ประสงค์นั้น มีส่วนราชการใด จับจองไว้บ้างหรือไม่เพียงใด ถ้าไม่มี ก็ขอจับจองไว้ด้วยวาจาก่อน แล้วทำหนังสือขออนุญาตใช้ความถี่คลื่นวิทยุที่ต้องการมาเป็นทางการ ไม่เกินสองสัปดาห์ทุกอย่างก็เรียบร้อย

ความถี่วิทยุที่กรมตำรวจได้รับอนุญาตให้นำมาใช้ในราชการเป็นจำนวนมาก ในครั้งนั้นเป็นความถี่ในย่าน ๑๔๘–๑๗๔ MHz หรือ ที่เรียกกันว่า Two Meter Band มีจำนวนหลายกลุ่มความถี่ (Block) ในแต่ละกลุ่ม สามารถซอยออกเป็นช่องความถี่ (Channel) มีระยะห่างระหว่างช่อง (Channel Spacing) เท่ากับ ๕๐ KHz เป็นจำนวนมาก ความถี่วิทยุที่กรมตำรวจได้รับจัดสรรดังกล่าว ยังถูกนำมาใช้ประโยชน์ในข่ายวิทยุตำรวจแห่งชาติ (Nationwide Police Network) จนถึงทุกวันนี้

นับตั้งแต่คอมมิวนิสต์ได้เพิ่มบทบาทคุกคามเข้ามาในกลุ่มประเทศในแหลมอินโดจีนและภาคตะวันออกเฉียงเหนือมาตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๔๙๖ และได้เพิ่มทวีมากขึ้นโดยลำดับ สหรัฐอเมริกาจึงได้ทุ่มเทให้ความช่วยเหลือแก่ประเทศไทยทั้งในกิจการทหาร และตำรวจมากยิ่งขึ้นเช่นเดียวกัน ในช่วงเวลาระหว่างปี พ.ศ.๒๕๐๙–๒๕๑๑ ผมได้ดำรงตำแหน่งรองหัวหน้ากองการสื่อสาร กรมตำรวจ และได้รับมอบหมายให้เป็นผู้ติดต่อประสานงานโดยตรงกับเจ้าหน้าที่ ซึ่งเรียกว่า “ที่ปรึกษาด้านการสื่อสาร” ของสหรัฐอเมริกาประจำประเทศไทยในการพิจารณาปรับปรุงข่ายการสื่อสารของกรมตำรวจที่มีอยู่ให้สอดคล้องกับโครงการที่สหรัฐอเมริกาจะให้ความช่วยเหลือแก่กรมตำรวจ เครื่องวิทยุที่สหรัฐอเมริกาได้ให้ความช่วยเหลือแก่กรมตำรวจ เป็นเครื่องที่ใช้ความถี่วิทยุในย่าน VHF โดยสหรัฐอเมริกาจะเป็นผู้ที่กำหนดให้เอง และโดยที่การให้ความช่วยเหลือในด้านการสื่อสารแก่กรมตำรวจก่อนหน้านี้ สหรัฐอเมริกามิได้ให้ความสำคัญแก่กองการสื่อสาร กรมตำรวจซึ่งเป็นหน่วยงานหลักในด้านเทคนิคสื่อสารแต่อย่างใด ความถี่ใช้งานของเครื่องวิทยุที่หน่วยงานต่างๆ ในกรมตำรวจ เช่น ตำรวจนครบาล ตำรวจทางหลวง ตำรวจสันติบาล ฯลฯ ได้รับความช่วยเหลือจากสหรัฐอเมริกา จึงถูกกำหนดขึ้นโดยที่ปรึกษาของหน่วยงานนั้นๆ มีขนาดต่างๆ แตกต่างห่างกัน กระจัดกระจายไปคนละทางสองทาง

ผมจึงได้ริเริ่มการจัดตั้งข่ายการสื่อสารตำรวจแห่งชาติ (Nationwide Police Network) ขึ้น โดยใช้ความถี่วิทยุในย่าน VHF ที่กรมไปรษณีย์โทรเลขได้จัดสรรให้ไว้แต่เดิม และที่ได้รับอนุญาตให้ใช้เพิ่มเติมอีกในโอกาสต่อมา ซึ่งได้ขออนุญาตขยายออกไปใช้ในย่าน UHF อีกจำนวนหนึ่งด้วย ความริเริ่มของผมในเรื่องข่ายการสื่อสารตำรวจแห่งชาติของผมนี้ได้รับการสนับสนุนจากสหรัฐอเมริกาเป็นอย่างดี เครื่องรับ-ส่งวิทยุ พร้อมด้วยอุปกรณ์ประกอบโดยเฉพาะเครื่องวิทยุ FM-1 และ FM-5 ได้ถูกส่งเข้ามาเพื่อแจกจ่ายติดตั้งให้แก่หน่วยตำรวจต่างๆ ในโครงการทั้งในส่วนกลาง และส่วนภูมิภาคทั่วประเทศเป็นจำนวนมหาศาล นอกจากนั้น ผมยังได้ริเริ่มประมวลสัญญาณ ที่เรียกว่า “โค้ด ว.” และสัญญาณเรียกขานประจำบุคคล และหน่วยตำรวจต่างๆ เพื่อใช้ในการติดต่อสื่อสารภายในข่ายขึ้นตั้งแต่นั้นมา และยังคงใช้กันมาอย่างกว้างขวางอยู่ทั่วไปจนทุกวันนี้

นับตั้งแต่ผมได้มีโอกาสปฏิบัติหน้าที่สนองพระเดชพระคุณในด้านการสื่อสารมาตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๕๑๑ ซึ่งขณะนั้น ผมได้ดำรงตำแหน่งหัวหน้ากองการสื่อสาร กรมตำรวจแล้ว จึงได้ทูลเกล้าฯ ถวายเครื่องวิทยุคือ เครื่องวิทยุ FM-1 และ FM-5 ขนาดความถี่ต่างๆ รวมทั้งเครื่องมือตรวจวัด สายอากาศแบบต่างๆ พร้อมอุปกรณ์ประกอบที่สหรัฐอเมริกาได้ช่วยเหลือไว้ให้ทรงใช้งาน สามารถทรงรับฟัง และติดต่อสื่อสารกับหน่วยตำรวจต่างๆ ทั้งในส่วนกลาง และในส่วนภูมิภาคได้

เมื่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ทรงใช้เครื่องวิทยุดังกล่าวที่ผมได้ทูลเกล้าฯ ถวายไว้เฝ้าฟังการติดต่อสื่อสารทางวิทยุ รายงานการทำงานของหน่วยตำรวจต่างๆ ณ พระตำหนักจิตรลดารโหฐานในใจกลางของกรุงเทพมหานคร ซึ่งล้อมรอบด้วยสถานีวิทยุกระจายเสียงกำลังส่งสูง ที่ใช้สายอากาศที่ไม่ได้มาตรฐาน สถานีวิทยุโทรทัศน์ และสถานีวิทยุคมนาคมของส่วนราชการต่างๆ จึงมีสัญญาณของสถานีส่งวิทยุเหล่านี้เข้ามาสอดแทรกสัญญาณจากสถานีที่กำลังทรงรับฟังอยู่เป็นประจำ และได้ทรงบัญญัติศัพท์การรบกวนทางวิทยุดังกล่าวว่า “Radio Pollution”

นอกจากนี้ ในโอกาสที่ผมได้ติดตามเสด็จฯ ไปในพระราชภารกิจต่างๆ ทั้งในเขตกรุงเทพมหานครและในต่างจังหวัด หน้าที่ที่สำคัญคือ การใช้เครื่องรับ-ส่งวิทยุ VHF/FM ทั้งชนิดมือถือและในยานยนต์ รายงานจุดผ่านและเหตุการณ์ต่างๆ ระหว่างเสด็จพระราชดำเนิน ให้ศูนย์ควบคุมข่ายการสื่อสารร่วมของตำรวจรับทราบทุกระยะ  ในระหว่างที่รายงานข่าว  หากเจ้าหน้าที่ของแผนกรักษาความปลอดภัยบุคคล  กรมราชองครักษ์ที่ร่วมปฏิบัติงานในขบวนเสด็จฯ ด้วย ใช้เครื่องรับ-ส่งวิทยุ VHF/FM รายงานข่าวในลักษณะที่คล้ายคลึงกัน ทั้งที่มิได้ใช้ความถี่วิทยุขนาดเดียวกัน ได้เกิดปัญหาคือ ทุกครั้งที่เจ้าหน้าที่สื่อสารตำรวจทำการส่งวิทยุรายงานข่าว สัญญาณวิทยุของฝ่ายตำรวจจะไปดังทางเครื่องรับ-ส่งวิทยุชนิดมือถือ และชนิดนำติดตัว (Portable) รับฟังเป็นเสียงดังชัดเจนเหมือนรับฟังด้วยคลื่นตรง แต่ในทางตรงข้าม เมื่อฝ่ายรักษาความปลอดภัยฯ ส่งบ้างจะไม่เข้ามารบกวนเครื่องวิทยุของฝ่ายตำรวจในลักษณะนั้น จะเข้ามาบ้างในลักษณะเสียงรบกวนซู่ซ่าเท่านั้น

เมื่อความได้ทราบถึงพระกรรณ แต่ในตอนแรกๆ นั้น ยังมิได้ทรงมีพระราชกระแสอย่างใด อาจจะเป็นเพราะยังเป็นระยะเริ่มแรกที่ทรงเริ่มใช้เครื่องวิทยุในการสื่อสารก็ได้

     พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ทรงเฝ้าสังเกตวิเคราะห์ที่มาของการรบกวนดังกล่าว และได้พระราชทานกระแสพระราชดำริให้ผมมาศึกษาค้นคว้าต่อ รวมทั้งได้ทรงทดลองตรวจสอบกับผมเป็นระยะเวลาต่อเนื่องเป็นเวลานานๆ โดยปกติจะทรงทดสองค้นคว้าในเวลาดึก (หลังเที่ยวคืนไปแล้ว) หลังจากที่ได้ทรงว่างพระราชภารกิจแล้ววันละหลายชั่วโมง บางวันจะเลิกการทดลองเมื่อใกล้รุ่งได้ยินเสียงไก่ขัน จึงได้ยุติในชั้นต้นว่า ภาคเครื่องรับของเครื่องวิทยุ FM-5 ที่ทรงใช้งานถูกออกแบบมาไม่สู้ประณีตนัก มีขีดความสามารถในการคัดเลือกสัญญาณที่รับฟังได้ (Selectivity) ไม่ได้มาตรฐานทั่วไป เพราะเป็นเครื่องวิทยุราคาถูกที่สหรัฐอเมริกาได้สั่งซื้อเหมาเป็นล็อตใหญ่จำนวนมากเพื่อนำไปใช้ในสงครามเวียดนาม และส่งมาช่วยเหลือประเทศไทยในคราวเดียวกัน นอกจากนี้ วงจรขยายแรงไฟสัญญาณความถี่ปานกลาง (IF Amplifier) ในภาคเครื่องรับก็เป็นวงจรที่มีความถี่ในการทำงานไม่คงที่เช่นเดียวกับเครื่องรับวิทยุธรรมดาทั่วไป (ซึ่งมีวงจร IF Amplifier ของเครื่องรับวิทยุทั่วไปทำงานด้วยความถี่ ๔๕๕ KHz) แต่จะเปลี่ยนความถี่อยู่ตลอดเวลาไปตามขนาดความถี่ที่รับฟังได้ พระองค์ท่านได้รับสั่งเรียกความถี่ IF ของภาคเครื่องรับของเครื่องวิทยุ FM-5 ว่า “Walking Frequency” หรือ ความถี่เดินได้ ดังนั้น เมื่อนำเอาเครื่องวิทยุที่มีคุณสมบัติในลักษณะนี้มาติดตั้งใช้งานที่พระตำหนักจิตรลดารโหฐานซึ่งอยู่กลางใจเมือง ถูกล้อมรอบด้วยสถานีวิทยุกระจายเสียง สถานีวิทยุโทรทัศน์กำลังสูง และสถานีวิทยุสื่อสารที่ทำงานในย่านความถี่ต่างๆ จึงไม่สามารถหลีกเลี่ยงการรบกวนจากสถานีเหล่านี้ได้ ในโอกาสต่อมาที่ได้ทรงสั่งซื้อเครื่องรับ-ส่งวิทยุ Motorola ซึ่งจัดว่าเป็นเครื่องวิทยุที่มีคุณภาพดีที่สุด มาทรงใช้งาน จึงสามารถขจัดปัดเป่าปัญหาการรบกวนจาก Radio Pollution ลงไปได้เป็นอย่างมาก ซึ่งเป็นการพิสูจน์ความถูกต้องของพระราชวินิจฉัยดังกล่าวข้างต้น

ปัญหาที่ยังหลงเหลืออยู่ คือ การรบกวนระหว่างกันในขณะปฏิบัติการสื่อสารร่วมกันของเจ้าหน้าที่แผนกรักษาความปลอดภัยบุคคลของกรมราชองครักษ์ กับเจ้าหน้าที่ของกองการสื่อสาร กรมตำรวจ ทั้งที่ทั้งสองข่ายใช้ความถี่วิทยุในการปฏิบัติงานแตกต่างกันดังกล่าวแล้ว และการที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงสามารถรับฟังสัญญาณจากสถานีส่งวิทยุอื่นๆ ได้ ทั้งที่สถานีนั้นมิได้ใช้ความถี่วิทยุในช่องสัญญาณเดียวกัน หรือใกล้เคียงกัน จึงเป็นการบ้านที่ผมได้รับพระราชทานมาเพื่อสืบสวนค้นหาสาเหตุ และวิธีแก้ไขปัญหาอย่างหามรุ่งหามค่ำต่อไป

ในตำราวิทยุเท่าที่มีอยู่ขณะนั้น ผมได้อ่านพบหัวข้อสั้นๆ กล่าวถึงหลักการและวิธีการคิดคำนวณหา Intermodulation บังเอิญไปเปิดพบบทความในเอกสารทางวิชาการเล่มหนึ่งมีเนื้อหาสาระอยู่ประมาณ ๖ หน้า บทความนี้ได้กล่าวถึงเรื่อง “การผสมคลื่นระหว่างกัน (Inter modulation)” ซึ่งอธิบายไว้เป็นสาระสำคัญว่า ในกรณีที่มีสถานีส่งวิทยุตั้งแต่ ๒ สถานีขึ้นไปอยู่ในบริเวณเดียวกันในระยะห่างกันภายในรัศมี ๑๐๐ เมตร และทำการแผ่กระจาย ส่งคลื่นวิทยุออกมาพร้อมๆ กัน คลื่นวิทยุที่ได้แผ่กระจายออกมาพร้อมๆ กันนี้ จะผสมระหว่างกัน ทำให้เกิดคลื่นวิทยุขนาดความถี่ใหม่ที่เรียกว่า “ความถี่ฮาร์โมนิค (Harmonic Frequency)” ขนาดต่างๆ เกิดตามขึ้นมาด้วย ในบทความนี้ยังได้แสดงสูตรคำนวณ และขนาดความถี่ฮาร์โมนิคที่เกิดขึ้นไว้ด้วย จึงพอได้แนวความคิดขึ้นมาบ้างลางๆ จึงได้ทูลเกล้าฯ ถวายเอกสารดังกล่าวพร้อมกับกราบบังคมทูลแนวความคิดของผมเพื่อประกอบพระราชวินิจฉัย

จากเอกสารที่ผมได้ทูลเกล้าฯ ถวายไว้ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ทรงทดลองส่งวิทยุขนาดความถี่ต่างๆ พร้อมกันตั้งแต่ ๒ ความถี่ขึ้นไป โดยได้ทรงคัดเลือกทดลองความถี่ที่ห่างกันตั้งแต่ ๑๒.๕ KHz แล้วเพิ่มขึ้นเป็น ๒๕ KHz ๕๐ KHz ตามลำดับ แล้วทรงสังเกตว่า การรบกวนที่มีต่อเครื่องรับวิทยุที่กำลังทำงานอยู่ในข่ายอื่นที่ตั้งไว้ใกล้เคียงกันหรือไม่เพียงใด ต่อจากนั้นจึงได้พระราชทานผลของการทดลองมาให้แก่ผมเพื่อทราบ และคิดคำนวณอย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้ ยังได้พระราชทานข้อสังเกตเพิ่มเติมมาว่า สัญญาณวิทยุจากสถานีส่งจากข่ายหนึ่งยังสามารถเข้าไปรบกวนทางเครื่องรับวิทยุของอีกข่ายหนึ่งได้ ทั้งที่มิได้ตั้งอยู่ในสถานที่บริเวณใกล้เคียงกัน จึงดูจะแตกต่างกับเอกสารทางวิชาการที่ผมได้ทูลเกล้าฯ ถวายไว้ซึ่งได้ระบุว่า สถานีส่งวิทยุที่จะร่วมสร้างปัญหาการผสมคลื่นระหว่างกันต้องอยู่ใกล้เคียงกันในรัศมีไม่เกิน ๑๐๐ เมตร ข้อสังเกตที่ได้พระราชทานไว้ดังกล่าว ทำให้ผมเปลี่ยนเข็มไปว่า สถานีวิทยุที่เข้ามารบกวนอาจจะมีความถี่คลาดเคลื่อนก็ได้ จึงได้ใช้เครื่องวัดความถี่ตรวจสอบความถี่วิทยุของสถานีคู่กรณีก็ปรากฏว่า มิได้มีการคลาดเคลื่อนแต่อย่างใด

จากผลของการทดลองที่ได้ทรงพระกรุณาพระราชทานมา เมื่อได้คิดคำนวณตามหลักวิชาแล้ว ในที่สุด ผมก็จับตัวการสำคัญของการรบกวนได้ว่า ส่วนหนึ่งเกิดจากการผสมคลื่นระหว่างกัน (Intermodulation) นั่นเอง

อย่างไรก็ตาม ก็ยังมีปัญหาหลงเหลือค้างคาใจอยู่ คือ ปัญหาดั้งเดิมที่ความถี่ข่ายวิทยุของตำรวจไปรบกวนข่ายวิทยุของแผนกรักษาความปลอดภัยฯ ในขณะที่ทั้งสองฝ่ายกำลังปฏิบัติหน้าที่อยู่ในบริเวณเดียวกัน ผมได้ทดลองคำนวณ Intermodulation โดยใช้สูตรที่มีอยู่แล้ว ปรากฏว่าไม่ลงตัวสักที ไม่ว่าจะใช้กลเม็ดเด็ดพรายอย่างไร

    เมื่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ทรงเข้าพระทัยถึงหลักการทำงานของเครื่องรับและเครื่องส่งวิทยุมากขึ้นแล้ว ได้ทรงหยิบยกปัญหาเรื่องนี้มาทรงวิเคราะห์ด้วยพระองค์เอง จึงได้ความจริงว่า สาเหตุที่สัญญาณวิทยุที่ส่งในข่ายการสื่อสารตำรวจสามารถเข้าไปรบกวนข่ายวิทยุแผนกรักษาความปลอดภัยฯ ได้ทั้งที่ใช้ความถี่วิทยุห่างกันมากนั้น เนื่องจากเครื่องวิทยุที่แผนกรักษาความปลอดภัยฯ ใช้ราชการ เป็นเครื่องรับ-ส่งวิทยุ Motorola ซึ่งวงจรขยายสัญญาณความถี่ปานกลาง (Intermediate Frequency Amplifier) มีความถี่ใช้งาน หรือ IF = ๑๑.๗ MHz และความถี่วิทยุที่ใช้ในการปฏิบัติงานของทั้งสองหน่วยงานแตกต่างกัน ๕.๘๕ MHz เท่ากับครึ่งหนึ่งของความถี่ IF พอดี พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ทรงทดลองอยู่อีกหลายครั้งหลายเวลา จึงทรงสรุปว่า การรบกวนระหว่างกันเนื่องจาก Intermodulation นั้น มิใช่เฉพาะสูตรคำนวณที่ผมได้ค้นพบ แต่จะเกิดขึ้นอย่างรุนแรงในลักษณะคลื่นตรงเข้าไปในข่ายของอีกฝ่ายหนึ่งซึ่งมีความถี่ IF ของภาคเครื่องรับเท่ากับผลต่างระหว่างความถี่วิทยุ หรือเท่ากับครึ่งหนึ่งของผลต่างระหว่างความถี่วิทยุที่ใช้ในการปฏิบัติงานของข่ายทั้งสอง

เป็นที่น่าสังเกตว่า ถึงแม้ว่า ในระยะหลังๆ จนถึงปัจจุบันนี้จะได้มีการเผยแพร่หลักวิชาการเรื่อง Intermodulation ที่มีรายละเอียดเพิ่มเติมลึกซึ้งมากยิ่งขึ้น ปรากฏออกมาในรายงานการประชุมและบทความทางวิชาการในต่างประเทศอีกมากมายหลายฉบับ โดยได้ขยายความจากเอกสารทางวิชาการ ซึ่งเป็นตำราที่ผมได้เคยอ่านพบเมื่อสามสิบกว่าปีมานั้นออกไปอีกมากมาย โดยได้แสดงวิธีการคำนวณวิเคราะห์ในรูปแบบต่างๆ รวมทั้งได้มีการนำเอาเครื่องคอมพิวเตอร์มาช่วยวิเคราะห์คำนวณอีกส่วนหนึ่งด้วย แต่เป็นที่น่าแปลกใจเป็นอย่างยิ่งว่า ตำราหรือบทความเท่าที่ผมได้อ่านพบเหล่านี้ ไม่มีเล่มใดฉบับใดกล่าวถึงผลการวิเคราะห์ในลักษณะเดียวหรือคล้ายคลึงกับที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ทรงพบเมื่อสามสิบกว่าปีที่แล้วตามประเด็นที่ได้กล่าวไว้ข้างต้นแต่อย่างใด

จากการศึกษาค้นคว้าและทดลองด้วยพระองค์เอง ได้ทรงตระหนักว่า ความเที่ยงตรงของความถี่วิทยุที่แต่ละสถานีส่งต่างๆ (Frequency Stability) รวมทั้งอัตราการผสมระหว่างสัญญาณเสียง สัญญาณภาพ หรือ ข้อมูล กับคลื่นพาห์ (Carrier Wave) ที่เรียกว่า มอดูเลชั่นอินเด็กซ์ (Modulation Index) ที่สูงเกินพิกัดจนเป็นเหตุให้เกิดการแผ่กระจายคลื่นวิทยุที่ไม่ต้องการ (Spurious Frequency) ออกมารบกวนการรับฟังในช่องสัญญาณอื่นๆ ด้วย พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจึงได้ทรงพิถีพิถันในการปรับจูน (Alignments) ความถี่ และอัตราผสมสัญญาณของเครื่องรับ-ส่งวิทยุที่ทรงใช้งานเป็นอย่างยิ่ง แม้แต่เครื่องตรวจวัดความถี่วิทยุ (Radio Frequency Counter) และเครื่องมือตรวจวัดต่างๆ ที่ทรงใช้งานในการปรับจูนของพระองค์ท่านก็จะต้องมีความละเอียดเที่ยงตรงที่สุดด้วยเช่นกัน วิธีการทดสอบอัตราการผสมคลื่น จะทรงผิวพระโอษฐ์ บางครั้งทรงเปล่งพระสุรเสียงยาวๆ ผ่านไมโครโฟนของเครื่องส่งวิทยุว่า “อา……” ซึ่งเป็นวิธีการเดียวกับที่ช่างวิทยุถือปฏิบัติกันทั่วไป

มีอยู่ครั้งหนึ่ง ได้มีการแข่งขันทดสอบความละเอียดเที่ยงตรงของเครื่องตรวจวัดความถี่วิทยุที่พระองค์ท่านทรงใช้งาน กับเครื่องที่ผมใช้งานอยู่ และมีความมั่นใจเป็นอย่างยิ่งว่า มีความละเอียดเที่ยงตรงตามมาตรฐานทั่วไป โดยมีการเดิมพันกันว่า เจ้าของเครื่องที่มีความเที่ยงตรงด้อยกว่า จะต้องเลี้ยงโต๊ะจีนแก่ผู้ชนะ ผลของการแข่งขันเป็นอย่างไรนั้น คงจะไม่ต้องบอกก็ได้ เพราะผู้ที่ต้องจัดถวายเครื่องจีน (ถวายเลี้ยงโต๊ะจีน) ในโอกาสต่อมานั้นก็คือ ผม และก็ต้องยอมรับว่า เครื่องอุปกรณ์การสื่อสารต่างๆ ที่ได้ทรงมี ทรงใช้นั้น เป็นเครื่องที่มีมาตรฐานสูงยิ่งซึ่งนักวิทยุสื่อสารเมืองไทยได้ยอมรับ และยกย่องกันอย่างเต็มปาก สนิทใจว่าเป็น “Royal Standards”

การรบกวนต่างๆ ที่ได้เกิดขึ้นและสร้างปัญหาในการติดต่อสื่อสารทางวิทยุ ซึ่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ทรงประสบไม่ว่าจะเป็นเรื่อง การผสมคลื่นระหว่างกัน การแผ่กระจายคลื่นวิทยุที่ไม่ต้องการก็ตาม ซึ่งพระองค์ท่านได้ทรงใช้ความเพียรพยายาม สืบสวนทดลองค้นคว้าหาสาเหตุ และวิธีแก้ไขขจัดปัญหาเหล่านั้นจนสำเร็จมาโดยตลอด ทำให้พระองค์ท่านได้ทรงตระหนักถึงความสำคัญ ความจำเป็นที่จะต้องมีการวางแผนในการจัดสรร หรือ บริหารความถี่วิทยุ ซึ่งเป็นทรัพยากรธรรมชาติให้เป็นไปอย่างประหยัด และมีประสิทธิภาพมากที่สุด

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ทรงริเริ่มจัดสรรความถี่วิทยุที่ผมได้ทูลเกล้าฯ ถวายไว้เป็นกลุ่มความถี่หนึ่งให้ทรงใช้งานเป็นการส่วนพระองค์มาตั้งแต่ต้น และที่กรมไปรษณีย์โทรเลขได้ทูลเกล้าฯ ถวายเพิ่มเติมมาสมทบภายหลังในลักษณะกลุ่มความถี่เช่นเดียวกัน

ในกลุ่มความถี่วิทยุส่วนพระองค์ดังกล่าว พระองค์ท่านได้ทรงแยกแยะซอยลงเป็นช่องความถี่ใช้งานเพื่อการใช้งานต่างๆ ตามพระราชประสงค์ อาทิ ข่ายการสื่อสาร พอ.สว. ข่ายการสื่อสารในเขตพระราชฐานของสำนักพระราชวัง เป็นต้น ก่อนที่จะทรงกำหนด และจัดสรรความถี่วิทยุส่วนพระองค์ไปใช้งานดังกล่าว พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว จะทรงตรวจสอบการรบกวนที่อาจจะเกิดขึ้นในช่องความถี่นั้นๆ ก่อน ทั้งที่มาจากภายนอก และที่จะเกิดขึ้นเองภายในหน่วยเมื่อต้องทำงานร่วมกับเครื่องวิทยุในข่ายอื่นๆ ได้ทรงกำหนดช่องความถี่ไว้เพื่อทำหน้าที่ป้องกันการรบกวนที่อาจจะเกิดจากช่องความถี่ใกล้เคียง (Guard Band) ไว้ด้วยทุกครั้ง

พระราชวินิจฉัยที่สำคัญอีกประการหนึ่งที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวซึ่งเป็นผลจากการศึกษา ทดลองค้นคว้าของพระองค์ท่าน และได้ทรงพระกรุณา พระราชทานสังเกตมาให้แก่ผม คือ คุณลักษณะในการแผ่กระจายคลื่นวิทยุที่แผ่กระจายออกไปในอากาศ ซึ่งเชื่อมโยงกับขีดความสามารถในการทำงานของสายอากาศ และเป็นปัจจัยที่สำคัญยิ่งในการสื่อสารทางวิทยุ

จากผลการทดลองค้นคว้าด้วยพระองค์เอง และที่ได้ทรงพระกรุณาให้ผมเข้าร่วมในการทดลองด้วยนั้น ได้พบว่า สัญญาณคลื่นวิทยุที่ใช้ความถี่ตั้งแต่ย่านความถี่สูงมาก (VHF) ขึ้นไปนั้น จะมีอาการจางหาย (Fading) ในช่วงเวลาหลังเที่ยงคืนไปแล้ว โดยจะทวีความรุนแรงมากขึ้นไปโดยลำดับจนถึงเวลารุ่งแจ้ง

อาการจางหายของสัญญาณดังกล่าว แต่เดิมนั้น นักวิทยุจะให้ความสนใจเป็นพิเศษต่อคลื่นวิทยุในย่านความถี่สูง (HF) เท่านั้น และเรื่องนี้ถึงแม้ว่า จะได้มีปรากฏอยู่ในตำรา และเอกสารทางวิชาการวิทยุต่างๆ ที่มีเผยแพร่ทั่วไปว่า เป็นเพราะคลื่นวิทยุใช้ความถี่ในย่านตั้งแต่ VHF ขึ้นไป มีคุณลักษณะการแผ่กระจายในลักษณะคลื่นตรง (Direct Wave) คล้ายคลึงกับการแผ่กระจายของคลื่นแสง โดยใช้บรรยากาศที่หุ้มห่อโลกที่เรียกว่า Troposphere เป็นสื่อนำไป เนื่องจาก บรรยากาศชั้นนี้อยู่ใกล้กับผิวโลก จึงมีความชื้น อุณหภูมิ และมลภาวะต่างๆ เปลี่ยนแปลงเป็นส่วนสัมพันธ์กับวันเวลา จึงเป็นเหตุให้คลื่นวิทยุมีการหักเหเบี่ยงเบนทิศทางการแผ่กระจายในลักษณะที่คล้ายคลึงกับการแผ่กระจายของคลื่นแสงที่ผ่านมัชฉิม หรือ สื่อกลางต่างๆ

เท่าที่ได้กล่าวไว้ข้างต้นเป็นหลักทฤษฎีที่ปรากฏอยู่ในตำรา และเป็นผลจากการทดลองในห้องปฏิบัติการซึ่งใช้เครื่องมือตรวจสอบที่มีราคาแพงลิบลิ่ว ความเชื่อในหลักทฤษฎี และการอ่านผลจากการทดลอง ดูจะยังสร้างความเชื่อมั่นในเรื่องนี้ให้แก่พระองค์ท่านได้ไม่เพียงพอ จึงทรงโปรดที่จะให้มีการทดลองค้นคว้าในเรื่องนี้ขึ้นโดยใช้วิธีการที่ง่าย และประหยัดที่สุด ดังจะกล่าวต่อไปนี้

การทดลองที่น่าสนใจครั้งหนึ่งเกิดขึ้นเมื่อเสด็จแปรพระราชฐานไปประทับแรมที่พระราชวังไกลกังวล หัวหิน พระตำหนักที่ประทับเป็นอาคาร ๔ ชั้น มีดาดฟ้า ซึ่งผมกับคณะเจ้าหน้าที่สื่อสารตำรวจได้ติดตั้งเสาอากาศแบบต่างๆ ถวายไว้เพื่อทรงใช้งานจริง และเพื่อการทดลอง วันหนึ่ง ผมได้กราบบังคมทูลลามาราชการกรุงเทพฯ บ้านพักของผมขณะนั้นเป็นบ้านพักของทางราชการอยู่ในบริเวณที่ตั้งกองการสื่อสาร กรมตำรวจในขณะนั้น โดยที่ผมมีภารกิจที่จะต้องถวายงานในด้านการสื่อสารทางวิทยุอยู่เป็นประจำดังกล่าวแล้ว ผมจึงได้จัดห้องพิเศษไว้เป็นทั้งห้องศูนย์วิทยุส่วนตัวมีเครื่องรับ-ส่งวิทยุข่ายต่างๆ มีเครื่องโทรคมนาคมอื่นๆ เช่น เครื่องเทเล็กซ์ เครื่องโทรศัพท์ ฯลฯ (การติดต่อสื่อสารระหว่างพระองค์ท่านกับผมนั้น นอกจากการสื่อสารทางวิทยุแล้ว ยังมีการสื่อสารทางสายโดยใช้ข่ายเทเล็กซ์และโทรศัพท์กระทรวงมหาดไทย เพื่อการรักษาความปลอดภัยในด้านการติดต่อสื่อสารในบางกรณี ขณะนั้น ผมดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการสำนักงานโทรคมนาคม กระทรวง มหาดไทยอีกตำแหน่งหนึ่ง จึงสามารถน้อมเกล้าฯ ถวายเครื่องอุปกรณ์โทรคมนาคมเหล่านี้ให้ทรงใช้งานอีกส่วนหนึ่งด้วย) ห้องช่างซึ่งมีเครื่องมือตรวจวัดทางวิทยุต่างๆ ภายนอกบ้านได้ติดตั้งเสาสายอากาศที่มีประสิทธิภาพดีพอสมควร เพื่อให้สะดวกในการติดต่อสื่อสารกับพระองค์ท่านได้ทุกโอกาส

การทดลองติดต่อสื่อสารทางวิทยุระหว่างกรุงเทพฯ-หัวหิน ซึ่งมีระยะทางตรงห่างจากกันประมาณ ๒๐๐ กิโลเมตร ได้เริ่มขึ้นเมื่อเวลาประมาณ ๒๓.๐๐ น. ตามทฤษฎีแล้ว การติดต่อสื่อสารทางวิทยุระบบ VHF/FM นี้จะมีข้อจำกัดในเรื่องระยะทางการติดต่อ ตามตำราเขียนไว้ว่า ระยะทางระหว่างจุดต่อจุดไม่ควรเกินกว่า ๕๐ กิโลเมตร แต่การติดต่อสื่อสารในวันนั้นก็มิได้มีปัญหาแต่อย่างไร สัญญาณที่ติดต่อกันชัดเจนแจ่มใสเหมือนกับทั้งสองสถานีอยู่ในกรุงเทพฯ ด้วยกัน ทั้งที่ระยะทางจริงนั้นไกลกว่าทฤษฎีมากถึง ๔ เท่า

การติดต่อกันได้โดยสะดวกง่ายดายในลักษณะนี้ดูไม่สู้จะถูกพระทัยนัก รับสั่งว่า "…ไม่ใช่เกม…" ต่อจากนั้น จึงโปรดเกล้าฯ ให้ผมเริ่มลดกำลังส่งลงโดยลำดับ จากกำลังส่ง ๑๐๐ วัตต์ มาเป็น ๕๐ วัตต์ ๒๐ วัตต์ ๑๐ วัตต์ สำหรับพระองค์ท่านก็ทรงลดกำลังส่งลงเช่นกัน ถึงจะลดกำลังลงเหลือด้านละ ๑๐ วัตต์ และต่อมาได้ลดกำลังส่งลงมาเป็น ๑ วัตต์ และต่ำกว่าแล้วก็ตาม (เปลี่ยนมาเป็นเครื่องรับ-ส่งวิทยุชนิดมือถือใช้กำลังส่งต่ำ) ก็ยังสามารถติดต่อรับ-ส่งข่าวกันได้ชัดเจนดีพอใช้ คุณภาพของสัญญาณด้อยลงกว่าเดิมบ้าง

หลังจากได้ทดลองลดกำลังส่งแล้ว ได้ทรงทดลองเปลี่ยนไปใช้สายอากาศแบบต่างๆ เท่าที่ติดตั้งไว้บนดาดฟ้าพระตำหนัก ส่วนทางผมนั้นมิได้มีการเปลี่ยนสายอากาศแต่อย่างใด เพราะมีอยู่เพียงชุดเดียว การทดลองในช่วงเวลาหลังเที่ยงคืนไปแล้ว สัญญาณที่รับได้เริ่มมีอาการจางหาย (Fading) เป็นช่วงเวลาสั้นบ้าง นานบ้าง วิธีการทดลองของพระองค์ท่านใช้วิธีผลัดกันนับหนึ่งถึงสิบแล้วสังเกตว่า ช่วงที่สัญญาณขาดหายไปนานมากน้อยเพียงใด การทดลองได้สิ้นสุดลงเมื่อใกล้รุ่งได้ยินเสียงไก่ขันมาแว่วๆ

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ทรงบันทึกผลของการทดลองในวันนั้นไว้โดยละเอียดทุกขั้นตอน และได้ทรงพล็อตเป็นกราฟด้วยพระองค์เอง และได้พระราชทานมาให้แก่ผม เมื่อได้นำมาเปรียบเทียบกับกราฟที่เป็นผลจากการทดลองในห้องปฏิบัติการของบริษัทที่มีชื่อเสียงในต่างประเทศ คือ บริษัท RCA สหรัฐอเมริกา ซึ่งใช้เครื่องมือทดสอบราคาแพง และได้พิมพ์เผยแพร่ไว้ในตำราแล้ว ปรากฏว่า มีลักษณะใกล้เคียงกันมากที่สุด

การเปลี่ยนเครื่องรับ-ส่งวิทยุประจำที่มาทดลองใช้เครื่องรับ-ส่งวิทยุชนิดมือถือแทนนั้น พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจำเป็นต้องเสด็จวิ่งขึ้น-ลงระหว่างห้องทรงงานกับดาดฟ้าพระตำหนักซึ่งอยู่ต่างระดับกันชั้นหนึ่งหลายครั้ง เนื่องจากเสาสายอากาศได้ติดตั้งอยู่บนดาดฟ้าทั้งนั้น ได้รับสั่งเล่าให้ผมฟังว่า มีครั้งหนึ่งทรงสะดุดพื้น เกือบทรงหกล้ม เครื่องรับ-ส่งวิทยุหลุดจากพระหัตถ์กระเด็นไปตามพื้น แต่ก็ไม่ชำรุดเสียหายอะไร รับสั่งว่า เครื่องของเขาทนทานดี (เครื่องรับ-ส่งวิทยุที่ทรงใช้เป็นเครื่องรับ-ส่งวิทยุ Motorola HT-๔๐๐)

ประโยชน์ที่ได้รับจากการศึกษา ค้นคว้า ทดลองของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในกรณีนี้มิใช่บังเกิดผลเป็นความรู้และประสบการณ์เกี่ยวกับเรื่องอาการจางหายแต่เพียงอย่างเดียว แต่ได้ชี้นำให้เกิดแนวความคิดไปถึงเรื่อง การออกแบบระบบถ่ายทอดสัญญาณวิทยุที่ทำงานด้วยความถี่ตั้งแต่ย่าน VHF ขึ้นไป หรือ ระบบรีพีทเตอร์ (Repeater) เพื่อเพิ่มรัศมีการทำงานให้ไกลยิ่งขึ้น ซึ่งในขณะนั้น ได้เริ่มมีการนำมาใช้ในกิจการถ่ายทอดสัญญาณวิทยุโทรทัศน์ และระบบวิทยุไมโครเวฟซึ่งใช้เป็นสื่อนำสัญญาณของวงจรทางไกลขององค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทยจากส่วนกลางไปยังส่วนภูมิภาคกันบ้างแล้ว ดังนั้น ถึงแม้ว่าเครื่องส่งวิทยุที่นำมาใช้ในระบบรีพีทเตอร์จะมีกำลังไม่สูงมาก แต่ก็จำเป็นต้องมีการจัดแผนความถี่วิทยุใช้งานภายในระบบให้เหมาะสมเพื่อป้องกันการรบกวนระหว่างสถานีรีพีทเตอร์ภายในระบบที่ใช้ความถี่เดียวกันซึ่งเป็นเหตุให้การทำงานของระบบต้องหยุดชะงักไม่สามารถติดต่อสื่อสารแบบสองทิศทางได้ ที่เราเรียกกันว่า “รีพีทเตอร์ค้าง”

การรบกวนในลักษณะดังกล่าวได้เคยเกิดขึ้นในระบบรีพีทเตอร์ขององค์การโทรศัพท์ฯ ที่ใช้เป็นสื่อนำสัญญาณของวงจรทางไกลเชื่อมต่อระหว่างศูนย์โทรคมนาคม กรุงเทพฯ กับศูนย์โทรคมนาคม จังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งผมได้ขอความร่วมมือจากองค์การโทรศัพท์ฯ ให้จัดถวายเพื่อทรงใช้งานร่วมกับระบบรีพีทเตอร์ที่กองการสื่อสาร กรมตำรวจ เพื่อขยายรัศมีการทำงานของเครื่องวิทยุระบบ VHF ที่ทรงใช้งานทั้งในด้านการติดต่อสื่อสาร และเฝ้าฟังการรายงานข่าวของหน่วยตำรวจในกรุงเทพฯ โดยเฉพาะข่ายของตำรวจนครบาลที่รู้จักกันทั่วไปในนามว่า “ข่ายผ่านฟ้า” ในระหว่างเสด็จพระราชดำเนินแปรพระราชฐานไปประทับแรม ณ ตำหนักภูพิงคราชนิเวศน์ จังหวัดเชียงใหม่

ถึงแม้ว่า ระบบรีพีทเตอร์ฯ ขององค์การโทรศัพท์เป็นระบบวิทยุที่ใช้ความถี่ในย่านไมโครเวฟ เครื่องส่งวิทยุที่ใช้ภายในระบบเป็นเครื่องที่มีกำลังส่งไม่สูงมาก และใช้สายอากาศแบบจาน (Parabolic Antenna) ที่มีทิศทางการแผ่กระจายคลื่นไปในทิศทางเดียวก็ตาม แต่ก็มีบ่อยครั้งที่ได้เกิดรีพีทเตอร์ค้างขึ้นโดยเฉพาะในช่วงเวลาระหว่าง ๓-๔ นาฬิกา เสียงรบกวนที่ผ่านระบบ รีพีทเตอร์ค้างที่ดังออกมาให้ได้ยินมีลักษณะคล้ายกับเสียงของคนคราง หวีดหวิว ซึ่งดูจะไม่ไพเราะนักสำหรับคนที่นอนเฝ้าฟังวิทยุในยามดึก

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวซึ่งได้ทรงเฝ้าฟัง และสังเกตความผิดปกติดังกล่าวจึงได้พระราชทานข้อสังเกตผ่านมาให้ผมทราบในยามนั้นทันทีเพื่อถ่ายทอดให้เจ้าหน้าที่ช่างขององค์การโทรศัพท์ฯได้รับทราบและพิจารณาตรวจสอบในวันรุ่งขึ้น ซึ่งต่อมาจึงได้พบสาเหตุโดยสรุปว่า นอกจากเครื่องอุปกรณ์บางส่วนของระบบรีพีทเตอร์ทำงานผิดพลาดคลาดเคลื่อนไปจากข้อกำหนดแล้ว ยังมีสาเหตุมาจากสัญญาณวิทยุระหว่างเครื่องรับ-ส่งวิทยุไมโครเวฟบางช่วงในระบบรีพีทเตอร์ขององค์การโทรศัพท์ฯ ซึ่งเป็นวงจรทางไกลมีอาการจางหาย เนื่องจากลำคลื่นวิทยุไมโครเวฟมีการหักเหในขณะที่แผ่กระจายผ่านภูมิประเทศที่มีลักษณะเป็นป่าเขาและปกคลุมไปด้วยหมอกในฤดูหนาว

การนำเอาคลื่นวิทยุความถี่เดิมโดยเฉพาะในย่านความถี่ตั้งแต่ VHF ขึ้นไปจนถึงย่านวิทยุไมโครเวฟมาใช้ซ้ำ (Frequency Reuse) ในระบบรีพีทเตอร์ในกิจการต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นการถ่ายทอดรายการโทรทัศน์ หรือ การใช้งานเป็นวงจรทางไกล เป็นวิธีการประหยัดความถี่วิทยุซึ่งเป็นทรัพยากรธรรมชาติได้เป็นอย่างดี และเทคนิคการนำความถี่วิทยุมาใช้ซ้ำนี้ ได้ถูกนำมาใช้ในกิจการวิทยุโทรศัพท์เคลื่อนที่ระบบเซลลูลาร์ในโอกาสต่อมาจนถึงปัจจุบัน

หากจะนำเอาองค์ธรรมที่ได้มีแสดงไว้ในพระพุทธศาสนามาประยุกต์เพื่ออธิบายยืนยันว่า พระองค์ท่านทรงมีพระราชอัจฉริยภาพในด้านการสื่อสารอย่างแท้จริง องค์ธรรมนั้นก็คือ “อิทธิบาท ๔” หรือ บันไดสี่ขั้นสู่ความสำเร็จ ซึ่งได้แก่

๑. ฉันทะ: ความพอพระทัยและสนพระทัยในกิจการวิทยุสื่อสารมาโดยตลอดต่อเนื่อง

๒. วิริยะ: พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ทรงใช้ความเพียรเฝ้าฟังสังเกตปัญหาที่เกิดขึ้นภายในระบบวิทยุสื่อสารที่ทรงใช้งานอยู่อย่างสม่ำเสมอ

๓. จิตตะ: ทรงใฝ่พระทัยสดับตรับฟัง รับรู้ เก็บรวบรวมข้อมูลทางวิชาการสื่อสารโทรคมนาคมเพื่อประกอบการศึกษาเป็นการพัฒนาพระปัญญาคุณ

๔. วิมังสา: ทรงหมั่นสืบสวนทดลองค้นคว้าหาสาเหตุและวิธีแก้ไขอย่างจริงจัง

การทดลองเพื่อศึกษาค้นคว้าหาธรรมชาติที่เป็นคุณลักษณะแท้จริงของคลื่นวิทยุที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ทรงปฏิบัติ และได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ผมได้ร่วมถวายงานสนองพระเดชพระคุณมาโดยตลอด ได้ช่วยเกื้อ *** ลเพิ่มพูนความรู้ทักษะของผมในด้านวิชาการเทคนิคสื่อสารโดยเฉพาะเรื่อง การแผ่กระจายคลื่นวิทยุและสายอากาศ ได้เป็นอย่างมากและอย่างดียิ่ง เรื่องราวความรู้ทักษะเหล่านี้ ผมรับรองว่า ไม่มีสถาบันการศึกษาใด ไม่ว่าจะเป็นภายในประเทศ หรือต่างประเทศในโลก จะให้ความรู้แก่นิสิต นักศึกษา ดังเช่นที่ผมได้รับพระราชทานพระมหากรุณาจากพระองค์ท่านนับตั้งแต่นั้นมาโดยตลอดจนถึงวันนี้เป็นเวลานานกว่า ๓๐ ปีแล้ว ผมยังจดจำฝังใจไว้โดยไม่มีวันลืมเลือนไปจนกว่าชีวิตจะหาไม่

ผมได้โอนจากกรมตำรวจกลับไปรับราชการที่กรมไปรษณีย์โทรเลขอีกครั้งหนึ่งเมื่อปี พ.ศ.๒๕๑๙ (ผมเคยรับราชการกรมไปรษณีย์โทรเลขมาแล้วครั้งหนึ่งระหว่างปี พ.ศ. ๒๔๙๒ – ๒๔๙๖ แล้วจึงโอนไปรับราชการที่กองการสื่อสาร กรมตำรวจ) ซึ่งเป็นปีที่มีการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ของกรมไปรษณีย์โทรเลข และได้ดำรงตำแหน่งอธิบดีกรมไปรษณีย์โทรเลขเมื่อเดือนสิงหาคม พ.ศ.๒๕๒๑ สืบต่อจากคุณศรีภูมิ ศุขเนตร ซึ่งย้ายไปดำรงตำแหน่งรองปลัดกระทรวงคมนาคม

สภาพของกรมไปรษณีย์โทรเลขหลังจากที่ได้มีการแยกหน่วยงานที่มีหน้าที่ในการให้บริการประชาชนในด้านไปรษณีย์ และการโทรคมนาคมออกไปเป็นรัฐวิสาหกิจ คือ การสื่อสารแห่งประเทศไทยในครั้งนั้น อาจจะกล่าวได้ว่า เกือบสิ้นเนื้อประดาตัวจริงๆ คุณศรีภูมิ ศุขเนตร ซึ่งขณะนั้นดำรงตำแหน่งอธิบดีกรมไปรษณีย์โทรเลข ได้หอบหิ้วผู้ใต้บังคับบัญชาประมาณ ๓๐๐ ชีวิต รวมทั้งผมด้วย ออกจากตึกบัญชาการของกรมฯ ที่บางรัก เข้ามาตั้งถิ่นฐานใหม่อยู่ที่ตึกซึ่งเคยเป็นโรงเรียนไปรษณีย์เดิมที่ซอยสายลม ถนนพหลโยธิน ในลักษณะหอบเสื่อผืนหมอนใบติดตัวกันมาจริงๆ พร้อมด้วยทรัพย์สินที่มีมูลค่าซึ่งไม่อาจจะประเมินได้ คือ พระราชบัญญัติวิทยุคมนาคม พุทธศักราช ๒๔๙๘ และสมุดบัญชีทะเบียนควบคุมความถี่วิทยุของประเทศทั้งหมด ซึ่งอยู่ในความรับผิดชอบของหน่วยงานหนึ่งที่ยังเหลือตกค้างอยู่ในสังกัดกรมไปรษณีย์โทรเลข คือ สำนักงานบริหารความถี่วิทยุ กับที่ดินราชพัสดุในครอบครองอยู่ที่ซอยสายลม ถนนพหลโยธิน จำนวน ๑ แปลง และอยู่ติดถนนแจ้งวัฒนะ หลักสี่ อีก ๑ แปลง (ในปัจจุบัน ได้มีการโอนที่ดินแปลงนี้บางส่วนให้แก่องค์การโทรศัพท์ฯ ก่อสร้างเป็นสถานที่ทำการใหญ่) และที่จังหวัดนนทบุรีอีก ๑ แปลง (ปัจจุบันใช้เป็นที่ตั้งของสถานีภาคพื้นดินกลางเพื่อควบคุมระบบการสื่อสาร และการทำงานของดาวเทียมสื่อสาร “ไทยคม” กับสถานีตรวจสอบเฝ้าฟังวิทยุของกรมไปรษณีย์โทรเลข)

เป็นที่น่ายินดีว่า ในการกลับมาของผมในครั้งนี้ ผมได้มีโอกาสพบเพื่อนเก่าของผม คือ คุณวิเศษศรี ฤทธิเสนา ซึ่งยังคงทำหน้าที่ควบคุมสมุดทะเบียนความถี่วิทยุของประเทศอยู่เช่นเดิม มิได้โยกย้ายตำแหน่งหน้าที่ไปอยู่ที่อื่นใด

อาจจะกล่าวได้ว่า อำนาจหน้าที่หลักของกรมไปรษณีย์โทรเลขภายหลังการเปลี่ยนแปลงครั้งนั้น เกือบจะไม่มีอะไรหลงเหลืออยู่เลย ยกเว้นเรื่อง การเป็นพนักงานเจ้าหน้าที่ตามพระราชบัญญัติวิทยุคมนาคม พุทธศักราช ๒๔๙๘ และการติดต่อประสานงานกับต่างประเทศเกี่ยวกับกิจการไปรษณีย์และโทรคมนาคม ในฐานะผู้แทนของประเทศไทยเท่านั้น จนกระทั่งได้มีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรบางคนเสนอให้ยุบกรมไปรษณีย์โทรเลข เพราะไม่มีงานทำ

ในฐานะที่ได้ดำรงตำแหน่งหัวหน้าส่วนราชการแห่งนี้ ผมจึงตกอยู่ในฐานะที่ค่อนข้างลำบาก และอึดอัดใจอยู่ไม่น้อยที่จะต้องขวนขวายศึกษาหาทางออกว่า จะเดินแต้มคูหาวิธีการบริหารส่วนราชการแห่งนี้ให้คงอยู่ต่อไปอย่างราบรื่นเป็นที่ยอมรับทั้งจากภาครัฐ และภาคเอกชนได้อย่างไร ในที่สุด จากความรู้และประสบการณ์ในเรื่องเทคนิคการสื่อสารทางวิทยุ และการบริหารความถี่วิทยุที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ทรงพระกรุณาถ่ายทอดให้แก่ผมเมื่อครั้งดำรงตำแหน่งหัวหน้ากองการสื่อสาร กรมตำรวจ ผมจึงได้ข้อยุติที่เป็นทางออกซึ่งมีคุณค่าประเสริฐที่สุด คือ การนำเอาพระราชบัญญัติวิทยุคมนาคมดังกล่าว โดยเฉพาะเรื่อง อำนาจหน้าที่ในการจัดสรรความถี่วิทยุซึ่งเป็นเสมือนดาบอาญาสิทธิ์ของส่วนราชการนี้ออกมาปัดฝุ่น ศึกษา ทบทวน กำหนดแนวทาง และหาวิธีการปฏิบัติที่เหมาะสม เพื่อให้บังเกิดประโยชน์แก่ส่วนรวมมากที่สุด

เมื่อได้พบทางออกดังกล่าว ผมจึงเชิญคุณวิเศษศรีฯ เพื่อนเก่าของผมหอบสมุดทะเบียนความถี่วิทยุของประเทศทั้งหมดมาพบผมโดยมิชักช้า เพื่อวางแผนดำเนินการต่อไป

นับว่าเป็นโชคดีของผม และกรมไปรษณีย์โทรเลขอยู่อย่างหนึ่ง ที่ยังมีบุคลากรที่มีความรู้ ความสนใจในเรื่องการบริหารความถี่วิทยุหลงเหลืออยู่บ้าง อาทิ คุณไกรสร พรสุธี และคุณเหรียญชัย เรียววิไลสุข เป็นต้น จึงช่วยกันสืบสานเจตนารมย์ แนวนโยบาย หลักการของผมให้บังเกิดแนวทางปฏิบัติที่เป็นรูปธรรมได้อย่างรวดเร็ว

ในยุคสมัยนั้น อาจจะกล่าวได้ว่า ไม่มีบุคคลในคณะรัฐบาล นักการเมือง นักวิชาการ นักธุรกิจ ส่วนราชการ และภาคเอกชน ให้ความสนใจในคุณค่าของคลื่นวิทยุซึ่งเป็นทรัพยากรธรรมชาติที่มีคุณค่ายิ่งของประเทศอย่างจริงจัง การขอรับการสนับสนุนในด้านงบประมาณจากรัฐเพื่อการบริหารความถี่วิทยุของประเทศ อาทิ การจัดตั้งสถานีตรวจสอบเฝ้าฟังวิทยุ เป็นต้น จึงเป็นไปด้วยความลำบากยากยิ่ง

ความรู้และประสบการณ์ในเรื่องเทคนิคการสื่อสารทางวิทยุ และการบริหารความถี่วิทยุที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ทรงพระกรุณาถ่ายทอดให้แก่ผม และผมได้นำมาประยุกต์ใช้เป็นประโยชน์ ในการบริหารงานกรมไปรษณีย์โทรเลข ตามอำนาจหน้าที่ที่ได้ระบุไว้ในพระราชบัญญัติวิทยุคมนาคมฯ มีมากมายหลายประการ ซึ่งผมขอกล่าวโดยสรุปไว้ดังนี้

๑. ก่อนที่จะมีการจัดสรรความถี่วิทยุให้แก่ส่วนราชการใดตามคำขอ จำเป็นต้องมีการตรวจสอบเฝ้าฟังในช่องความถี่วิทยุที่จะจัดสรรให้ก่อนว่า มีการรบกวนในลักษณะใดบ้าง เช่น การผสมคลื่นระหว่างกัน (Intermodulation) การแผ่กระจายคลื่นที่ไม่ต้องการ (Spurious Radiation) ฯลฯ เข้ามาในช่องสัญญาณความถี่นั้นหรือไม่เพียงใด

๒. กรมไปรษณีย์โทรเลขจะต้องหมั่นตรวจสอบเฝ้าฟังการใช้ความถี่วิทยุที่ส่วนราชการได้รับการจัดสรรไปแล้วแต่เดิม และที่ได้รับจัดสรรใหม่ว่า ส่วนราชการดังกล่าวได้มีการใช้ความถี่วิทยุนั้นให้บังเกิดประโยชน์อย่างคุ้มค่าหรือไม่เพียงใด หากเป็นการขอจัดสรรไปเก็บไว้ในลักษณะการจับจองโดยไม่ใช้ประโยชน์ ก็จะต้องเรียกความถี่วิทยุนั้นคืน

๓. ความถี่วิทยุที่กรมไปรษณีย์โทรเลขได้จัดสรรให้ไป ส่วนราชการนั้นจะต้องนำไปใช้ประโยชน์ในกิจการที่ไม่ขัดต่อพระราชบัญญัติวิทยุคมนาคม และข้อบังคับของสหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ

๔. คลื่นวิทยุในย่านความถี่ตั้งแต่ VHF ขึ้นไปจนถึงย่านความถี่วิทยุไมโครเวฟให้สามารถนำความถี่ที่สถานีวิทยุแห่งหนึ่งใช้อยู่ในพื้นที่หนึ่ง ไปใช้ยังสถานีวิทยุอีกแห่งหนึ่ง หรือ อีกหลายแห่งที่อยู่ต่างพื้นที่ในรัศมีทำการที่พอเหมาะ เป็นการนำคลื่นความถี่มาใช้ซ้ำ (Frequency Reuse) เพื่อให้บังเกิดประโยชน์สูงสุดได้โดยไม่มีการรบกวนระหว่างกัน

แนวความคิดนี้ได้บังเกิดเป็นรูปธรรมต่างๆ คือ

๔.๑ การจัดทำแผนความถี่วิทยุ หรือ การจัดช่องสัญญาณเพื่อกิจการวิทยุโทรทัศน์ขึ้นใหม่ทั่วประเทศ (Nationwide Television Channel Plan) ซึ่งเป็นจังหวะเดียวกับที่กิจการโทรทัศน์ของประเทศได้วิวัฒนาการวิธีการถ่ายทอดสัญญาณจากระบบแคเรียเคเบิล (Career Cable) และระบบวิทยุไมโครเวฟเป็นการถ่ายทอดสัญญาณผ่านดาวเทียม โดยสถานีวิทยุโทรทัศน์สี ช่อง ๗ ของกองทัพบกเป็นผู้ร่วมบุกเบิก

๔.๒ การจัดทำแผนความถี่วิทยุ หรือ การจัดช่องสัญญาณเพื่อกิจการวิทยุกระจายเสียงระบบ FM ขึ้นใหม่ทั่วประเทศ (Nationwide FM Radio Broadcast Plan) ตามแผนนี้ ได้มีการจัดช่องความถี่ และระยะห่างระหว่างช่องความถี่ใหม่ แล้วนำเอาเทคนิคการใช้ความถี่ซ้ำ(Frequency Reuse) มาใช้เพื่อเปิดโอกาสให้ส่วนราชการที่มีหน้าที่เกี่ยวข้อง และมีความจำเป็นต้องใช้กิจการวิทยุกระจายเสียงเพื่อเป็นสื่อมวลขน ได้ใช้ทรัพยากรคลื่นความถี่วิทยุของประเทศให้บังเกิดประโยชน์ร่วมกันทั้งในส่วนกลาง และส่วนภูมิภาค ให้มากที่สุด

๔.๓ การจัดทำแผนความถี่วิทยุเพื่อใช้ในกิจการวิทยุโทรศัพท์เคลื่อนที่ระบบเซลลูลาร์ของประเทศ และเมื่อผมได้มีโอกาสเข้าร่วมในการบริหารองค์การโทรศัพท์ฯ ในหน้าที่กรรมการ ประธานกรรมการ และรักษาการผู้อำนวยการของรัฐวิสาหกิจแห่งนี้ ผมจึงริเริ่มให้มีการเปิดบริการนี้ขึ้นภายในประเทศ

๕. การจัดตั้งสถานีตรวจสอบเฝ้าฟังการใช้ความถี่วิทยุทั้งในลักษณะสถานีประจำในส่วนกลาง และส่วนภูมิภาคหลายแห่ง กับสถานีตรวจสอบเฝ้าฟังเคลื่อนที่ ฯลฯ

นับตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา ทรัพยากรคลื่นความถี่วิทยุของประเทศจึงได้มีคุณค่าเพิ่มมากขึ้นโดยลำดับ ในลักษณะเดียวกับที่ดินซึ่งแต่เดิมรกร้างว่างเปล่า เป็นไร่สวนทุ่งนา มีราคาไร่ละไม่กี่พันบาท ที่ได้รับการพัฒนาจัดสรรใหม่ จึงมีมูลค่าราคาสูงเพิ่มขึ้นจากเดิมมาเป็นตารางวาละหลายหมื่นบาท ทำให้เจ้าของที่ดินเปลี่ยนฐานะจากชาวไร่ชาวนามาเป็นเศรษฐีได้ทันตาเห็น

การบริหารทรัพยากรธรรมชาติคือ คลื่นความถี่วิทยุนี้ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ทรงตระหนัก และให้ความสำคัญเป็นอย่างยิ่งด้วยพระปัญญาบริสุทธิ์เมื่อได้ทรงสัมผัส ศึกษาทดลอง ค้นคว้ามาเมื่อ ๓๐ ปีที่แล้ว และสามารถนำเอาผลการศึกษาทดลองค้นคว้าของพระองค์ท่านมาประยุกต์ใช้ประโยชน์ได้อย่างแท้จริง เป็นพระปัญญาบริสุทธิ์ซึ่งมิได้อยู่ภายใต้อิทธิพลของผู้ใดจึงทำให้ทรงเข้าพระทัยในธรรมชาติที่แท้จริงของคลื่นความถี่วิทยุอย่างละเอียดลึกซึ้งทะลุปรุโปร่ง นอกจากนี้ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวยังทรงรู้จักวิธีการที่จะนำเอาธรรมชาติของคลื่นความถี่วิทยุมาใช้ให้เป็นประโยชน์ต่อส่วนรวม สังคมและประเทศชาติได้อย่างมีประสิทธิภาพสูง และประหยัดอย่างคุ้มค่าที่สุด แต่การที่สังคมในบ้านเราเริ่มเห็นคุณค่า ยอมรับ และให้ความสำคัญแก่คลื่นความถี่วิทยุเมื่อไม่นานมานี้ ถึงกับนำเอาไประบุไว้ในมาตรา ๔๐ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๔๐ ว่า ให้มีการจัดตั้งองค์กรเพื่อควบคุมการจัดสรรความถี่ของคลื่นวิทยุเพื่อใช้ประโยชน์ในกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และโทรคมนาคมนั้น ผมกล้ากล่าวได้ว่า มิได้เกิดจากปัญญาที่บริสุทธิ์อย่างแท้จริง แต่เกิดจากแรงจูงใจที่ได้เห็นความร่ำรวยอย่างมหาศาลอย่างรวดเร็วของบางบุคคลซึ่งได้รับอนุญาตให้ร่วมลงทุนกับหน่วยงานของรัฐในการนำเอาคลื่นวิทยุมาใช้ในการดำเนินธุรกิจด้านการให้บริการวิทยุโทรศัพท์เคลื่อนที่ระบบเซลลูลาร์มากกว่า จึงน่าคิดเหมือนกันว่า สิ่งที่เกิดขึ้นจากปัญญาที่ไม่บริสุทธิ์ในลักษณะนี้จะสามารถอำนวยประโยชน์ หรือ สร้างปัญหาให้แก่รัฐในอนาคตกันแน่

นับตั้งแต่วันที่ ๔ สิงหาคม ๒๔๒๖ เป็นต้นมา โดยความริเริ่มของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว กรมไปรษณีย์โทรเลขได้ถูกสถาปนาขึ้นเป็นส่วนราชการของรัฐ และได้เจริญเติบใหญ่ มีกิจการอำนาจหน้าที่อย่างกว้างใหญ่ไพศาลมากขึ้นโดยลำดับ จนกระทั่งต้องแบ่งแยกอำนาจหน้าที่ความรับผิดชอบออกไป แล้วมีการจัดตั้งหน่วยงานใหม่ขึ้นมาแบ่งเบาภาระไปมากมายหลายหน่วย ได้แก่ ธนาคารออมสินแห่งประเทศไทย บริษัทวิทยุการบินแห่งประเทศไทย กรมประชาสัมพันธ์ องค์การโทรศัพท์ และการสื่อสารแห่งประเทศไทย โดยลำดับ การจัดตั้งหน่วยงานของรัฐขึ้นมาใหม่เพื่อแบ่งเบาภาระของกรมไปรษณีย์โทรเลขดังกล่าว แสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงตามกฎธรรมชาติ คือ ความไม่เที่ยงจีรังยั่งยืน หรือ “อนิจจัง” ซึ่งเป็นองค์ธรรมหนึ่งของพระไตรลักษณ์ คือ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ซึ่งสรรพสิ่งทั้งปวงที่ได้อุบัติขึ้นในโลก และภพต่างๆ ไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้

ตามกฎหมาย กรมไปรษณีย์โทรเลขจะต้องสุดสิ้นสภาพกลายเป็นส่วนราชการในอดีตปรากฏอยู่ในประวัติศาสตร์การสื่อสารโทรคมนาคมเมืองไทยตั้งแต่วันที่ ๑๐ ตุลาคม ๒๕๔๓ เป็นต้นไป รวมสิริอายุ ๑๒๗ ปีเศษ

จนถึงทุกวันนี้ ประชาชนคนไทยได้ยกย่องเทิดทูนพระราชอัจฉริยภาพ และพระราชวิสัยทัศน์ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในเรื่องการบริหาร และพัฒนาทรัพยากรธรรมชาติในด้านการเกษตร แหล่งน้ำ การชลประทาน และสาขาอื่นๆ ดังที่ได้ปรากฏให้เห็นผ่านสื่อมวลชนอยู่เป็นประจำทุกเมื่อเชื่อวันเป็นส่วนใหญ่ แต่ก็ยังไม่สมบูรณ์สมพระเกียรติ หากมิได้มีการหยิบยกนำเอาผลงานของพระองค์ท่าน ในเรื่องการบริหารคลื่นความถี่วิทยุซึ่งเป็นทรัพยากรธรรมชาติมากล่าวและบันทึกไว้ในประวัติศาสตร์ชาติไทยด้วย

นับเป็นโชคดีของประชาชนคนไทยที่ได้มีและเทิดทูน พระบาทสมเด็จพระอยู่หัวพระองค์นี้ซึ่งเจริญด้วยพระวิสุทธิคุณ พระปัญญาคุณ และพระกรุณาธิคุณ ทรงไว้ซึ่งองค์ธรรมประจำพระองค์ตามหลักพระพุทธศาสนานานานับประการไว้เหนือเกล้าเหนือกระหม่อม จึงไม่ต้องเป็นห่วงกังวลในวิกฤติการณ์ปัญหาต่างๆ ของประเทศ จนขาดสติ สิ้นปัญญาที่จะแก้ไขปัญหาฟันฝ่าอุปสรรคให้ผ่านพ้นไปได้

การเจริญรอยตามพระยุคลบาท การสืบสานแนวกระแสพระราชดำริ และพระราชวิสัยทัศน์ให้บังเกิดเป็นรูปธรรม และการดำเนินชีวิตให้เป็นไปในทางที่ชอบที่ควร นอกจากจะเป็นการแสดงออกถึงความจงรักภักดี ความซาบซึ้งในพระมหากรุณาธิคุณ ความกตัญญูกตเวทิคุณที่มีต่อพระองค์ท่าน ซึ่งมีคุณค่ามากกว่าการแสดงออกในลักษณะวัตถุนิยมใดๆ ทั้งสิ้นแล้ว ยังจะช่วยเสริมสร้างความสวัสดีเป็นสิริมงคลแก่ตนเอง และครอบครัวได้อย่างแท้จริง

หมายเหตุ บทความนี้ได้เขียนขึ้นก่อนที่สภาผู้แทนราษฎรจะได้ลงมติเห็นชอบผ่านกฏหมายว่าด้วยองค์การเพื่อควบคุมการจัดสรรความถี่ของคลื่นวิทยุฯ เมื่อวันที่ ๘ ตุลาคม ๒๕๔๒

ที่มา...พลตำรวจตรี สุชาติ เผือกสกนธ์


 ในหลวงกับสถานีวิทยุ อ.ส.


       เมื่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จนิวัติพระนครในปี พ.ศ.๒๔๙๔ ขณะประทับ ณ พระที่นั่งอัมพรสถานเป็นการชั่วคราว เนื่องจากพระตำหนักจิตรลดารโหฐานกำลังอยู่ระหว่างปรับปรุงซ่อมแซม รัฐบาลโดยกรมประชาสัมพันธ์ได้น้อมเกล้าฯ ถวายและติดตั้งเครื่องส่งวิทยุคลื่นยาวและคลื่นสั้น โดยกรมไปรษณีย์โทรเลขเป็นผู้กำหนดความถี่ถวายเมื่อเดือนกันยายน พ.ศ.๒๔๙๕ เครื่องส่งดังกล่าวเป็นรุ่นที่ดัดแปลงมาจากเครื่องส่งคลื่นสั้นจอห์นสันไวกิ้งรุ่น PC-๖๑๐ (Johnson Viking PC-๖๑๐) แบบที่ทหารใช้กันในสงครามโลกครั้งที่ ๒ มีกำลังส่งเพียง ๑๐๐ วัตต์ออกอากาศด้วยคลื่นสั้นและคลื่นยาวพร้อมๆ กันในระบบ AM ใช้คลื่นยาวซึ่งมีค่าความยาวคลื่น ๒๒๕ เมตร ใช้ความถี่ ๑๓๓๒ กิโลเฮิรตซ์และคลื่นสั้นมีค่าความยาวคลื่น ๔๖.๘ เมตร เริ่มแรกใช้ความถี่ ๖๔๐๔ กิโลเฮิรตซ์ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระราชทานนามสถานีวิทยุแห่งนี้ว่า "สถานีวิทยุ อ.ส.พระราชวังดุสิต" ชื่อย่อมาจาก "อัมพรสถาน" ซึ่งเป็นสถานที่ออกอากาศครั้งแรกใช้รหัสสถานีว่า HA ๑ AS สถานีวิทยุ อ.ส.ออกอากาศจากพระที่นั่งอัมพรสถานพระราชวังดุสิต

จนถึงปี พ.ศ. ๒๕๐๐ จึงได้ย้ายสถานีวิทยุไปตั้งในบริเวณพระตำหนักจิตรลดารโหฐาน และเป็นที่ตั้งของสถานีในปัจจุบัน เมื่อสถานีวิทยุ อ.ส. ออกอากาศไปได้ระยะหนึ่ง ปรากฏว่าได้รับความนิยมจากผู้ฟังทั้งในและต่างประเทศที่สามารถรับฟังได้ทางคลื่นสั้น จนมีผู้รายงานผลการรับฟังเข้ามาให้สถานีทราบ อาที จากประเทศญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกา เยอรมนี เป็นต้น พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ขยายกำลังส่งจาก ๑๐๐ วัตต์ เป็น ๑ กิโลวัตต์ กระทั่งในปี พ.ศ. ๒๕๐๙ ทรงมีพระราชดำริให้จัดหาเครื่องส่งขนาด ๑๐ กิโลวัตต์ พร้อมทั้งพระราชทานทุนทรัพย์ส่วนพระองค์ในการจัดซื้อเครื่อง Collins Model ๘๒๐ F๑ เริ่มออกอากาศด้วยกำลังส่ง ๑๐ กิโลวัตต์ ในปี พ.ศ.๒๕๒๕ จึงได้เพิ่มการส่งกระจายเสียงในระบบ FM ความถี่ ๑๐๔ เมกกะเฮิรตซ์ เพิ่มขึ้นอีกระบบหนึ่งเพื่อตอบสนองให้ผู้ฟังสามารถรับฟังรายการได้ชัดเจนยิ่งขึ้น


กรมประชาสัมพันธ์ถือว่าสถานีนี้เป็นเครือข่ายของสถานีวิทยุกรจายเสียงแห่งประเทศไทยและเป็นสถานีวิทยุเพียงแห่งเดียวที่กรมไปรษณีย์โทรเลขอนุญาตให้ส่งคลื่นสั้นได้จนบัดนี้ สถานีวิทยุ อ.ส. กระจายเสียงครั้งแรกในปี พ.ศ. ๒๔๙๕ โดยการเผยแพร่รายการทั้งใด้านบันเทิง ข่าวสาร ความรู้ และความก้าวหน้าทางด้านวิทยาการสาขาต่างๆ ให้แก่ประชาชน นอกจากนั้นในยามที่ประเทศชาติประสบภัยพิบัติตลอดจนเหตุการณ์เลวร้ายต่างๆ ที่ประดังเข้ามาคราวแล้วคราวเล่าทำให้พสกนิกรของพระองค์ต้องได้รับความเดือดร้อน เช่น ในปี พ.ศ. ๒๔๙๕ เกิดอหิวาตกโรคระบาดในระหว่างปี พ.ศ. ๒๕๐๑-๒๕๐๒ ทรงเคร่งรัดโครงการควบคุมโรคเรื้อนในปี พ.ศ. ๒๕๐๓ เกิดอุทกภัยครั้งใหญ่ทางภาคเหนือในปี พ.ศ. ๒๕๐๔ เกิดมหาวาตภัยภาคใต้ แหลมตะลุมพุก ในปี พ.ศ. ๒๕๐๕ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หหัวมิเคยได้ทรงทอดธุระเห็นแก่ความสุขความสบายของพระองค์เองแต่อย่างใด 
ทรงให้การช่วยเหลือประชาชนที่ได้รับความเดือดร้อนทุกข์ยากลำเค็ญด้วยการพระราชทานพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์แก่ผู้ประสบภัย ตลอดจนทรงจัดหาเสื้อผ้าเครื่องนุ่งห่มข้าวของเครื่องใช้ให้แก่พวกเขาเหล่านั้น และยังได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สถานีวิทยุ อ.ส. เป็นสื่อกลางนำพาน้ำพระราชหฤทัยอันเปี่ยมล้นด้วยพระเมตตาธิคุณไปสู่ประชาชนและเป็นสื่อกลางนำความจงรักภักดีและความสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณของประชาชนที่แสดงออกในลักษณะต่างๆ ไปสู่ในหลวง พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงรับพระราชภาระต่างๆ ในการดำเนินการของสถานีวิทยุ อ.ส. ด้วยทุนทรัพย์ส่วนพระองค์ ด้วยพระบรมราโชบายหลักเกี่ยวกับการบริหารจัดการงานของสถานีที่สำคัญคือ "ประหยัดและใช้ประโยชน์ให้คุ้มค่ามากที่สุด" จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้บุคคลที่มีความรู้ความสามารถได้เข้ามาสนองพระมหากรุณาธิคุณให้มากที่สุดเท่าที่จะมากได้อย่างเต็มกำลังสติปัญญาและความสามารถ 

ดังนั้นเจ้าหน้าที่ของสถานีจึงเป็นอาสาสมัครซึ่งมีหน้าที่การงานประจำทั้งสิ้น อาสาสมัครทุกคนได้ร่วมแรงร่วมใจช่วยกันทำงานของสถานี แม้กระทั่งช่วยกันรักษาความสะอาด เช่น ขัดทองเหลือง เทที่เขี่ยบุหรี่ เป็นต้น และ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้นายขวัญแก้ว วัชโรทัย รองราชเลขาธิการพระราชวังฝ่ายกิจกรรมพิเศษ เป็นนาย สถานีและปฏิบัติหน้าที่ต่อมาจนถึงปัจจุบัน 

 

ข้อมูลจาก พลตำรวจตรี สุชาติ เผือกสกนธ์     .....ขอบคุณครับ

 



สร้างเว็บแบบมืออาชีพได้อย่างง่ายๆ กับ เว็บไซต์สำเร็จรูปของ " สยามทูเว็บ " www.siam2web.com


เฉพาะสมาชิกเท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็นได้ กรุณา "เข้าสู่ระบบ" ก่อน เข้าสู่ระบบ
..

Advertising Zone    Close
 
Online:  1
Visits:  369,960
Today:  3
PageView/Month:  1,314

ยังไม่ได้ลงทะเบียน

เว็บไซต์นี้ยังไม่ได้ลงทะเบียนยืนยันการเป็นเจ้าของเว็บไซต์กับ Siam2Web.com